นักจิตวิทยาใช้เวลา 3 ปี หา ‘โรคจิต’ ในหนังกว่า 400 เรื่อง ที่เหมือนจริงมากที่สุด!!

คำว่า “โรคจิต” หากว่าอธิบายอย่างง่ายๆ ก็คือคนที่มีพฤติกรรมและจิตใจที่ผิดปกติ ส่วนมากจะสังเกตเห็นได้ว่า คนโรคจิตจะจิตใจเย็นชา ชอบใช้ความรุนแรง และมักจะหาความสุขให้ตัวเองในวิธีแปลกๆ

การสังเกตคนโรคจิตจะแบ่งได้เป็นสองประเภท ก็คือผู้ที่เป็นโรคจิตที่เห็นได้ชัดเจน (Classic) กับผู้ที่เป็นโรคจิตแบบไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic) ซึ่งบางครั้งอาการโรคจิตก็สังเกตได้ยากเนื่องจาก อาการสามารถถูกกลบฝังไว้ได้ ภายใต้พฤติกรรมที่ดูปกติ

ทั้งนี้ในปี 2014 ก็ได้มีนักจิตวิทยาชาวเบลเยี่ยมท่าหนึ่งนามว่า Samuel Leistedt ต้องการจะค้นหาภาพยนตร์ที่ภายในเรื่องมีตัวละครโรคจิตที่เสมือนจริงที่สุด Leistedt จึงรวบรวมพรรคพวก 10 คนมาช่วยกันดูภาพยนตร์จำนวน 400 เรื่อง ซึ่งใช้เวลาไปกว่า 3 ปีด้วยกัน

ภาพยนตร์ที่เขาเลือกดูจะอยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่ปี 1915 จนถึง 2010 ซึ่งหลังจากที่พวกเขาชมภาพยนตร์ทั้ง 400 เรื่องเสร็จเรียบร้อย ทำให้พบตัวละครที่มีความเป็นโรคจิต 126 ตัว และผลลัพธ์ที่พวกเขาค้นพบครั้งนี้หากเรียงตามความสมจริงของอาการโรคจิต จะพบว่า…

 

อันดับที่ 6 นับทศวรรษ ภาพยนตร์ฆาตกรนักเชือดทั้งหลายได้แสดงออกถึงการเป็นโรคจิตที่ ไม่สมจริงสุดๆ

 

ภาพยนตร์อย่างเช่นเรื่อง A Nightmare on Elm Street และ Friday the 13th ได้นำเสนอตัวละครโรคจิตโฉมใหม่ให้กับวงการภาพยนตร์ แต่ Leistedt และลูกทีมของเขาหารือกันว่าตัวละครในเรื่องอย่าง Freddy Krueger และ Jason Voorhees ไม่เหมือนกับคนโรคจิตในชีวิตจริง

พวกเขาเขียนว่า “ในภาพยนตร์ฆาตกรนักเชือดเหล่านี้ ตัวละครที่พยายามทำให้มีความโรคจิตมันดูไม่สมจริง มันประกอบไปด้วยลักษณะนิสัยและบุคลิกหลายแบบ เช่น ซาดิสม์ เฉลียวฉลาด และมีความสามารถในการคาดเดาถึงแผนการหลบหนีของเหยื่อ

ถึงแม้ทุกวันนี้ตัวละครเหล่านี้จะเป็นฆาตกรเลื่องชื่อสุดโหดเหี้ยม แต่พวกเขาไม่ได้เป็นผู้ป่วยโรคจิตที่น่าสนใจเลยแต่อย่างใด”

 

อันดับที่ 5 ตัวละคร “โรคจิต” ชื่อดังหลายๆ ตัวก็ไม่ได้ตรงกับความเป็นจริงเลย

 

Patrick Bateman จากเรื่อง American Psycho, Gordon Gekko จากเรื่อง Wall Street, Norman Bates จากเรื่อง Psycho, และ Hannibal Lecter จากเรื่อง Silence of the Lambs นั้นน่ากลัวและให้ความบันเทิงก็จริง แต่ Leistedt และทีมของเขามองว่าบุคลิกของตัวละครเหล่านี้ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเรียกว่าเป็นโรคจิตได้

“ด้วยความสนใจในเรื่องนี้เป็นพิเศษ มันแสดงให้เห็นว่า ถึงแม้จะมีการรักษาทางการแพทย์ที่เหมือนจริง แต่ความเป็นโรคจิตของตัวละครในภาพยนตร์ก็ยังคงดูเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมา

ยิ่งถ้าเป็นตัวร้ายในเรื่อง มันถูกสร้างขึ้นมาคล้ายคลึงกับตัวร้ายสุดโด่งดังซึ่งคอยหลอกหลอนผู้คน เหมือนกับจะเป็น ‘ลักษณะเฉพาะของตัวร้าย’ ยังไงอย่างงั้น” พวกเขาเขียน

 

อันดับที่ 4 การสะท้อนความเป็นโรคจิตในภาพยนตร์ในยุคแรกๆ นั้นยังไม่ค่อยสมจริงนัก

 

ตัวละครอย่างเช่น Tommy Udo จากเรื่อง The Kiss of Death (1947) และ Cody Jarrett จากเรื่อง White Heat (1949) นั้นเล่นกับความเข้าใจผิดของผู้คน ว่าประเภทของตัวร้าย เช่น อันธพาล หรือนักวิทยาศาสตร์บ้า นั้นเป็นสัญลักษณ์ของคนโรคจิต

ทีมของ Leistedt เขียนว่า “เหล่าตัวละครพวกถูกสร้างขึ้นมาล้อเลียนพวกฆาตกรที่โหดเหี้ยม คาดเดาไม่ได้ หมกมุ่นทางเพศ และอารมณ์แปรปรวนซึ่งจะนำไปสู่การกระทำความรุนแรงต่างๆ

ส่วนมากจะนำเสนอถึงกิริยาท่าทาที่ประหลาดๆ เช่น ขำคิกคัก หัวเราะร่า หรือใบหน้ากระตุก เป็นต้น ซึ่งมันจะทำให้ตัวละครเป็นที่น่าจดจำ แต่กลับไม่สมจริง”

 

อันดับที่ 3 คนโรคจิตที่เป็นเพศหญิงในภาพยนตร์ถือพบเห็นได้น้อยพอๆ กับในโลกแห่งความจริง

 

จาก 126 ตัวละครโรคจิตที่ทางทีมพบเจอ มีเพียง 21 ตัวละครเท่านั้นที่เป็นเพศหญิง ที่ส่วนมากแล้วออกมาเป็นแม่พิมพ์เดียวกันเกือบหมดคือการลงมือด้วย “ความเจ้าเล่ห์เพทุบายและใช้ร่างกายอันเย้ายวนเป็นอาวุธ” ทีมของ Leistedt เขียน

ตัวอย่างก็เช่น Hedra Carlson จากเรื่อง Single White Female และ Catherine Tramell จากเรื่อง Basic Instinct โดยตัวละครทั้งสองตัวนี้มีความเหมือนกันก็คือใช้ความต้องการทางเพศของฝ่ายชายเพื่อเป็นอาวุธสุดอันตรายต่อพวกผู้ชายเอง

แต่ตัวละคร Annie Wilkes จากเรื่อง Misery และ Rachel Phelps จากเรื่อง Major League นั้นถือว่าเป็นข้อยกเว้นสองข้อสำหรับแม่พิมพ์หญิงโรคจิตดังกล่าว

 

อันดับที่ 2 มีสองตัวละครที่เรียกได้ว่าสะท้อนความเป็นโรคจิตออกมาได้ดีเยี่ยมจนเกือบจะดีที่สุด ได้แก่ Hans Beckert จากเรื่อง M และ Henry Lee Lucas จากเรื่อง Henry: Portrait of a Serial Killer

 

ภาพยนตร์สัญชาติเยอรมันเรื่อง M ในปี 1931 นั้น Peter Lorre ผู้ที่รับบทแสดงเป็นฆาตกรฆ่าเด็ก โดยตัวละครนี้มีหลายลักษณะนิสัยของตัวละคร ที่แสดงถึงว่าตนเองกำลังเป็นฆาตกร

“Lorre แสดงเป็น Beckert ผู้ที่ดูจากภายนอกจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเขาทุกข์ทรมานกับความแปรปรวนทางอารมณ์ ซึ่งมันคอยผลักดันให้เขาต้องสังหารเด็กคนแล้วคนเล่า” กลุ่มนักวิจัยเขียน

ส่วนในเรื่อง Henry: Portrait of a Serial Killer ปี 1986 นั้น ผู้กำกับ John McNaughton ได้วางบทบาทให้ Henry เป็นผู้ที่ไม่สามารถวางแผนการล่วงหน้าได้ ซ้ำยังมีนิสัยบ้าคลั่งและมีความสัมพันธ์กับครอบครัวที่ค่อนข้างแย่ จึงทำให้ตัวละครนี้มีลักษณะตรงกับโรคจิตแบบไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic)

 

อันดับที่ 1 ตัวละครที่มีความเป็นโรคจิตได้สมจริงที่สุดได้แก่ Anton Chigurh จากเรื่อง No Country for Old Men

 

ในเรื่อง No Country for Old Men นักแสดง Javier Bardem ได้รับบทบาทเป็นตัวละครที่มีความเป็นโรคจิตที่เห็นได้ชัดเจน (Classic) ตามข้อสรุปของ Leistedt และลูกทีม

ตัวละคร Chigurh เข้าถึงบทบาทฆาตกรได้โดยการทำตัวปกติอย่างน่าประหลาดใจ และเขาก็ยังลบร่องรอยของอาวุธปืนของเขาได้อย่างมีความสุขโดยไม่แสดงสีหน้าตื่นตระหนกแม้แต่น้อย

“เขาดูไม่สะทกสะท้านและสามารถอดทนได้กับอารมณ์ต่างๆ หรือรูปแบบต่างๆ ของมนุษย์” ทีมวิจัยเขียน

 

 

ที่มา: Msn และ Thechive

Comments

Leave a Reply