ตามทางเท้าหรือฟุตปาธ เรามักจะได้เห็นกระเบื้องที่นูนๆ ขึ้นมาจากพื้น ที่เรียกว่า Braille Block นั่นก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเหล่าผู้พิการทางสายตา ให้สามารถเหยียบไปตามเส้นนูนได้อย่างปลอดภัย แต่หากเส้นนูนเหล่านั้นมันดันนำทางไปผิดที่หรือมีอะไรมากีดขวาง นั่นก็อาจหมายถึงอาการบาดเจ็บที่ผู้พิการต้องเจอนั่นเอง
ภาพตัวอย่าง Braille Block จากญี่ปุ่น
ล่าสุด#เหมียวฟิ้นได้ไปเจอเข้ากับภาพชุดหนึ่งจากเพจ The Sidewalk โลกกว้าง ข้างทางเท้า เป็นภาพทางเท้าบริเวณซอยพหลโยธิน 11 ที่วางกระเบื้องแบบแปลกๆ จนอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
จากข้อมูลบอกว่ากระเบื้อง Braille Block นั้นมีอยู่ 2 แบบ แบบแรกคือแบบที่เป็นเส้นนูนๆ เพื่อบอกให้ผู้พิการรู้ว่าต้องเดินตรงไปข้างหน้า ส่วนแบบที่เป็นเส้นจุดๆ นั้นบอกให้รู้ว่าต้องหยุดระวัง ซึ่งแบบหลังมักถูกนำไปวางไว้บริเวณที่เป็นทางแยกหรือจุดเลี้ยว
แต่จากชุดภาพดังกล่าวจะเห็นได้ว่า Braille Block นั้นมีการขาดช่วง วางผิดตำแหน่ง มีสิ่งกีดขวาง หรือหักเลี้ยวแบบกะทันหัน
อย่างเช่นภาพนี้ หากมีคนตาบอดเดินมาก็มีโอกาสสูงมากๆ ที่จะชนเสาไฟฟ้า
หรือถ้าเป็นแบบนี้ก็อาจสร้างความสับสนได้ ว่าควรจะไปทางไหนดี
แบบนี้น่าจะชนแบบ 100%
หรือการออกแบบทางเท้าที่เล็กเกินไปจนทำให้เดินไม่สะดวก
จากเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงวิธีการแก้ปัญหาแบบชาวญี่ปุ่นที่ใส่ใจการเดินเหินของประชาชน จากภาพนี้คือภาพการซ่อมถนนในเขตเกียวโตที่กำลังซ่อมถนนอยู่ ทำให้ทางเดิน Braille Block มีการขาดช่วงไป แต่พวกเขาก็แก้โดยการนำเอาแผ่นยางนูนๆ มาแปะทับลงไปเพื่อให้คนเดินทางสามารถเดินต่อได้อย่างไม่สะดุดนั่นเอง
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.