‘ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเลือก’ หนึ่งในประโยคที่ใช้กับการเลือกที่จะใช้ เลือกที่จะซื้อ หรือเลือกที่จะกระทำบางสิ่ง และสำหรับนักวิทยาศาสตร์วัย 104 ปี David Goodall เขารู้สึกว่าใช้ชีวิตมามากเกินพอแล้ว และเขาก็เลือกที่จะตาย (ข่าวเก่า)
จากที่ทางแคมดัมบ์ได้รายงานไปก่อนหน้านี้ ศาสตราจารย์ David Goodall ได้เดินทางมาถึงประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
และในวันที่ 10 พฤษภาคม 2018 ตามเวลาท้องถิ่นสวิตเซอร์แลนด์ 10.00 น. หรือ 15.00 น. ตามเวลาประเทศไทย คือเวลาที่เขาจะดับนาฬิกาชีวิตของตัวเองลง
ศาสตราจารย์แถลงต่อหน้าสื่อต่างๆ ไว้ว่า ในวาระก่อนจะยุติชีวิตนี้ จะไม่มีอาหารมื้อสุดท้าย ไม่มีความลังเลใดๆ และขอเพียงบรรเลงเพลงซิมโฟนีหมายเลข 9 ของบีโธเฟนเป็นการปิดฉากชีวิต
ก่อนหน้านั้นศาสตราจารย์ Goodall ได้ออกมาเยี่ยมชมสวนพฤกษศาสตร์ของมหาวิทยาลัยบาเซิล พร้อมกับลูกหลานที่เดินทางติดตามมาด้วย เพื่อร่วมเป็นสักขีพยานในวาระสุดท้ายของชีวิต
.
Daniel Goodall วัย 30 ปีกล่าวกับสื่อว่า “ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างมาก ที่ได้มาร่วมอยู่ตรงนี้ ที่ที่คุณปู่ของผมจะจากไปอย่างสงบ…
เขาเป็นคนที่กล้าหาญ และผมก็รู้สึกยินดีที่เขาตัดสินใจอย่างแน่วแน่ เพราะเขาประสงค์ที่จะจบชีวิตของตนเอง แต่น่าละอายตรงที่ไม่สามารถทำได้ที่บ้านเกิดของตัวเอง”
.
นอกจากลูกหลานที่ติดตามมาจากบ้านเกิดแล้ว ก็ยังมีลูกหลานที่อยู่ต่างประเทศตามมาด้วยทั้งจากฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา เพื่อมาร่วมส่งคุณปู่ David เป็นครั้งสุดท้าย
.
ทางด้าน Duncan Goodall วัย 36 ปี กล่าวว่าเขาจะอยู่เคียงข้างคุณปู่เสมอ เมื่อถึงวาระสุดท้ายในชีวิตของเขาภายในห้องการุณฆาต
“ผมคิดว่าสิ่งที่เขาทำนั้นคือความกล้าหาญอย่างมาก คุณปู่เลือกที่จะใช้เหตุผลในการตัดสินใจ และไม่ใช้ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้องเลย…
เขาอยากตาย และอยากตายในแบบที่เขากำหนด ซึ่งในความเป็นจริงแล้วสิ่งที่เขาทำคือ การแสดงต่อสาธารณะว่าเขากล้าหาญมากแค่ไหน…
มันคงจะเป็นเรื่องที่ยากต่อการทำใจยอมรับ และผมไม่รู้ว่าจะรู้สึกยังไงเมื่อเวลานั้นมาถึง”
ในงานแถลงข่าวครั้งล่าสุดเกี่ยวกับการการุณยฆาตของศาสตราจารย์ Goodall เขาพูดต่อหน้าสื่อในเมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตอบคำถามที่ว่า ‘ถ้าหากมีช่วงจังหวะที่ลังเลเกิดขึ้น’ จะทำอย่างไร…
ศาสตราจารย์ไม่ลังเล เขาตอบกลับทันทีว่า “ไม่มีทางเด็ดขาด ผมไม่ได้ปรารถนาที่จะมีชีวิตต่อ และผมรู้สึกแฮปปี้ดีที่มีโอกาสจะได้ยุติชีวิตตัวเองเอาไว้เท่านี้”
ศาสตราจารย์ Goodall เกษียณอายุการทำงานในวัย 102 กลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ ที่มีอายุการทำงานที่มากที่สุดในวงการวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน ซึ่งเขาก็หวังว่าการตัดสินใจในครั้งนี้จะช่วยทำเปลี่ยนกฎหมายการุณยฆาตในประเทศออสเตรเลียได้บ้าง
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.