เรียกได้ว่าเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่สำหรับวงการนักวิทยาศาสตร์ของโลกกับข่าวเสียชีวิตของยอดอัจฉริยะอย่าง Stephen Hawking
หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้จักเขาเท่าไหร่นัก แต่จริงๆ แล้วเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ทรงคุณค่าที่ฝากแนวคิดและทฤษฎีสำคัญๆ ไว้กับโลกของเรามากมาย
และในวันนี้ #เหมียวหง่าว จะมาเล่าประวัติของ Stephen Hawking ให้เพื่อนๆ ฟังแบบคร่าวๆ เพื่อให้ทุกคนได้รู้จักกับชายคนนี้มากยิ่งขี้น
Stephen Hawking
Stephen Hawking เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคมปี 1942 ในเมืองออกซ์ฟอร์ดไชร์ ประเทศอังกฤษ ในวัยเด็กเขาเริ่มต้นเข้าเรียนที่โรงเรียน Byron House ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จากนั้นเรียนต่อระดับมัธยมที่ St Albans High School
เมื่อเข้าเรียนได้ไม่กี่เดือนก็ต้องเปลี่ยนโรงเรียน เพราะคุณพ่อของเขาต้องการให้ลูกได้รับการศึกษาที่ดีกว่า เลยส่งให้ไปเรียนที่โรงเรียน Westminster School แทน
เมื่อเขาเรียนจบมัธยมและเตรียมเข้ารับการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ในตอนแรกพ่อของเขาต้องการให้เขาเรียนเกี่ยวกับหมอ แต่ Stephen มีความสนใจทางด้านคณิศาสตร์และวิทยาศาสตร์มากกว่า ทำให้เขาตัดสินใจเข้าเรียนในเรียนต่อทางด้านฟิสิกส์และเคมีที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดในปี 1959
หลังจากที่เรียนจบระดับปริญญาตรีในปี 1962 เขาตัดสินใจเรียนต่อในสาขาจักรวาลวิทยา ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ก่อนจะรับปริญญาดุษฎีบัณฑิตในปี 1966 นับเป็นช่วงเวลารวดเร็วมาก
ปี 1963 ขณะที่เขามีอายุ 22 ปี หลังจากเรียนจบปริญญาตรี Stephen รับงานในฐานะนักวิจัยอยู่ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ควบคู่ไปกับการศึกษาต่อที่เคมบริดจ์
แต่แล้วเขาก็ประสบกับอาการ Amyotrophic Lateral Sclerosis (ALS) ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ประสาทควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เขาสูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ไป ไม่สามารถเดินได้ กล้ามเนื้ออ่อนแอลงจนเกือบจะเป็นอัมพาต และไม่สามารถพูดหรือสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจได้
Stephen ตกอยู่ในห้วงของโรคซึมเศร้า แต่แล้วคุณหมอก็ได้ให้คำแนะนำว่าเขายังสามารถศึกษางานวิจัยของเขาต่อไปได้ พร้อมกับได้รับกำลังใจจากผู้คนรอบข้าง
เขาก็เริ่มกลับมาทำงานในแวดวงวิชาการอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับตั้งเป้าหมายเอาไว้อย่างแน่วแน่ว่า “เป้าหมายของผมเป็นอะไรที่ง่ายมาก ก็แค่ทำความเข้าใจเกี่ยวกับจักรวาล ว่าทำไมมันถึงเป็นแบบนั้น และทำไมมันถึงมีอยู่”
ทฤษฎีที่โด่งดังของเขาจนกลายมาเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกเริ่มต้นขึ้นในปี 1970 เมื่อ Roger Penrose ได้ทำการเสนอทฤษฎีที่ว่าดวงดาวที่ระเบิดอยู่ภายใต้แรงโน้มถ่วงของตัวเอง จะมีปริมาตรเท่ากับศูนย์ และมีความหนาแน่นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ซึ่งสภาพแบบนี้นักฟิสิกส์เรียกว่า “ซิงกูลาริตี้” (Singularity) และผลลัพธ์ที่ได้ออกมาก็คือ ‘หลุมดำ’ ไม่ว่าแสงหรือวัตถุใดๆ ก็เล็ดลอดออกมาไม่ได้ โดยแนวคิดเรื่อง Singularity นี้ก็คือปรากฎการณ์ที่เรารู้จักกันดีในชื่อของ Big Bang
Penrose ได้มีโอกาสพูดคุยกับ Stephen แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน “เขาคิดว่าเขาอาจจะอยู่ได้อีกไม่นาน เขาก็เลยอยากจะทำทุกอย่างที่ทำได้ในขณะนั้น” Penrose กล่าวถึง Stephen ในตอนนั้น
ในปี 1974 Stephen และ Penrose ได้ร่วมกันศึกษาและสรุปทฤษฎีเกี่ยวกับควอนตัม หรือทฤษฎีสัมพันธภาพของอัลเบิร์ตไอน์ สไตน์ กำหนดให้เอกภพจะต้องเริ่มต้นใน ‘ซิงกูลาริตี้’ หรือ ‘บิ๊กแบง’ จากนั้นก็จะไปสิ้นสุดอยู่ที่การเกิด ‘หลุมดำ’
ซึ่งเจ้าหลุมดำที่ว่านี้มีระยะเวลาในการเกิดที่ยาวนานมากๆ จนถึงกับขนาดที่ว่าดวงอาทิตย์ดับไปแล้วก็ไม่ยังไม่เกิดขึ้น
Stephen ได้เสนอว่าหลุมดำนั้นไม่ควรเป็นจะเป็นหลุมดำขนาดใหญ่เสียทีเดียว แต่มันจะต้องแผ่รังสีออกมามากมายนับไม่ถ้วนกระจายออกไป
โดยเริ่มที่วัตถุจำนวนมหาศาลนับพันล้านตัน มีความหนาแน่นสูง แต่กินเนื้อที่ขนาดเท่าโปรตอนเท่านั้น เขาได้ตั้งชื่อให้กับวัตถุที่กล่าวไปข้างต้นว่า ‘หลุมดำขนาดจิ๋ว’ แต่สุดท้ายหลุมดำเหล่านี้ก็จะระเหิดหายไป
การค้นพบของ Stephen ในครั้งนี้ ทำให้เกิดการถกเถียงขึ้นมากมายในแวดวงของนักวิชาการ สาขาจักรวาลวิทยาในยุคปัจจุบัน
นอกจากนี้ยังมีผลงานอื่นๆ ของ Stephen อีกมากมาย โดยเฉพาะทฤษฎีการรวมเอาแรงทั้ง 4 ของธรรมชาติเข้าด้วยกัน คือ แรงโน้มถ่วง, แรงแม่เหล็กไฟฟ้า, แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน, และแรงนิวเคลียร์แบบเข้ม ที่จะนำไปสู่ ‘ทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง’ (Theory of Everything) ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
ทฤษฎีการขยายตัวของจักรวาลที่มีความเร่งอยู่เบื้องหลัง แสดงให้เห็นความผันแปรของควอนตัม ความหลากหลายเพียงเล็กน้อยในการกระจายตัวของสสาร อาจจะทำไปสู่การขยายตัวของกาแล็กซี่ในจักรวาล และนำไปสู่ต้นกำเนิดสิ่งมีชีวิตต่างๆ
จากการค้นพบของในปี 1972 เขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์แรงโน้มถ่วง ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
จากนั้นในปี 1974 ได้รับเลือกการแต่งตั้งให้เป็น ‘เมธีคณิตศาสตร์ลูเคเชียน’ (Lucasian Chair of Mathematics) ด้วยวัย 32 ปี เป็นตำแหน่งอันทรงคุณค่า ซึ่งคนที่เคยได้รับการแต่งตั้งให้รับตำแหน่งนี้ก็คือ เซอร์ ไอแซก นิวตัน
ในปี 1988 หนังสือเรื่อง A Brief History of Time ที่เขียนโดย Stephen ก็สร้างเรื่องราวอันน่าตื่นเต้นให้กับวงการจักรวาลวิทยาอีกครั้ง หลังจากที่สร้างยอดขายอย่างถล่มทลายมากกว่า 10 ล้านเล่ม ถูกแปลไปทั้งหมด 40 ภาษา จนถึงกับถูกบันทึกลงในกินเนสส์ บุ๊ก เลยทีเดียว
ทางด้านชีวิตครอบครัว Stephen แต่งงานกับแฟนสาว Jane Wilde ที่คบกันมาตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัยเมื่อปี 1965 เป็นช่วงเวลา 2 ปี หลังจากที่เขาล้มป่วยลง
แม้จะมีผู้คนมาห้ามเธอไม่ให้แต่งงานกับเขาก็ตาม แต่ Jane ก็ยังยืนยังคำเดิม ก่อนที่จะเขียนหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นมาและวางขายเมื่อปี 2013 ชื่อว่า ‘การเดินทางที่ไม่มีสิ้นสุด : ชีวิตของฉันกับ Stephen’ (Travelling to Infinity: My Life With Stephen)
แต่ถึงอย่างนั้นทั้งคู่ก็ไปถึงฝั่งฝัน ลงเอยด้วยการหย่าร้าง และ Stephen ก็ได้เข้าวิวาห์อีกครั้งกับ Elaine Mason นางพยาบาลที่ดูแลเขาอยู่ตลอดเวลาไม่เคยห่าง
เมื่อปี 2012 ในงานฉลองวันเกิดครบรอบ 70 ปีของ Stephen ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เขาได้กล่าววลีเด็ดเอาไว้ และคาดการณ์ถึงอนาคตของมนุษยชาติ “ว่าถ้าเราไม่เดินทางออกสู่ห้วงอวากาศ มนุษย์อาจจะไม่มีชีวิตรอดไปถึง 1,000 ปีข้างหน้า”
ในปี 2014 หนังเรื่อง The Theory of Everything ซึ่งเป็นหนังที่ดัดแปลงมาจากชีวิตจริงของเขา โดยมี Eddie Redmayne เป็นผู้รับบท “ตอนนั้นผมคิดว่าเขา (Eddie) เป็นตัวตนของผมจริงๆ เลยนะเนี่ย” Stephen กล่าวถึงการแสดงอันยอดเยี่ยมของนักแสดง
“ผมมองว่าสมองก็เหมือนกับคอมพิวเตอร์ มันจะหยุดทำงานลงก็ต่อเมื่อระบบการทำงานภายในล้มเหลว ไม่มีสวรรค์ หรือชีวิตหลังความตายสำหรับคอมพิวเตอร์ที่พังแล้ว ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่จะทำให้คนที่กลัวความมืดมิดรู้สึกดียิ่งขึ้นล่ะนะ” เขากล่าวเกี่ยวกับโลกหลังความตาย
“ผมเคยถูกวินิจฉัยเอาไว้แล้วว่าจะตายตั้งแต่เมื่อ 49 ปีก่อน ผมไม่เคยกลัวเลยนะ แต่ผมยังไม่อยากรีบตาย เพราะยังมีเรื่องอีกมากมายที่รอให้ทำอยู่” เขากล่าวถึงความตายของเขา
ในวันที่ 14 เดือนมีนาคม ปี 2018 Stephen Hawking เสียชีวิตไปอย่างสงบ โดยทิ้งเรื่องราวและแนวคิดสำคัญๆ ไว้กับโลกมากมาย #เหมียวหง่าว ก็ขอแสดงความเสียใจไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ…
ที่มา : bbc, theguardian, wikipedia
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.