แกงกะหรี่เป็นอาหารที่มีต้นกำเนิดจากทางประเทศอินเดีย ด้วยความที่อาหารประเภทนี้ใส่เครื่องเทศปริมาณมากจึงทำให้มันมีกลิ่นหอมถูกใจผู้บริโภค แต่หลายคนก็ยังคงหลีกเลี่ยงอาหารประเภทนี้เพราะมันมักจะมีรสจัด แถมพอทานแล้วก็ทำให้กลิ่นตัวแรงด้วย
ทว่าตอนนี้นักวิจัยมีข่าวดีเพิ่มเติมมาบอกกับคนชอบทานแกงกะหรี่ มี ผลวิจัย จากเว็บไซต์รวมงานวิจัย American Journal of Geriatric Psychiatry ออกมาแล้วว่า การทานแกงกะหรี่นอกจากจะได้ความอร่อยก็ยังทำให้เรามีความสุขมากกว่าเดิม และก็ช่วยเสริมสร้างความจำที่ดีอีกด้วย
โดยพระเอกในงานวิจัยที่ทำให้เราแฮปปี้และไม่ขี้ลืมก็คือ ขมิ้น นั่นเอง เครื่องเทศชนิดนี้มักจะใช้เป็นส่วนผสมของแกงหลากหลายประเภท
ในขมิ้นก็จะมีสารตัวหนึ่งที่ชื่อว่า เคอร์คิวมิน อยู่ซึ่งมันมีคุณสมบัติลดการอักเสบ ทั้งยังสามารถต้านทานอนุมูลอิสระได้ดีด้วย
แต่นักวิจัยก็คิดว่าสารเคอร์คิวมินน่าจะช่วยให้คนมีความจำดีเช่นกัน เพราะพวกเขาสังเกตเห็นว่าประชาชนในประเทศอินเดียที่บริโภคสารตัวนี้เป็นประจำ มีความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ต่ำกว่าในพื้นที่อื่น
Dr.Gray Small เป็นผู้อำนวยการด้านจิตเวชในผู้สูงอายุของศูนย์ศึกษาอายุยืน จากมหาวิทยแคลิฟอร์เนียในรัฐลอสแองเจลิส และยังเป็นผู้นำการวิจัยในครั้งนี้กล่าวถึงการทำงานของเคอร์คิวมินว่า
“แม้ว่าเราจะไม่รู้แน่ชัดว่าเคอร์คิวมินทำงานอย่างไร แต่การที่มันช่วยลดการอักเสบในสมองซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งของโรคอัลไซเมอร์และโรคซึมเศร้า น่าจะเป็นสาเหตุที่มันช่วยพัฒนาความจำของผู้บริโภคได้”
Small ได้ทำ งานวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ศึกษาเกี่ยวกับการช่วยเรื่องความจำของเคอร์คิวมิน โดยให้อาสาสมัครผู้ใหญ่ 40 คนในช่วงอายุ 50-90 ปี สุ่มได้รับสารเคอร์คิวมิน 90 กรัม และยาหลอกเป็นเวลานาน 18 เดือน
เขาวัดผลโดยการใช้เครื่อง Positron Emission Tomography (PET) อ่านคลื่นสมองของอาสาสมัครทั้งก่อนและหลังจากการได้รับสารเคอร์คิวมิน แล้วให้พวกเขาทำแบบทดสอบความจำก่อนและหลังรับสารที่ว่านี้ด้วย
ผลวิจัยชี้ว่าคนที่ได้รับสารเคอร์คิวมินทั้งหมดมีความจำที่ดีขึ้นอย่างมาก โดยพวกเขามีความจำดีขึ้นถึง 28 เปอร์เซ็นต์ ส่วนคนที่ได้รับยาหลอกนั้นไม่มีความเปลี่ยนแปลงด้านความจำที่เห็นได้ชัดเจนเลย
จากผลของเครื่องแสกนคลื่นสมองยังพบอีกว่ากลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับสารเคอร์คิวมินมีอารมณ์ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับยาหลอกแล้วก็จะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น
อย่างไรก็ตามอาสาสมัคร 4 คนที่ได้รับสารเคอร์คิวมิน และอาสาสมัคร 2 คนที่ได้รับยาหลอกกลับมีอาการปวดท้องและวิงเวียนศรีษะเป็นผลข้างเคียง
ดังนั้นนักวิจัยจึงวางแผนจะทำการเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมากในครั้งต่อไป โดยมีจุดประสงค์เพื่อระบุให้ได้ว่าสารเคอร์คิวมินช่วยบรรเทาอากาศซึมเศร้าได้หรือไม่ และยังศึกษาถึงผลข้างเคียงของกลุ่มข้อมูลที่ใหญ่ขึ้นด้วย
นอกจากนี้ก็จะได้ศึกษาเพิ่มเติมด้วยว่าคนที่มียีนส์ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ เป็นปัจจัยหนึ่งในการพัฒนาความจำของสารเคอร์คิวมินหรือไม่
สงสัยก่อนสอบต้องไปซื้อแกงกะหรี่มาทานซะแล้ว
ที่มา: Unilad
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.