อาจารย์วิจารณ์ การแต่งกายไม่ดีทำให้งานดูแย่ ด้านนศ. แย้งการแต่งตัวเกี่ยวอะไรกับงาน!?

กลายเป็นกระแสดราม่าบนโลกออนไลน์อีกครั้ง หลังจากที่มีอาจารย์ท่านหนึ่งได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การแต่งกายของนักศึกษาชายรายหนึ่งระหว่างการนำเสนองาน

ซึ่งอาจารย์ท่านดังกล่าวได้โพสต์ข้อความบอกว่า นักศึกษารายดังกล่าวได้แต่งตัวไม่เรียบร้อยเอาชายเสื้อออกนอกกางเกง พร้อมกับสวมรองเท้าแตะ และอ่านข้อความในโทรศัพท์ตลอดการนำเสนอ

 

ก่อนที่จะบอกสิ่งที่ตนได้คอมเมนต์ในการนำเสนอของนักศึกษารายนั้น ตามข้อความในภาพด้านล่าง

 

และหลังจากที่ข้อความของอาจารย์ท่านดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ก็ได้นักศึกษารายหนึ่งได้โพสต์ภาพจากเฟซบุ๊กอาจารย์ท่านดังกล่าวพร้อมกับข้อความว่า

Present ไม่ดี แล้วเกี่ยวอะไรกับการแต่งกายอะ แล้วแต่งกายดีจะส่งผลให้ present ดีได้ยังไงอะ งง
(ถึงแม้แกพยายามจะบอกว่าการแต่งกายไม่ได้สัมพันธ์กับคุณภาพการ present แต่ที่แกเขียนมาทั้งหมด มันสื่อว่าแกกำลังมองว่าการแต่งกายสัมพันธ์กับคุณภาพในการ present งาน)

แล้วการที่นิสิตแต่งกายไม่ถูกระเบียบและ present ไม่ดี มันทำให้มหาวิทยาลัยต้องออกมารณรงค์ยังไงอะครับ อะ สมมติว่ามหาวิทยาลัยรณรงค์ให้นิสิตแต่งกายถูกระเบียบได้สำเร็จ แล้วมันจะส่งผลทำให้นิสิตสามารถ present ได้ดีขึ้นทันตาเห็นเลยหรอครับ มันไม่เกี่ยวกันหรือเปล่า (ผมถึงบอกว่าอาจารย์ได้ผูก 2 เรื่องนี้ คือ แต่งกายไม่ถูกระเบียบ เลยทำให้ present ได้ไม่ดี ว่าเป็นเรื่องเดียวกันและสัมพันธ์กันไปแล้ว)

แล้วนี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่อาจารย์มองนิสิตเป็นแค่สิ่งของ ไม่ใช่มองนิสิตเป็นนิสิตที่มีสิทธิเสรีภาพ และมีความคิดเป็นของตัวเอง

แล้วนี่ก็ bias เต็มๆ อะครับ ตั้งป้อมก่อนแล้ว ว่าเด็กที่แต่งกายไม่ถูกระเบียบคนนี้จะต้อง present ได้แย่แน่ๆ แล้วการแต่งกายแบบนี้มันเฮงซวยยังไงหรอครับ ใครเป็นคนกำหนดอะ ว่าการที่ชายเสื้อออกนอกกางเกง ใส่รองเท้าแตะ คือการแต่งกายที่เฮงซวย

ผมว่าไอ้ระเบียบที่ล้าหลัง คร่ำครึ ของจุฬาฯ ที่ force ให้นิสิตต้องแต่งกายถูกระเบียบอย่างนั้นอย่างนี้มากกว่า ที่เฮงซวย แล้วอย่ามาบอกว่าถ้าระเบียบนี้เฮงซวยก็ต้องแก้ให้ได้นะครับ คุณคิดหรอว่าผู้บริหารที่อนุรักษ์นิยมสุดโต่งแบบนั้น จะยอมให้เกิดการแก้ไขระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการแต่งกายขึ้น การแก้ไขระเบียบต้องผ่านความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัย แล้วผมกล้าท้าให้คุณไปดูรายชื่อกรรมการสภามหาวิทยาลัยได้เลยครับ ว่าแต่ละคนคัดค้านการยกเลิกบังคับแต่งกายชุดนิสิตขนาดไหน ยิ่งไปกว่านั้นการมีอาจารย์ที่มองนิสิตเป็นแค่สินค้าแบบนี้แหละที่เป็นเรื่องเฮงซวย 

 

ข้อความจากเฟซบุ๊กของนักศึกษาที่โพสแสดงความคิดเห็น

 

ข้อความดังกล่าวถูกโพสต์เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากนั้นก็ได้มีผู้กดไลก์มากถึง 1,100 ครั้ง แชร์มากถึง 1,200 ครั้ง และแสดงความคิดเห็นกันต่างๆ นานา

โดยบางคนไม่เห็นด้วยกับนักศึกษาคนดังกล่าวพร้อมกับบอกว่า “อยากจะทำตามใจตัวเองจนลืมคำว่า กาลเทศะและความเหมาะสม แถมยังวิเคราะห์คำพูดของอาจารย์ผิดๆอีก” 

หรือบางคนก็บอกว่ายังถือว่าดีที่ยังมีโอกาสได้นำเสนอ ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยอื่นอาจจะไม่ได้มีโอกาสออกไปหน้าชั้นเรียนเลยก็ได้

ผมก็เป็นคนนึงที่แต่งตัวไม่ค่อยถูกระเบียบครับแต่ผมรู้จักการะเทศะครับว่าอะไรคือฟรีอะไรคือเคร่งอย่าให้ใครมาเหมารวมว่านักศึกษาแย่เพราะคนแบบคุณ คุณมันไม่รู้จักยอมรับความจริงคุณก็ไม่ได้เรียนเหนือกว่าคนอื่นเขาอย่าแหล่มกฎควรเคารพครับควรรู้ว่าอะไรควรไม่ควรครับ” 

“อาจารย์ยังให้โอกาสพรีเซนต์จนจบ ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยที่ผมเรียน โดนไล่ลงครับเพราะคณะที่ผมเรียน คือครุศาสตร์ จะออกไปอ่านสไลด์โง่ๆ ให้ผู้เรียนฟังไม่ได้”

“อยากจะทำตามใจตัวเองจนลืมคำว่า กาลเทศะและความเหมาะสมแถมยังวิเคราะห์คำพูดของอาจารย์ผิดๆ อีก”

“ผมตีความอาจารย์ได้ว่า ข้างในดีไม่ดี ขอข้างนอกดีไว้ก่อนเถอะ (ดีในแบบที่อาจารย์ท่านคิดว่าดี) อย่างน้อยดีแต่เปลือกบังหน้าไปก็พอช่วยอะไรได้บ้าง นั่นก็คือช่วยให้ตัดสินคนจากภายนอกได้ง่ายขึ้น”

“เหมือนการทำงานเจอลูกค้า ถึงคุณจะเก่งแค่ไหนในการพรีเซนต์ แต่ถ้าแต่งตัวแบบนี้ ลูกค้าจะเลือกไหมคะ คนที่เขาเก่งจริงเค้ารู้ค่ะว่าควรแต่งกายยังไง”

“ผมคิดว่าคุณภาพของคนสำคัญกว่าเปลือก ก็จริงนะ แต่อย่างไรก็ตาม เสื้อผ้าที่น่าสวมใส่ควรมีสีสันและเนื้อผ้าที่ดีเป็นของคู่กัน คนก็เหมือนกัน จะให้ดีก็ควรดีทั้งนอกทั้งใน ต่อให้จุฬาสามารถยกเลิกชุดนิสิต ผมว่าจุฬาก็ยังคงรณรงค์ให้แต่งตัวดีๆ อยู่ดี”

 

ที่มา Tanawat Wongchai

Comments

Leave a Reply