ภาพเก่าเล่าใหม่ ศิลปินทำภาพเก่าแก่อายุ 100 ปีให้กลับมามีสีสัน ย้ำเตือนถึงเหตุการณ์ประท้วงเรียกร้องสิทธิสตรี

เนื่องจากวันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ 2018 ที่ผ่านมานั้น เป็นเครื่องย้ำเตือนให้นึกถึงภาพเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นในวันเดียวกันนี้แต่เป็นในปี 1918 ที่สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ได้ยินยอมให้หญิงที่มีอายุเกิน 30 ปี มีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง

Tom Marshall ช่างภาพคนหนึ่งที่ชื่นชอบในประวัติศาสตร์จึงต้องการแสดงให้เห็นถึงความพยายามและความยากลำบากของสตรีในการเรียกร้องสิทธิของตนท่ามกลางสังคมที่มีการแบ่งแยกเพศ

Tom ได้นำภาพเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์กว่า 100 ปีเหล่านั้นมาเติมสีสันให้มีชีวิตชีวามากขึ้น เพื่อเตือนใจคนยุคปัจจุบันและทำให้สังคมปัจจุบันไม่มีการแบ่งแยกเพศหรือชนชั้นอีก

 

Millicent Fawcett (1847-1929) – ผู้รณรงค์ด้วยสันติภาพ

 

Millicent Fawcett เป็นผู้ที่รณรงค์ให้สตรีมีสิทธิเข้าถึงการศึกษา เธอก่อตั้งสมาคมสิทธิสตรี (NUWSS) ขึ้นมาเพื่อทำการรวบรวมกำลังสตรีให้ดำเนินการรณรงค์ด้วยวิธีสันติเช่น การเขียนจดหมาย แจกจ่ายใบปลิว และนิตยสาร ที่มีเนื้อหาเป็นการเรียกร้องสิทธิของสตรี

แต่ก็มีสมาชิกของกลุ่มบางส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับวิธีที่อ่อนโยนของ Fawcett ในปี 1903 Emmeline Pankhurst จึงแยกตัวจากกลุ่ม NUWSS แล้วก่อตั้งสหพันกฎหมายและสังคมของสตรี (WSPU) โดยมีคติประจำกลุ่มก็คือ “สิ่งที่สำคัญคือการกระทำ ไม่ใช่คำพูด”

 

Emmeline Pankhurst ถูกจับกุมขณะพยายามที่จะแสดงตนร้องทุกข์กับพระเจ้าจอร์จที่ 5 ในเดือนพฤษภาคม ปี 1914

 

กลุ่มของสมาพันธ์กฎหมายและสังคมของสตรีนั้นเป็นที่จดจำได้มากกว่าเพราะ การได้รับความสนใจจากสังคมคือจุดประสงค์หลักของกลุ่ม

เมื่อ 100 ปีก่อนเพศชายมักคิดว่าตนเองเป็นเพศที่เหนือกว่า และเกรงว่าหากวันหนึ่งเพศหญิงมีสิทธิและอำนาจ อาจทำให้เพศหญิงและชายไม่ได้แต่งงานและมีลูกกันอีก และกลัวว่าเผ่าพันธุ์ของสหราชอาณาจักรจะสูญสลาย

ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 เหล่าสตรีได้เริ่มออกมาต่อสู้กลับแนวคิดนั้น หนึ่งในเหล่าผู้บุกเบิกก็คือ Millicent Fawcett แต่สิ่งที่ทำให้ทางการหันมาสนใจเรื่องนี้อย่างมาก็คือกลุ่มของ Emmeline Pankhurst

 

Emmeline Pankhurst (1913)

 

การประท้วงของกลุ่ม WSPU มีหลายระดับ เริ่มตั้งแต่การใช้ค้อนเล็กๆ ทุบหน้าต่าง บางกลุ่มก็เผาโบสถ์ ใส่ระเบิดลงในจดหมายเพื่อระเบิดตู้ไปรษณีย์ หรือตรึงร่างกายสตรีไว้ด้วยโซ่ การกระทำรุนแรงดังกล่าวไม่ได้ช่วยให้การประท้วงสำเร็จก็จริงแต่หากมองในแง่ของการเรียกร้องให้สังคมหันมาสนใจนั้นถือว่าได้ผลเป็นอย่างยิ่ง

 

Emmeline และลูกสาวของเธอ Christabel และ Sylvia ที่สถานีวอเตอร์ลู ปี 1911

ในภาพนั้น Emmeline กำลังพาลูกสาวทั้งสองของเธอไปสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเพื่อให้บทเรียนคำสอน

 

ผู้ก่อตั้งกลุ่ม WSPU Annie Kenney และ Christabel Pankhurst

 

จากการประท้วงอย่างรุนแรงของกลุ่มทำให้หญิงกว่า 1,000 ถูกจับกุมตัว ผู้ที่ถูกจับเรียกร้องสถานะการเป็นนักโทษทางการเมือง แต่หากว่าทางรัฐบาลปฏิเสธพวกเธอจะประท้วงโดยการอดอาหาร

แต่ทางการโต้กลับด้วยวิธีการบังคับให้พวกเธอต้องได้รับอาหารโดยใช้วิธีต่อท่ออาหารเข้าสู่กระเพาะของเหล่าหญิงสาวโดยตรง

 

หญิงสาวคนหนึ่งในคุกฮอลโลเวย์ มองลอดผ่านหน้าต่างที่ถูกทุบจนแตก

 

สมาชิก WSPU Mabel Capper ถูกจับกุมตัวในปี 1912 เนื่องจากเธอแต่งกายด้วยสีของกลุ่ม WSPU (ม่วง ขาว และเขียว)

 

Emmeline Pethick-Lawrence บรรณาธิการของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ Votes for Women ได้เขียนอธิบายว่า “สีม่วงคือสีแห่งความภักดี อิสรภาพ และเกียรติ สีขาวคือความบริสุทธิ์ของชีวิต ส่วนสีเขียวคือความหวังและสัญลักษณ์แห่งวสันตฤดู”

สงครามโลกครั้งที่ 1 นั้นเป็นจุดเปลี่ยนผันของกลุ่ม WSPU เนื่องจากทางกลุ่มได้ตัดสินใจหยุดเรียกร้องสิทธิและหันมาให้การสนับสนุนกับทางรัฐบาลเพื่อต่อสู้สงคราม Emmeline Pankhurst กล่าวว่า “การต่อสู้ของพวกเรายังไม่จบ แต่ตอนนี้เราต้องสู้กับศัตรูของบ้านเมืองก่อน”

แต่ขณะนั้นกลุ่ม NUWSS ของ Milicent Fawcett ยังไม่ยอมหยุดทำการต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีแม้จะอยู่ในช่วงสงคราม เมื่อมีผู้อยากได้สันติมากขึ้น การสนับสนุนพวกเธอในสงครามจึงลดน้อยลง แต่ Fawcett ไม่ได้รักสันติขนาดนั้น เธอยอมยุบสมาคมดีกว่าให้หยุดการรณรงค์ของเธอ

เธอใช้ช่วงสงครามให้เป็นโอกาส โดยการที่เธอชี้ให้เห็นถึงการสนับสนุนของสตรีที่มีต่อสงคราม โดยในช่วงสงครามนั้นมีสตรีนับล้านต้องเข้าไปทำงานในโรงงานผลิตกระสุนเพื่อใช้สู้รบ ซ้ำยังต้องเข้าไปทำอาชีพที่ก่อนหน้านี้จำกัดไว้ให้เฉพาะเพศชายเท่านั้น อย่างเช่น ผู้รักษาความปลอดภัย คนขับรถ ตำรวจ หรือพนักงานดับเพลิง เป็นต้น

 

หญิงสาวคนหนึ่งทำงานในโรงงานผลิตกระสุนปืนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1

 

จากนั้นการต่อต้านสิทธิสตรีก็ลดลงอย่าช้าๆ จนกระทั่งวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1918 จึงเกิดการยินยอมให้สิทธิในการออกเสียงให้กับสตรีที่มีอายุเกิน 30 ขึ้นไป โดยมีข้อแม้ว่าสตรีเหล่านั้นจะต้องเป็นสมาชิกหรือไม่ก็แต่งงานกับสมาชิกขององค์กรรัฐบาล เป็นผู้ที่มีทรัพย์สมบัติในครอบครอง หรือเคยเข้ารับการเลือกตั้งในเขตมหาวิทยาลัย

ซึ่งมีสตรีจำนวนเพียงร้อยละ 40 เท่านั้นที่มีสิทธิตามเงื่อนไขที่กำหนดในปี 1918 แต่หลังจากนั้นราว 10 ปี การกำหนดอายุจึงลดลงและกฎหมายจึงเปลี่ยนเป็นเมื่อถึงคราวเลือกตั้ง สตรีทุกคนมีสิทธิในการออกเสียงเทียบเท่ากับบุรุษนั่นเอง

 

แม้ว่าปัจจุบันช่องว่างระหว่างเพศที่มีจะแคบลงมาก ก็ยังหวังว่ามันจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและหายไปในเร็ววัน

 

ที่มา: Boredpanda

Comments

Leave a Reply