ภาพความสวยงามของ ‘กัญชา’ เมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ ดูราวกับงานศิลปะ

กัญชา เป็นชื่อของสมุนไพรที่พวกเราบางคนรู้จักกันเป็นอย่างดี และเริ่มมีความเสรีมากขึ้นในหลายๆ ประเทศ สิ่งที่เห็นกันบ่อยๆ คือภาพใบหรือลำต้นของพืชชนิดนี้ แต่วันนี้เรากำลังชวนให้เพื่อนๆ ได้ไปดูภาพของกัญชาเมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์

ความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ทำให้เราสามารถมองเจ้ากัญชาผ่านกล้องจุลทรรศน์และช่วยให้เรารู้จักกับความสวยงามและความน่าอัศจรรย์ของพืชชนิดนี้ ว่าแล้วก็อย่ารอช้า เราไปดูภาพอันสวยงามตระการตากันได้เลย

 

ตรงส่วนตาของต้นกัญชาที่ดูแปลกประหลาด ด้วยกำลังขยายของกล้อง 3.5 มม.

 

ขนเล็กที่ขึ้นมาบริเวณดอกของมัน ถูกมองผ่านกล้องด้วยกำลังขยาย 0.5 มม.

 

คริสตัลแปลกๆ ที่ติดอยู่บริเวณลำต้น คาดว่าอาจจะเป็นส่วนของสารเคมีที่พบบ่อยในการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิก

 

ภาพของการกัญชาที่มีการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ ผ่านกล้องกำลังขยาย 1 มม.

 

คริสตัลแคลเซียมออกซาเลตที่ติดอยู่ มองผ่านกล้องกำลังขยาย 0.05 มม. ซึ่งหากเราเสพเจ้าสิ่งนี้เข้าไปแค่นิดเดียวก็สามารถทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนว่าปากและลำคอของเรากำลังเผาไหม้

 

แนวตัดขวางของส่วนก้าน ส่วนสำคัญที่สามาถดึงไปใช้ผลิตเสื้อผ้าไฟเบอร์ได้

 

ส่วนตัดขวางบริเวณใบ ทำให้เราสามารถเห็นเส้นใยจำนวนมากได้ ด้วยกำลังขยายของกล้องถึง 3 มม.

 

ตรงส่วนขอบของใบกัญชา

 

ภาพแสกนอิเล็กตรอน (SEM) ตรงส่วนกลางบริเวณขอบของใบที่ถูกเพิ่มสีเข้าไป ผ่านกำลังขยาย 3 มม.

 

ภาพของลำต้นอายุ 5 วัน ถูกห่อหุ้มด้วยฉนวนกันความชื้น

 

เซลล์ขดลวดที่ถูกเรียกว่า Spiral Lignin มีไว้สำหรับการส่งต่อน้ำและสารอาหารไปตามลำต้น

 

ภาพตัดขวางส่วนใบของโรสแมรี่ มีลักษณะโครงสร้างเหมือนกับของกัญชา ถูกมองผ่านกล้องกำลังขยาย 0.5 มม.

 

ส่วนฐานของเกสรตัวเมียที่แตกออกมาเป็นสองทาง มองเห็นด้วยกำลังขยาย 2 มม.

 

ส่วนที่ค้ำชูใบกัญชาเอาไว้ เรียกว่า Petiole

 

โครงสร้างแกนและผนังเซลล์ ถูกย้อมด้วยคริสตัลสีน้ำเงินเพื่อให้เราเห็นได้อย่างชัดเจน

 

ส่วนผิวหนังกำพร้าของก้าน มองผ่านกล้องที่ขยายเข้าไป 40x

 

ส่วนปลายขนของต้นอ่อน มีหน้าที่ในการไล่แมลงไม่ให้เข้ามากินใบที่เพิ่งงอก

 

การบังคับแสงไปในทิศทางเดียวกัน ถูกถ่ายด้วยความเร็ว ทำให้เห็นสารอาหารเคมีที่เกิดจากการปลูกแบบไฮโดรโปนิก

 

เป็นภาพที่ทำให้เราไม่อยากจะเชื่อเลยว่า สิ่งที่เราเห็นด้วยตาเปล่ากับภาพที่มองผ่านกล้องจุลทรรศน์ มันจะแตกต่างกันมากขนาดนี้ แลดูมีสีสันไปอีกแบบหนึ่งเลย

 

ที่มา: designyoutrust

Comments

Leave a Reply