10 กิจกรรมสร้างความบันเทิงจากอดีต ที่ผู้คนต่างเอ็นจอยไปกับมัน แต่แปลกสำหรับคนยุคปัจจุบัน

ทุกวันนี้คนเรามักจะหันหน้าเข้าหาโทรทัศน์ สมาร์ทโฟน โซเชียลมีเดีย วิดีโอเกม หรือคอมพิวเตอร์ เมื่อใดก็ตามที่เรารู้สึกเบื่อและต้องการความบันเทิงให้กับจิตใจ พร้อมกับคิดว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นช่างเป็นสิ่งให้ความบันเทิงที่ดีเสียจริงๆ

แล้วเคยสงสัยหรือไม่ว่า ก่อนหน้าที่เทคโนโลยีความบันเทิงอย่างที่กล่าวไปจะถูกสร้างขึ้น คนสมัยก่อนเขาทำอะไรเพื่อให้ได้รับความบันเทิงกันบ้าง

เอาล่ะครับวันนี้ #เหมียวฝึกหัดหมายเลข21 จะพาทุกท่านไปรับชม 10 กิจกรรมเพื่อความบันเทิงของคนสมัยก่อนว่าเขาทำอะไรกันบ้าง บอกเลยว่าไม่ค่อยคำนึงถึงมนุษยธรรมซักเท่าไหร่…

 

1. เกมกระดาน

 

เกมกระดานชิ้นแรกของโลกถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่ยุคโบราณแล้ว เช่น เกมกระดานจากประเทศอียิปต์ที่เรียกว่า Senet เป็นเกมที่ประกอบไปด้วยกระดานและหมากเดินที่เรียกได้ว่าเก่าแก่ที่สุด กฎของเกมยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ที่ทราบแน่นอนก็คือเป็นเกมสำหรับเล่น 2 คน คล้ายกับหมากรุกสมัยปัจจุบันนี่แหละ

 

 

ตามตำนานเชี่อว่าเกม Senet ถูกสร้างขึ้นโดย Thoth เทพแห่งปัญญา ผู้ที่ท้า Khonsu เทพแห่งดวงจันทร์ให้แข่งขันกับตน เมื่อ Thoth ชนะจึงขอให้ในหนึ่งปีมีจำนวนวันเพิ่มขึ้น 5 วันเพื่อให้ Nut เทพีแห่งท้องฟ้าหลุดพ้นจากคำสาปของเทพ Ra และสามารถให้กำเนิดบุตรได้

 

2. การประลองนักสู้ Gladiator

 

พวกเราอาจจะพอรู้เรื่องราวเกี่ยวสิ่งนี้กันมาบ้างแล้ว ที่ว่านักสู้ชายทั้งหลายจะต้องมาห้ำหั่นกันเองรวมไปถึงการที่ต้องต่อสู้กับสัตว์ดุร้ายต่างๆ แต่หารู้ไม่ว่า นักสู้ที่เป็นเพศหญิงก็มีเช่นกัน พวกผู้หญิงถูกเรียกว่า Gladiatrix ส่วนมากนักสู้ในการประลองนี้จะถูกผู้คนมองว่าเป็นการแสดงมากกว่าเป็นการต่อสู้จริงๆ

 

 

การต่อสู้กันถึงชีวิตกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนนิยมเข้ามารับชม หลายคนพยายามที่จะยุติกิจกรรมแบบนี้ แต่ก็ไม่สำเร็จ จนกระทั่งปีคริสต์ศักราชที่ 404 Telemachus นักบวชศาสนาคริสต์จากทางตะวันออกได้เข้ามายุติการต่อสู้ของเหล่านักสู้ และการกระทำของเขาทำให้ผู้คนที่ไม่พอใจลงโทษเขาโดยการปาหินใส่จนเสียชีวิต

แต่การเสียชีวิตของเขาไม่ได้สูญเปล่า จักรพรรดิ Honorius นั้นชื่นชมความเสียสละของนักบวช เขาจึงทำการสั่งห้ามการประลองนักสู้นี้ไปตลอดกาล

 

3. ตีวงล้อ

 

การละเล่นตีวงล้อนี้เป็นที่นิยมตั้งแต่ประเทศกรีซในสมัยโบราณ และการละเล่นนี้ก็ถูกเผยแพร่ออกไปยังส่วนต่างๆ ของโลกเช่น ยุโรป จีน อเมริกา และแอฟริกา

การละเล่นตีวงล้อแบบที่นิยมที่สุดมีกติกาว่า ผู้เล่นต้องโยนวงล้อให้ลอยขึ้นไปในอากาศด้วยแท่งไม้ และรับวงล้อนั้นอย่าให้ตกสู่พื้นด้วยแท่งไม้อันเดิม ส่วนอีกแบบมีกติกาว่า ผู้เล่น 2 คนจะต้องสลับกันรับวงล้อให้ได้

 

4. เกมดึงแท่งไม้

 

เกมดึงแท่งไม้นี้เป็นกิจกรรมยามว่างที่นิยมกันในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 13-14 แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลักๆ ได้แก่แบบแรก แท่งไม้จะเป็นส่วนคั่นกลางระหว่างผู้เล่นทั้ง 2 คนที่หันหน้าเข้าหากัน โดยเท้าทั้งสองข้างของแต่ละคนจะถีบกันและกันเอาไว้ หากใครดึงไม้จนอีกฝ่ายงอเข่าได้ก่อนจะถือว่าชนะ

แบบที่สอง ผู้เล่นทั้ง 2 ต้องจับแท่งไม้เอาไว้และออกแรงดึงจนกว่าตัวของฝ่ายตรงข้ามจะเลยเส้นแบ่งเขตตรงกลาง ใครที่สามารถดึงตัวฝ่ายตรงข้ามให้เลยเส้นกลางมาได้ถือว่าชนะ ปัจจุบันมีการแข่งขันกีฬาในลักษณะแบบนี้ โดยใช้ชื่อว่า Mas-wrestling และ Yakut Sport

 

5. การวิเคระห์บุคลิกจากกะโหลกศีรษะ

 

การวิเคราะห์รูปทรงกะโหลกศีรษะ (Phrenology) เป็นศาสตร์ที่เชื่อว่ารูปทรงของกะโหลกมนุษย์นั้นสามารถบ่งบอกถึงบุคลิกภาพของคนได้ หลังจากนั้นศาสตร์นี้ก็ถูกตัดสินว่าเป็นวิทยาศาสตร์เทียม คล้ายกับ โหราศาสตร์ และศาสตร์ที่เกี่ยวกับวิญญาณ

อย่างไรก็ตามการศึกษารูปทรงกะโหลกศีรษะมนุษย์นั้นได้รับความนิยมอย่างมากช่วงปี 1850 ถึง 1890 เมื่อใดก็ตามที่นักวิเคราะห์รูปทรงกะโหลกปรากฏตัวขึ้น เขาจะได้รับความสนใจจากผู้คนอย่างมาก เนื่องจากผู้คนมักเชื่อว่าเขาสามารถอธิบายกระบวนการทางจิตใจออกมาได้ด้วยการดูรูปทรงของกะโหลกศีรษะ

 

6. ก้าวยักษ์ (Giant Steps)

 

เครื่องเล่นนี้ถึงจะไม่ปลอดภัยแต่ก็เป็นที่นิยมในหมู่เด็กๆ ในสหรัฐอเมริกาและประเทศรัสเซียยุคก่อน เครื่องเล่นนี้ประกอบไปด้วยเสาหนึ่งต้นที่มีวงแหวนหมุนได้อยู่ด้านบน ที่วงแหวนจะมีเชือกผูกไว้หลายเส้นด้วยกัน

วิธีเล่นก็คือ เด็กๆ จะจับเชือกให้แน่น แล้ววิ่งวนรอบๆ เสา เพื่อหมุนวงแหวนด้านบน จากนั้นก็ปล่อยตัวให้ลอยขึ้น บางแห่งเครื่องเล่นจะมีขนาดใหญ่จนเมื่อเด็กๆ ก้าวขาเพียงหนึ่งครั้งอาจลอยตัวได้นานกว่าจะก้าวอีกครั้งหนึ่ง จึงเป็นที่มาของชื่อเครื่องเล่น “ก้าวยักษ์ (Giant Steps)”

 

7. การแสดงที่มีแต่ความอัปลักษณ์ (Freak Shows)

 

การแสดงดังกล่าวดูจะเป็นที่นิยมยิ่งกว่าการดูโทรทัศน์ในสมัยปัจจุบันเสียอีก คนในยุคก่อนนั้นชอบที่จะมองมายังบุคคลที่มีความผิดปกติทางร่างกาย ยิ่งไปกว่านั้นยังชอบที่จะทำให้พวกเขากลายเป็นตัวตลกอีกด้วย

แต่การแสดงเหล่านี้ มีข้อดีสำหรับผู้แสดงก็คือ ยิ่งพวกเขาแสดงถึงความประหลาดและอัปลักษณ์มากเท่าไหร่ พวกเขาจะยิ่งทำเงินได้มากขึ้นเท่านั้น ตัวอย่างเช่น Julia Pastrana ที่เป็นนักร้องและนักแสดงจากเม็กซิโกซึ่งโด่งดังมากในช่วงศตวรรษที่ 19

 

8. การจัดแสดงทารกที่คลอดก่อนกำหนด

 

การจัดแสดงแปลกๆ เช่นนี้ได้รับการยินยอมจากพ่อแม่ของเด็กแล้วเนื่องจากมันถือเป็นการช่วยให้เด็กทารกที่คลอดออกมาก่อนกำหนดเหล่านี้มีชีวิตรอดได้

แต่จุดประสงค์ของการจัดแสดงนี้ก็คือ เป็นการสร้างจุดสนใจให้กับโรงพยาบาล เพราะสมัยนั้นโรงพยาบาลนั้นมิได้มีเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับการดูและทารกที่ดีนัก และก็ไม่มีใครสนใจอยากลงทุนซื้ออีกด้วย

 

 

ด้วยเหตุนี้ พ่อแม่ของเด็กจึงต้องใช้มาตรการที่แน่วแน่เพื่อขยายความนิยมให้คนรับรู้เกี่ยวเครื่องมือแพทย์ที่จำเป็น ในงานจัดแสดง ผู้คนจะเข้ามาชมเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดในกล่องแก้วด้วยความสนใจ

ส่วนรายได้ที่ได้รับมาจะนำไปจ่ายให้กับเหล่าพยาบาลที่คอยดูแลทารกและพัฒนาตู้อบทารก สุดท้าย ทารกนับพันก็รอดชีวิต ส่วนแต่ละครอบครัวก็ได้ทารกของตนเองกลับคืน

 

9. การแสดง “หญิงไร้หัว”

 

การแสดงประหลาดนี้เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริการาวปลายปี 1930 เหล่าหญิงสาวที่เป็นผู้แสดงทราบว่าชื่อ Olga, Tina, และ Mademoiselle Yvette

แพทย์เองก็พยายามออกมายืนยันว่าหญิงสาวเหล่านี้เสีย “หัว” ของตนเองไปจากอุบัติเหตุอื่น แต่ยังมีชีวิตอยู่ได้เทคโนโลยีบางอย่างที่ไม่สามารถอธิบายได้

แต่ก็เห็นได้ชัดเจนว่า ศีรษะของหญิงสาวเหล่านี้ไม่ได้หายไปไหน แต่ภาพลวงตาจากกระจกและมุมสะท้อนทำให้เราคิดว่าพวกเธอไม่มีหัว

 

10. ตู้โทรศัพท์อัดแน่น

 

กระแสแปลกๆ นี้เกิดขึ้นไปทั่วโลกราวปี 1950 เด็กวัยรุ่นทั้งหลายจะพยายามบีบอัดตัวเองเข้าไปในตู้โทรศัพท์ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จนกว่าจะไม่สามารถมีใครแทรกตัวเข้าไปได้อีก

นอกจากนี้ บางทีพวกเขายังการยัดรถเข้าไปอีกด้วย เช่น รถเต่า Volkswagen คันเล็กๆ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครทราบว่ากระแสนี้เกิดขึ้นจากอะไร แต่ดูท่าจะเป็นความสนุกสนานอย่างหนึ่งของเหล่าวัยรุ่นเลยล่ะ

 

ที่มา: Brightside

Comments

Leave a Reply