นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นสสารที่มีความสามารถในการ “กัดกิน” พลาสติก จนอาจนำไปสู่การแก้ไขปัญหาพลาสติกล้นโลกได้ในอนาคต
ทุกวันนี้หลายๆ ประเทศพยายามหาทางที่จะลดปริมาณพลาสติกลง ซึ่งหลายๆ บริษัทก็เริ่มปรับตัวด้วยการลดปริมาณพลาสติกในบรรจุภัณฑ์ของตัวเองลงเพื่อให้ง่ายต่อการกำจัดทิ้ง
แต่ล่าสุดดูเหมือนว่ามนุษย์โลกจะมีทางออกที่ดีกว่าการกำจัดทิ้งแล้ว ด้วยการใช้สสารแบบใหม่ ที่มีคุณสมบัติในการกัดกินพลาสติกจนแทบไม่หลงเหลือเศษซากเลย
สารที่ว่านี้มีพื้นฐานอยู่บนเอนไซม์ที่ชื่อว่า “ตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ” (Biological Catalyst) ในครั้งแรกที่มีการพัฒนา เจ้าสสารตัวนี้ถูกก่อร่างสร้างตัวมาจากแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ภายในศูนย์วิจัยรีไซเคิลที่ประเทศญี่ปุ่นในปี 2016 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้มันสามารถย่อยสลายพลาสติกได้
พลาสติกเป็นสิ่งที่ไม่ย่อยสลายตามธรรมชาติ และการค้นพบแบคทีเรียที่กินพลาสติกในปี 2016 กลายเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ยกย่องมาก เพราะมันจะกลายเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ยอดเยี่ยมและถูกนำไปใช้ต่อๆ ไป
ในขณะที่พยายามยืนยันการอ้างสิทธิ์เหล่านี้ศาสตราจารย์ John McGeehan นักชีววิทยาจาก University of Portsmouth และเพื่อนร่วมงานของเขาบังเอิญสร้างเอนไซม์ที่กัดกินพลาสติกโดยบังเอิญ จนต่อยอดกลายเป็นเอนไซม์ที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้
เจ้าสสารตัวนี้ถูกขนานนามว่า PETase มันมีความสามารถในการย่อยสลายพลาสติก PET (Polyethylene Terephthalate หรือพลาสติกที่ถูกนำมาใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ต่างๆ) เอนไซม์ตัวนี้จะเข้าไปเร่งปฏิกิริยาในการย่อยสลายในพลาสติกที่ปกติแล้วจะใช้เวลาหลายร้อยปี
การปรับแต่งเอนไซม์ที่ผลิตตามธรรมชาตินี้ทำให้ทีมวิจัยสามารถผลิตสิ่งที่มีความสามารถในการย่อยสลายพลาสติกได้ดีกว่าสิ่งที่พบตามธรรมชาติ
นักวิทยาศาสตร์แนะนำให้นำสสารใหม่นี้เข้ามาช่วยรีไซเคิลขวดพลาสติกจำนวนหลายล้านตันด้วยการทำลายขวดพลาสติกลงเป็นชิ้นๆ
ระหว่างที่มีการตรวจสอบโครงสร้างของเอนไซม์ตัวนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามปรับแต่งส่วนที่คิดว่าเกี่ยวข้องกับการย่อยพลาสติกไปด้วย
การทำเช่นนี้จะช่วยย่อยสลายพลาสติก PET และพลาสติก PEF (เส้นใยพลาสติกที่เกิดจากการย่อยสลาย PET อีกที) ได้ง่ายขึ้น
การได้เห็นโครงสร้างการทำงานของเอนไซม์เหล่านี้จากภายใน จะยิ่งช่วยให้นักวิจัยมองเห็นภาพรวมในการพัฒนาพิมพ์เขียวสำหรับเอนไซม์มากขึ้น และมันก็จะยิ่งง่ายในการพัฒนาและสร้างมันในครั้งต่อๆ ไป
แต่ก็มีนักวิทยาศาสตร์อีกหลายคนมองว่าการวิจัยครั้งนี้ต้องใช้เวลาอีกนานกว่าที่จะนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงและแพร่หลาย
ที่มา independent , theguardian
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.