ผู้เชี่ยวชาญออกเตือน ‘เด็กๆ จับปากกาเขียนผิดวิธี’ จะส่งผลเสียต่อความแม่นยำในการเขียน…

การจับปากกาหรือดินสอนั้นดูเหมือนจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไร แต่ถ้าหากมองลงไปลึกๆ แล้ว จะพบว่าเด็กในยุคปัจจุบันที่เติบโตท่ามกลางอุปกรณ์ทัชสกรีน และใช้เวลาส่วนมากไปกับสิ่งเหล่านี้ จะไม่มีความสามารถในการเขียนหนังสือได้ดีเท่าที่ควร

จากรายงานล่าสุดของ NHS Trust ได้กล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ ชาวอังกฤษ ที่ไม่สามารถจับปากกาหรือดินสอ เขียนได้อย่างคล่องแคล่วเหมือนกับเด็กๆ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

 

 

“เด็กๆ ส่วนมากไม่มีความแข็งแรงและความแม่นยำของมือ เมื่อเทียบกับเด็กๆ ในช่วง 10 ปีที่แล้ว” Sally Payne กุมารเวชศาสตร์บำบัดผู้เป็นหัวหน้าทีมวิจัยกล่าว

“จะเห็นได้ชัดว่าจำนวนของเด็กที่ไม่สามารถจับดินสอเขียนได้อย่างมั่นคง มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะพวกเขาไม่มีทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานเลย” เธอกล่าวเสริม

 

ลักษณะการจับเครื่องเขียนที่ถูกต้องแบบ Dynamic Tripod นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง ประสานร่วมกัน สามารถเคลื่อนไหวสะบัดได้เล็กน้อยตามต้องการ

 

ทักษะการเขียนนั้นจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อมือ ซึ่งแตกต่างจากการปัดหรือการแตะหน้าจอ ที่ถูกใช้งานในการอ่านและเขียนข้อความบนโลกออนไลน์ในปัจจุบัน

เมื่อการเขียนถูกนำมาใช้บนแผ่นกระดาษ การจับดินสอหรือปากกาที่ถูกต้องนั้นกลายเป็นเรื่องโบราณไปในทันที และตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว การจับเครื่องเขียนที่ถูกต้องนั้นก็มีมากกว่า 1 วิธี

 

 

อ้างอิงจากงานวิจัยในปี 1996 ทำการสรุปผลการศึกษาอีกหลายชิ้นในช่วงยุค 1980 ได้ว่า ความหลากหลายของลักษณะจากจับเครื่องเขียน ไม่ได้ส่งผลต่อการเขียนทั้งทางด้านความชัดเจนและความเร็วของเด็กแต่อย่างใด ซึ่งจะต้องทำการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

และงานวิจัยในปี 2012 ทำการทดสอบกับเด็กๆ ชั้นเกรด 4 (ป. 4) ทั้งหมด 120 ราย ได้เผยว่ารูปแบบการจับเครื่องเขียนพื้นฐานที่ได้รับความนิยมทั้ง 4 แบบนั้นมีผู้ใช้จำนวนพอๆ กัน ไม่มีแบบใดโดดเด่นกว่ากัน

 

ลักษณะการจับเครื่องเขียนแบบผู้ใหญ่ที่ได้รับความนิยมทั้ง 4 แบบ

 

จากงานวิจัยชิ้นดังกล่าว ทางทีมวิจัยได้สรุปว่า “การศึกษาค้นคว้าได้ชี้ให้เห็นว่าลักษณะการจับเครื่องเขียนแบบทางเลือก (ที่ผู้เขียนถนัด) สามารถยอมรับในเรื่องของประสิทธิภาพความเร็วและสามารถอ่านออกได้”

 

 

ซึ่งในปัจจุบัน Mellissa Prunty กุมารเวชศาสตร์บำบัดจาก Brunel University London ได้ให้ข้อโต้แย้งกับงานวิจัยที่ผ่านมาว่าใช้ไม่ได้และล้าสมัยไปแล้ว

“หนึ่งในปัญหาใหญ่ก็คือทักษะการเขียนนั้นขึ้นอยู่กับตัวบุคคล และจะเป็นตัวชี้วัดพัฒนาการของเด็กคนนั้นๆ หากไม่ทำการสำรวจและวิจัยการเขียนของเด็ก จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการสันนิษฐานว่า…

ทำไมพวกเขาไม่สามารถเขียนหนังสือได้ในช่วงอายุที่ควรจะเป็น โดยที่ไม่ได้นำเทคโนโลยีมาเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องเลย” เธอกล่าวปิดท้าย

 

ที่มา : theguardian, sciencealert

Comments

Leave a Reply