24 การออกแบบบ้านสุดเฟล ที่ดูแล้วมันคงจะไม่เกิดผลดีกับการใช้ชีวิตซักเท่าไหร่..

บ้านหรือที่พักอาศัยของเราคือหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะพวกเราจะต้องใช้กว่าครึ่งชีวิตอยู่ในนั้น เราจึงควรที่จะต้องทำให้มันมีความน่าอยู่และตอบโจทย์กับการใช้ชีวิตของตัวเองอยู่เสมอ การออกแบบ ตกแต่ง หรือปรับปรุงส่วนต่างๆ ของบ้านจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ

แต่บางครั้งมันก็อาจจะเกิดความผิดพลาดขึ้นมา เพียงเพราะเราอาจจะมองข้ามจุดเล็กๆ บางอย่างไป จนทำให้เกิดเป็นความเฟลสุดฮา ที่ไม่รู้ว่าตอนนั่งดีไซน์บ้านเหล่านี้ พวกเขาคิดอะไรกันอยู่ และนี่ก็คือตัวอย่างความเฟลของคนเหล่านั้น เราลองไปดูกันเลย

 

ก็คิดซะว่าอากาศจะได้ถ่ายเท….แถมมีช่องให้รับหนังสือพิมพ์และจดหมายมาอ่านเพลินๆ ระหว่างปลดทุกข์อีกต่างหาก

 

เอื้อมไม่ถึง รู้ตัวฉันดียังไกลห่างงง

 

ตรงประตูมีป้ายติดเตือนว่า “ปิดและล็อกประตูอยู่เสมอ” พวกเขาคงจะใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยมากจริงๆ

 

ถ้าอยากจะเช็ดตูด ก็คงต้องไปอึในอ่างอาบน้ำแทนล่ะนะ

 

นั่นไม่ใช่โรงจอดรถหรอก น่าจะเป็นโรงจอดเครื่องบินมากกว่า

 

ตอนขึ้นว่ายากแล้ว ตอนลงรู้สึกเหมือนกับว่าผ้าเบรคอาจจะไหม้ได้

 

อันนี้คือลังเลว่าจะทำเป็นกำแพงหรือหน้าต่างดี

 

คงไม่แปลกใจ ถ้าจะมีคนตกบันไดกันจนเป็นเรื่องปกติ

 

บอกหนูทีว่าต้องใช้งานลิ้นชักนี้เยี่ยงไร

 

มีหลังคาไว้กันฝนทุกที่ ยกเว้นอยู่ที่เดียว คือตรงที่ควรจะมีที่สุด

 

ไม่รู้ควรด่าใครดี ระหว่างคนสร้างท่อ กับคนสร้างประตู

 

เปิดปุ๊บช็อตปั๊บ

 

อย่างน้อยก็รู้สึกดีที่ไม่โดนมองหน้า

 

ห้องน้ำสาธารณะของแท้!! เขาเรียกว่าสังคมแห่งการแบ่งปัน

 

บันไดไว้ปีนหน้าต่าง

 

ในเมื่อออกแบบมาผิด เราจึงต้องปรับปรุงแก้ไขกันซะหน่อย

 

ช่องทางสำหรับผู้พิการ ถ้าอยากใช้ก็ต้องฝึกกระโดดบนวีลแชร์ให้ได้

 

เขาเรียกว่าอึในครัวของจริง คนในบ้านจะได้มีอะไรกินกัน

 

เป็นห้องน้ำที่ชวนปวดหัวเสียเหลือเกิน

 

คนออกแบบ คนคุมงาน ช่างที่ทำ ไม่มีใครเอะใจอะไรสักนิดจริงๆ เรอะ?!

 

ขอบคุณนะ.. ไฟไหม้ทีผมก็อุ่นใจ ไม่โดนไฟคลอกแต่ตกตึกตายแทน

 

เปิดม่านรับแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้าหน่อยเร๊ววว

 

เขาเรียกว่านำอุปกรณ์มารีไซเคิล

 

จริงๆ แล้วที่เราเห็นอาจจะไม่ใช่ความผิดพลาดก็ได้ มันอาจจะเกิดจากจินตนาการอันล้ำลึกของเหล่าสถาปนิกหรือเปล่า แบบเน้นศิลปะความเจ๋งมากกว่าประโยชน์ใช้สอยอะไรประมาณนั้นก็ได้

 

ที่มา: inspiremore

Comments

Leave a Reply