ในยุคสมัยที่คนเราสามารถหาแทบทุกสิ่งทุกอย่างได้จากอินเตอร์เน็ตนั้น เชื่อว่าเพื่อนๆ อาจจะเคยเอาเรื่องเจ็บป่วยของตัวเองไปเสิร์ชหาใน Google ดูกันบ้างล่ะ ปวดหัวเป็นอะไรไม่รู้พอเสิร์ชดูปรากฏว่าเป็นเนื้องอกในสมองจ้า หรือไม่ก็เลือดกำเดาไหลเป็นอะไรหว่า หาไปหามา อ๋อ เป็นลูคีเมียนี่เอง เพราะอย่างนั้นจึงมีหลายๆ ไม่ค่อยเชื่อข้อมูลจาก วิธีนี้เท่าไหร่นัก
แต่ก็ใช่ว่าข้อมูลการค้นหานั้นจะมั่วซั่วไปเสียหมด เพราะยิ่งมีคนค้นหามากเท่าไหร่ โอกาสที่ผลการค้นหาจะมาพร้อมกับข้อมูลดีๆ ก็จะมากขึ้นเท่านั้น และถ้ายิ่งเป็น 10 เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพที่มีการค้นหามากที่สุดเมื่อปี 2017 ที่ผ่านมาแล้ว ข้อมููลที่ได้มานั้น มันยิ่งเต็มไปด้วยประโยชน์จริงๆ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยดีกว่า
1# อะไรทำให้คนเราสะอึก
ไม่น่าแปลกที่คำถามพื้นๆ จะเป็นหนึ่งในสิ่งที่คนเราค้นหากันมากที่สุด เพราะไม่ว่าอย่างไรเหตุผลของการสะอึกก็ยังไม่เป็นที่เด่นชัดแน่นอน มันต่างกันไปในแต่ล่ะคนและแทบจะหาเหตุผลที่เกิดอย่างแน่นอนไม่ได้ แน่นอนว่าทำไมมันถึงหายได้ก็ยังไม่เป็นที่ทราบเช่นเดียวกัน
สำหรับเหตุผลที่พอจะรู้ก็มี การที่กระเพาะเต็มเกินไป ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป แอลกอฮอล์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การสูบบุหรี่ ความตื่นเต้น ความเครียด เรื่อยไปยันโรคบางชนิดอย่าง ไตวาย
2# จะทำอย่างไรให้หยุดกรน
อันนี้คนที่ค้นหาอาจจะไม่ใช่คนกรนเองเท่าไหร่ แต่เป็นคนนอนข้างๆ มากกว่า อย่างไรก็ตามการกรนนั้น เลี่ยงได้ด้วยการ
1. เปลี่ยนท่านอน ให้ยกหัวให้สูงขึ้น หรือนอนตะแคงข้าง
2. ลดน้ำหนักส่วนเกิน
3. เลิกหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์
4. ลดหรือหลีกเลี่ยงความแออัดในโพรงจมูก (โดยการรักษาโรคภูมิแพ้ ใช้เครื่องทำความชื้น ใช้ยาแก้คัดจมูก หรือน้ำยาล้างไซนัส)
5. หลีกเลี่ยงยาที่ทำให้มีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบทางเดินหายใจ (เช่นยากล่อมประสาท “Valium“)
6. ใช้อุปกรณ์ป้องกันอาการกรน (แนะนำให้ปรึกษาแพทย์)
3# อะไรทำให้เกิดนิ่วในไต
โรคนิ่วนั้นเป็นที่รู้จักในบรรดาคนทั่วไป เพราะว่าความเจ็บปวดเวลาเป็นโรคนี้นั้นมากกว่าโรคอื่นๆ ทำให้คนที่เคยเป็นกลัวมากที่จะเป็นอีกครั้ง ส่วนสิ่งที่ทำให้เกิดนิ่วก็เช่น
1. โรคเกี่ยวกับไตที่ทำการการจัดการแคลเซียมผิดเพี้ยน
2. ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเพราะแบคทีเรียบางชนิด
3. พฤติกรรมการกินอาหารบางอย่างเช่นการกินโซเดียมเป็นจำนวนมาก และไม่ดื่มน้ำให้มากพอ
4. แนวโน้มทางพันธุกรรม
5. สภาวะของทางเดินอาหารที่มีผลต่อการดูดซึมสารอาหาร เช่นโรคอุจจาระร่วงเรื้อรัง หรือการผ่าตัดบายพาสกระเพาะอาหาร
6. ยาบางชนิด เช่น Acyclovir และ Triamterene
7. โรคบางอย่าง เช่น โรคอ้วน โรคเกาต์ และความดันโลหิตสูง
4# ทำไมฉันถึงเหนื่อยมากๆ
คำถามนี้เป็นที่นิยมเพราะคำว่า “เหนื่อย” ในที่นี้นั้นหมายความได้หลายอย่าง ตั้งแต่การขาดพลังงาน ความต้องการในการนอน หรือความอ่อนแอของร่างกาย อย่างไรก็ตาม นี่เป็นหนึ่งในสาเหตุ ของความเหนื่อยที่พบในกรณีที่ไม่ใช่ความเหนื่อยทั่วไป
1. การติดเชื้อเช่นไข้หวัดหรือโรคปอดบวม
2. หัวใจล้มเหลว
3. ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
4. ภาวะพร่อง
5. โรคตับ
6. โรคโลหิตจาง
7. โรคไขข้ออักเสบ เช่นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
8. ภาวะซึมเศร้า หรือความวิตกกังวล
9. ผลข้างเคียงของยา หรือสารเสพติด
10. โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง
5# จะเป็นไข้หวัดใหญ่นานแค่ไหน?
การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ไม่มีโรคแทรกซ้อนโดยเฉลี่ยจะนานประมาณ 5 วัน อย่างไรก็ตามมันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเป็นไข้หวัดใหญ่นานกว่าหนึ่งสัปดาห์
6# ความดันโลหิตปกติคือเท่าไหร่?่
จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ 120/80 หรือน้อยกว่าถือว่าเป็นความดันโลหิตปกติ ส่วน 140/90 หรือสูงกว่าถือว่าเป็นความดันโลหิตสูง ส่วนตัวเลขที่อยู่กึ่งกลางจะถือว่ามีเป็นความดันโลหิตที่ค่อนข้างสูงเฉยๆ
อย่างไรก็ตามในเดือนพฤศจิกายนของปี 2017 ทาง American Heart Association และ American College of Cardiology ได้ปรับมาตรการโดยนับผู้ที่มีตัวเลขสูงกว่า 130/80 ให้เป็นผู้มีความเสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิต 100/60 อาจเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้ใหญ่ที่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว แต่มันอาจต่ำเกินไปสำหรับผู้สูงอายุและทำให้มีอาการวิงเวียนหรือเป็นลมได้
7# จะลดคอเลสเตอรอลได้อย่างไร?
การลดคอเลสเตอรอลทำได้โดยการ
1. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงเช่นเนื้อแดง เนยแข็ง และอาหารทอด
2. ลดน้ำหนักส่วนเกิน
3. เพิ่มการออกกำลังกาย
4. ใช้ยาตามที่แพทย์กำหนด (ในกรณีที่มีการสั่งยา)
8# สาเหตุของความดันโลหิตสูงคืออะไร?
ในกรณีส่วนมากจะไม่มีสาเหตุของความดันโลหิตสูงที่สามารถรับรู้ได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงอยู่มากมาย เช่น
1. ปัจจัยด้านอาหาร (เช่นอาหารโซเดียมสูงหรือการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูง)
2. อายุที่มากขึ้น
3. น้ำหนักเกิน
4. ปัจจัยทางพันธุกรรม
5. เชื้อชาติ (ความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้น และเกิดขึ้นบ่อยในหมู่คนผิวดำ)
6. โรคไต และโรคหลอดเลือด
7. ไลฟ์สไตล์ประจำตัวที่ไม่ดีต่อร่างกาย (ชอบดื่มเหล้า หรือสูบบุหรี่)
8. ยาบางชนิด (เช่นยาต้านการอักเสบ และยาระงับประสาท และยาเสพติดที่ผิดกฎหมายเช่นโคเคน)
9. ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
9# ADHD คืออะไร?
“ADHD” หรือ “Attention Deficit Hyperactivity Disorder” คือสภาพที่บุคคลรู้สึกว่ายากที่จะมุ่งเน้นไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรียกง่ายๆ ว่า โรคสมาธิสั้นนั่นเอง อาการนี้อาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ไม่ดี มีปัญหาในโรงเรียนหรือที่ทำงาน และพบกับความลำบากในการรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้
10# ลูปัสคืออะไร?
คำว่า “โรคลูปัส” นั้นคือคือกลุ่มอาการที่ระบบภูมิคุ้มกันมีปฏิกิริยาต่อต้านกับเนื้อเยื่อในร่างกาย ซึ่งอาจนำไปสู่การอักเสบในผิวหนัง ข้อต่อ หัวใจ ปอด ไต สมอง และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย สาเหตุของโรคยังไม่เป็นที่รู้จัก และการรักษาโรคมักจะทำโดยการหยุดยั้งระบบภูมิคุ้มกันของร้างกาย ไม่ให้ทำลายเนื้อเยื่อของตัวเอง
ที่มา harvard
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.