การออกกำลังกายถือเป็นสิ่งที่กำลังนิยมกันในปัจจุบันยุคที่ผู้คนหันมาสนใจเรื่องสุขภาพและรูปร่างกันมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายก็ได้ออกมาเผยถึงวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้องกันมากมาย
แนวทางการออกกำลังกายจึงมีออกมาให้เห็นเยอะแยะไปหมด บางคนก็บอกว่าควรออกกำลังกายตอนเช้า บางคนก็บอกว่าควรออกตอนเย็น อ้าว… สรุปแล้วจะเชื่อใครดีล่ะเนี่ย?
เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน เพื่อให้เข้าใจตรงกัน วันนี้เราจึงขอเสนอ 12 ความเชื่อผิดๆ ของการออกกำลังกายที่อาจทำให้คุณเสียสุขภาพได้ เราอย่ารอช้า ไปดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง…
1. ออกกำลังกาย ถ้าจะให้ดีก็ต้องตอนเช้าสิ!!
ไม่เสมอไปครับ เวลาการออกกำลังกายที่ดีที่สุดคุณเวลาไหนก็ได้ที่คุณพร้อม คุณจะพร้อมออกกำลังกายตอนเช้าหรือตอนเย็นนั่นไม่สำคัญเลย สิ่งสำคัญก็คือ ความสม่ำเสมอ ต่างหาก เพราะมีงานวิจัยออกมาแล้วว่าการออกกำลังกายตอนเช้ากับตอนเย็น ไม่ได้มีความแตกต่างกันเลย
2. การบริหารสมองที่ดี ก็คือการเล่นเกมปริศนาต่างๆ
ไม่จริงเสมอไปอีกนั่นแหละ เพราะว่าการออกกำลังกายทางร่างกายเองก็สามารถบริหารร่างกายไปพร้อมกับสมองได้ด้วยเช่นกัน การออกกำลังกายที่ทำให้ เลือดไหลเวียนเร็วขึ้นย่อมดีกว่า การเล่นเกมปริศนาหลายๆ ชั่วโมง อีกอย่าง การศึกษาพบว่า การเล่นกีฬานั้นทำให้มีอารมณ์ที่ดี มีความจำดี และป้องกันสมองเสื่อม
3. พักการออกกำลังกายสัก 2-3 สัปดาห์ รูปร่างก็ยังคงเหมือนเดิม
แต่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น คนส่วนใหญ่สูญเสียมัดกล้ามไปหลังจากพักการออกกำลังกายเพียงแค่ 1 สัปดาห์ ฉะนั้น หากคุณมีรูปร่างที่ดีจากการออกกำลังกายแล้ว ควรทำต่อไปอย่างสม่ำเสมอ
4. ถ้าจะให้ดีต้องวิ่งมาราธอนหรือวิ่งไกลๆ เท่านั้น
ไม่จริง การวิ่งมาราธอนหรือวิ่งระยะไกลไม่ใช่หนทางที่ดีที่สุด ผู้ที่ชื่นชอบการวิ่งระยะสั้นก็จะมีสภาวะการเต้นของหัวใจเหมือนกับพวกที่ชอบวิ่งระยะไกล ยิ่งไปกว่านั้น การออกกำลังกายเบาๆ เช่น วิ่งจ็อกกิงหรือเดิน จะส่งผลดีต่อร่างกายมากกว่า เพราะหัวใจและหลอดเลือดนั้นสามารถปรับตัวให้เข้ากับการออกกำลังกายของคุณได้
5. เครื่องดื่มชูกำลังเป็นตัวช่วยให้คุณไม่ขาดน้ำขณะออกกำลังกาย
ผิด เครื่องดื่มชูกำลังนั้นไม่มีอะไรเลยนอกจากน้ำตาลผสมน้ำ ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านแนะนำให้ดื่มน้ำเปล่าแทน พร้อมทดแทนพลังงานที่เสียไปด้วยอาหารจำพวกโปรตีนจะดีกว่า
6. วิ่งบนลู่วิ่งต้องดีกว่าวิ่งบนพื้นอยู่แล้วสิ!
ไม่จริง การวิ่งท่ามกลางอากาศบริสุทธิ์กับการวิ่งบนลู่วิ่งนั้นไม่เหมือนกันแม้ว่าจะวิ่งในระยะทางที่เท่ากันก็ตาม เพราะการวิ่งรับลมนั้นทำให้กล้ามเนื้อกลุ่มต่างๆ ทำงานได้ดี และเผาผลาญแคลอรีได้มากกว่าวิ่งบนลู่วิ่งถึง 10 เปอร์เซ็นต์
7. ยิ่งออกกำลังกายหนักก็ยิ่งอยากกินมากขึ้น
ผิด! หากคุณเกิดหิวหลังออกกำลังกาย แสดงว่ามีบางอย่างผิดปกติ เพราะที่จริงแล้ว การออกกำลังกายควรจะเป็นสิ่งที่ยับยั้งความหิวเอาไว้ มันเป็นเรื่องของฮอร์โมน ขณะออกกำลังกาย ฮอร์โมนความหิว (Ghrelin) จะผลิตขึ้นช้าลง แต่ฮอร์โมนความอิ่ม (Leptin) จะมีมากขึ้นแทน
8. ทานโปรตีนบาร์เพื่อทดแทนธัญญาหาร
บางคนอาจคิดว่าแทนกันได้ แต่ที่จริงแล้วแท่งธัญญาหาร หรือโปรตีนบาร์ต่างๆ นั้นเป็นอาหารแปรรูป มันใช้พลังงานแคลอรีเพียงเล็กน้อยเพื่อย่อย บาร์ต่างๆ ควรทานเป็นของว่างหรือขนม ซึ่งไม่สามารถนำมาทานแทนพวกข้าวโอ๊ตหรือธัญญาหารต่างๆ ที่มาจากธรรมชาติได้
9. แคลเซียมมีในนมเท่านั้น
จริง แต่มันล้าสมัยเกินไป แถมไม่ได้ดีต่อสุขภาพอย่างที่เราเชื่อกัน ปัจจุบันนี้อาหารชนิดอื่นที่มีแคลเซียมสูงนั้นมีมากมายก่ายกอง เช่น บรอกโคลี งา และผักโขม ซึ่งสามารถให้แคลเซียมได้มาก ทดแทนการดื่มนมได้เป็นอย่างดี
10. การทำโยคะจะช่วยให้หายปวดหลัง
ไม่จริง โยคะไม่สามารถรักษาอาการปวดหลังได้ เว้นแต่อาการปวดนั้นมาจากกล้ามเนื้อ การยืดกล้ามเนื้อแบบโยคะก็อาจสามารถช่วยได้ แต่หากว่าคุณเกิดอาการปวดหลังอย่างหนัก เช่น ปวดจากการเป็นไส้เลื่อนหรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท การทำโยคะจะทำให้ร่างกายของคุณยิ่งแย่ ฉะนั้น ไปพบแพทย์จะดีกว่า
11. การวิ่งจะทำลายหัวเข่าและข้อเท้า
อาจจะคิดกันไปเองมากกว่า เพราะปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานยืนยันได้ว่าการวิ่งจะทำอันตรายให้กับขาได้ งานวิจัยล่าสุดพบว่าการวิ่งไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อขาแต่อย่างใด กลับทำให้ขาของคุณแข็งแรงและไม่บาดเจ็บได้ง่ายอีกต่างหาก
12. ยิ่งออกกำลังกายนาน ยิ่งได้ผลดี
แพทย์บอกว่า สิ่งสำคัญในการออกกำลังกายก็คือ ห้ามหักโหม ต่อให้คุณอยากมีหุ่นเป๊ะรวดเร็วเพียงใดก็ตาม ร่างกายของคุณจะรับภาระหนักเกินไปหากต้องออกกำลังกายทุกๆ วัน ร่างกายต้องการการพักผ่อนที่เหมาะสม แล้วขณะออกกำลังกายก็ควรเปลี่ยนท่าเพื่อบริหารกล้ามเนื้อหลายๆ ส่วน
เอาล่ะทีนี้ก็เข้าใจกันหมดแล้วเนอะ #เหมียวโลลิ เองก็สนับสนุนให้ทุกคนลุกขึ้นมาออกกำลังกายกันเพื่อสุขภาพที่ดีนะจ๊ะ
ที่มา: Brightside
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.