ผู้เชียวชาญแนะวิธีที่จะทำให้คุณเลิก ‘คิดมาก’ สาเหตุของความเครียดและโรคซึมเศร้า

เพื่อนๆ หลายคนเคยมีอาการที่ชอบคิดมากบ่อยๆ มั่งหรือเปล่า #เหมียวฝึกหัด ตอนกลางคืนนี่ไม่สามารถนอนหลับได้เลย เพราะสมองชอบคิดเรื่องนู้นเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอดีต ปัจจุบันหรืออนาคตก็ตาม

และถ้าหากคุณเป็นคนที่ชอบคิดมากเหมือนเราแล้วล่ะก็ วันนี้เราก็ได้หาวิธีการที่จะทำให้เลิกคิดมากมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันแล้ว

โดยอ้างอิงจาก สำนักงานสถิติแห่งสหราชอาณาจักร (ONS) ได้แสดงค่าสถิติที่เกิดขึ้นของความเครียด ภาวะซึมเศร้าและการคิดมาก ว่าในสหราชอาณาจักรมีอัตราการเพิ่มขึ้นของคนที่มีภาวะซึมเศร้าถึงสองเท่าของทั่วโลก

 

 

โดยปกติแล้วเราจะพบสองสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดการคิดมาก คือ 1.จมอยู่กับอดีตที่ไม่ดี 2.มักมองอนาคตในแง่ลบ

ความเครียด การวิตกกังวลและการคิดมาก สามารถกลายเป็นปัจจัยในการทำให้สุขภาพจิตแย่ลง ถึงการจัดการกับความคิดมากและการมองโลกในแง่ลบอาจไม่สามารถรักษาการเจ็บป่วยทางจิตได้แต่ก็ช่วยให้สามารถใช้ชีวิตแบบรับมือกับความเครียดได้มากขึ้น

แต่เมื่อพูดถึงเรื่องกระบวนการคิดและจิต มันยากที่จะฝึกสมองของคุณ มันต้องใช้เวลาในการฝึกฝนมากในการคิดถึงเรื่องที่จะทำให้สุขภาพจิตของคุณดีขึ้น แต่การฝึกคิดถึงเรื่องที่จะทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นแบบนี้มันจะง่ายขึ้นเองเมื่อเวลาผ่านไป

การที่จะแก้นิสัยคิดมากนี้ได้ ต้องอาศัยความพยายามทุ่มเทในการฝึกฝนเป็นเวลาอย่างต่ำ 21 วันถึงจะสามารถเปลี่ยนแปลงนิสัยได้ และนี่ก็เป็น 6 เทคนิคที่ช่วยให้เพื่อนๆ เลิกนิสัยคิดมากได้ครับ

 

 

1. สังเกตความคิดของคุณ

หากคุณมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นคนคิดมากหรือมีความวิตกกังวล มันยากที่จะรู้ว่าตัวเองกำลังคิดมากอยู่ ดังนั้นจึงควรเริ่มจากการตรวจสอบสมองและรับรู้ว่าตัวคุณกำลังคิดอย่างไร จากนั้นคุณก็จะรู้ว่ารูปแบบความคิดที่คุณคิดส่วนมากมันเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์

 

2. คิดอย่างมีประสิทธิผล

การจมอยู่กับอดีตที่ไม่ดี จะนำไปสู่รูปแบบการคิดที่มีผลไม่ดีมากขึ้น ดังนั้นควรโฟกัสไปที่หนทางแก้ปัญหา หาวิธีที่คุณสามารถควบคุมและพยายามหาทางออกที่เป็นไปได้ หากมันมีบางอย่างที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของคุณ ให้เน้นไปที่อะไรที่คุณสามารถทำได้ เช่นกำหนดกลยุทธ์รับมือและเปลี่ยนให้มีทัศนคติที่ดี

 

3. ท้าทายความคิดของคุณ

ความคิดด้านลบนั้นมีพลังที่จะทำให้จิตใจแย่ลงและยังสามารถห้ามไม่ให้คุณมองสถานการณ์ที่เป็นอยู่อย่างเป็นกลางได้อีกด้วย ดังนั้นการยอมรับว่าตัวเองมีความคิดด้านลบและมองหาหลักฐานที่ว่าคุณมีความคิดแบบนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ อาจเป็นการแก้ปัญหาได้ดีกว่าตอนที่คุณต่อต้านความคิดด้านลบ

 

 

4. ตรึกตรองถึงปัญหาทุกวัน

นี่ไม่ได้หมายความว่าให้จมอยู่กับปัญหาทุกวัน แต่หมายความว่าให้แบ่งเวลาให้มีช่วงสำหรับการคิดสรุปทุกวัน เพื่อที่จะได้มีการพิจารณาข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นเพื่อหาทางรับมือไว้ล่วงหน้า หรือคิดหาวิธีต่างๆ ใหม่ๆ ที่คุณสามารถทำได้เพื่ออนาคตที่ดีกว่า

 

5. ความขยันหมั่นเพียรเป็นหัวใจสำคัญ

แทนที่เราจะไปวิตกกังวลกับเกี่ยวกับอดีตหรืออนาคต สู้เราเรียนรู้การทำสติปัฏฐานเพื่อให้เราอยู่กับปัจจุบันเสียดีกว่า การทำสติปัฏฐาน เพื่อนๆ สามารถวิธีการทำได้จากในอินเทอร์เน็ตหรือหนังสือแม้แต่แอปพลิเคชันก็มี แต่ก็ต้องใช้การฝึกฝน ดังนั้นความหมั่นเพียรถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในหัวข้อนี้เลยทีเดียว

 

6. เปลี่ยนแปลงอะไรที่คุณทำอยู่

แน่นอนว่าคุณไม่สามารถห้ามตัวเองไม่ให้คิดมากหรือวิตกกังวลได้ง่ายๆ หรอก ยิ่งคุณพยายามที่จะหยุดความคิดอะไรอย่างหนึ่ง นั่นหมายถึงคุณก็ยิ่งนึกถึงมันมากเท่านั้น

ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมที่คุณทำอยู่จึงเป็นความคิดที่เข้าท่า ตัวอย่างเช่นคุณควรเริ่มบทสนทนาใหม่ๆ ด้วยเรื่องอื่นๆ หรือออกไปออกกำลังกายเสียบ้าง แต่ในอีกทางหนึ่งการทำอะไรที่แตกต่างแบบนี้ จะช่วยให้คุณคิดถึงเรื่องในด้านลบน้อยลงด้วย

 

 

ใครที่ติดนิสัยเป็นคนคิดมาก ลองนำวิธีที่ #เหมียวฝึกหัด

นำมาให้อ่านไปลองปฏิบัติกันนะครับ

ที่มา Indy100

Comments

Leave a Reply