ก่อนอื่นเลยเรามาทำความเข้าใจกับคำว่าโรคจิตกันก่อน เพราะหลายๆ คนได้ยินคำว่าโรคจิต ก็คงจะคิดถึงฆาตรกรที่อยู่ในหนัง
แต่จริงๆ แล้วโรคจิตมีหลายประเภท คนเป็นโรคหวาดระแวง หรือย้ำคิดย้ำทำก็จัดเป็นโรคจิตแบบหนึ่งได้ ดังนั้นถ้าจะให้พูดจริงๆ พวกเขาก็เหมือนคนปกติแบบเรานี่แหละ เพียงแค่มีกระบวนการความคิดบางอย่างต่างจากเราแค่นั้นเอง
อ้างอิงข้อมูลจากนักจิตวิทยาชาวอังกฤษ Kevin Dutton ซึ่งเขียนหนังสือที่ชื่อว่า The Wisdom of Psychopaths ภายในนั้นมีข้อมูลของอาชีพต่างๆ ที่มีคนเข้าข่ายมีอาการทางจิต ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม
สามารถจัดอันดับอาชีพเหล่านั้นได้ดังนี้…
อันดับที่ 10 ข้าราชการ
เปิดมาข้อแรกก็ไม่น่าเชื่อแล้วใช่ไหมล่ะ แต่เชื่อไหมล่ะว่าในปี 2014 รัฐบาลอังกฤษเองยังมีการพิจารณารับคนที่มีแนวโน้มดังกล่าวมาทำงานในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยเลยด้วย เพราะว่าตามปกติแล้วคนเหล่านี้มักจะรับมือกับวิกฤตการณ์ได้ดี
พวกเขาสามารถตัดสินอะไรได้เป็นกลางกว่าคนทั่วไป เพราะใช้หลักเหตุผลในการตัดสินไม่ใช่หลักอารมณ์ความรู้สึก แถมยังมีแนวโน้มที่จะฉลาดและมีเหตุมีผลกว่าคนทั่วไปอีกด้วย
อันดับที่ 9 กุ๊ก
คนโรคจิตมีแนวโน้มที่จะรับมือกับความวุ่นวายได้ดี ดังนั้นนี่จึงอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่พวกเขาทำงานในห้องครัวที่ต้องทำอะไรหลายๆ อย่างได้ดี
และส่วนมาก อาการทางจิต ไม่ได้หมายถึงฆาตกร คนเหล่านี้ที่จริงจะไม่มีความคิดเกี่ยวกับการฆ่าคนเลย ดังนั้นจึงสามารถทำงานกับมีดได้โดยไม่มีปัญหาอะไรผิดกับความเชื่อฝังหัวของคนส่วนมาก
อันดับที่ 8 งานศาสนา
Joe Navarro ตำรวจเอฟบีไอ อธิบายว่าเหตุผลที่คนมีอาการทางจิตมักจะทำงานเกี่ยวกับศาสนาได้ดีนั้น เป็นเพราะในความคิดของพวกเขาแล้ว องค์กรทางศาสนาสามารถใช้เป็นเครื่องมือในขอความร่วมมือจากคนอื่นๆ ได้ง่าย ในขณะที่ยังให้ความชอบธรรมกับการกระทำหลายอย่างของพวกเขา
อีกทั้งงานรูปแบบนี้ยังช่วยให้พวกเขาสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของคนที่ทำงานให้พวกเขาได้ง่ายด้วยนั่นเอง
อันดับที่ 7 เจ้าหน้าที่ตำรวจ
ผู้มีอาการทางจิตไม่จำเป็นต้องมีแรงจูงใจซ่อนเร้นเสมอไป และด้วยลักษณ์จำเพาะของพวกเขา คนแบบนี้จะสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่เลวร้ายได้ดี
ดังนั้นพวกเขาจึงเหมาะสมเป็นอย่างมากกับงานที่ต้องพบกับอันตรายอยู่บ่อยๆ ซึ่งแน่นอนว่าตำรวจคือหนึ่งในนั้น
อันดับที่ 6 นักข่าว
Kevin Dutton บอกว่าพวกเขาคือกลุ่มคนที่มีเสน่ห์ มุ่งมั่น มีสติ ขวานผ่าซาก ไม่ปรานี และเน้นการกระทำ ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบสำหรับคนที่ทำงานนักข่าวเลยก็ว่าได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณมีกำหนดเวลาที่เข้มงวด และต้องได้รับคำตอบจากแหล่งข้อมูลในเวลาที่กำหนด
อันดับที่ 5 ศัลยแพทย์
จากงานวิจัยของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งอังกฤษพบว่าที่ปรึกษาด้านการสอนของโรงพยาบาลมีคะแนนบุคลิกภาพความเป็นโรคจิตมากกว่าประชากรทั่วไปมาก
โดยเหตุผลที่เป็นไปได้คือ ในปัจจุบันภูมิคุ้มกันความเครียดกลายเป็น ลักษณะบุคลิกภาพที่สำคัญของแพทย์ไปแล้ว
ดังนั้นบุคคลที่ใช้ชีวิตกับความเครียดได้ดีอย่างคนมีอาการทางจิตจึงมีโอกาศประสบความสำเร็จในอาชีพแพทย์มากกว่านั่นเอง
อันดับที่ 4 พนักงานขาย
โรคจิตที่เหมาะสมกับงานประเภทนี้ มักจะมีลักษณะที่ กล้าพอที่จะโอ้อวดตัวเอง กล้าที่จะหาข้อมูลติดต่อของคนอื่นๆ สามารถทำทุกอย่างเพื่อให้ได้เงินมากที่สุด แต่มักไม่สามารถทำงานเป็นทีมได้ ซึ่งแล้วแต่วิธีการทำงานของบริษัท
คนแบบนี้อาจจะเป็นได้ทั้งเพื่อนร่วมงานที่ดีที่สุด หรือศัตรูที่เลวร้ายที่สุดได้เลย
อันดับที่ 3 บุคคลในสื่อโทรทัศน์หรือวิทยุ
โรคจิตบางคนจะมีความภูมิใจในตัวเองสูง ซึ่งเป็นข้อดีที่มีประโยชน์กับงานที่ต้องเป็นที่สนใจจากสาธารณชนเป็นอย่างมาก แถมงานจำพวกนี้ยังต้องมีการเผชิญกับความกดดันที่สูงอีกด้วย
ซึ่งก็อย่างที่บอกไว้ในข้อก่อนๆ ว่านั่นล่ะที่เป็นสิ่งที่คนประเภทนี้มักจะถนัดเลย
อันดับที่ 2 ทนายความ
ทนายความนั้นเป็นงานที่มีอัตราความเครียด และความกดดันสูง ดังนั้นคนที่มีความมั่นใจในตัวเองสูง เลือดเย็น และเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์หลอกลวง(ในบางครั้ง) จึงเหมาะสมเป็นอย่างมากกับงานแบบนี้
พวกเขาสามารถยืนยันที่จะต่อสู้เพื่อลูกความได้ โดยที่รู้ว่าลูกค้าของตัวเองมีความผิด และบางครั้งก็เก่งพอที่จะว่าความให้คนเหล่านั้นพ้นผิดได้เลยทีเดียว
อันดับที่ 1 นักธุรกิจและผู้บริหารระดับซีอีโอ
ภูมิคุ้มกันต่อความวุ่นวายของคนโรคจิตนั้น ไม่ได้หมายความเพียงแค่ว่าพวกเขาสามารถสงบได้แม้อยู่ภายใต้ความเครียดเท่านั้น
แต่บางครั้งพวกเขานั้นก็มีความสามารถมากพอที่จะสร้างความความวุ่นวายขึ้นมาเองเพื่อให้ตัวเองดูดีเลยทีเดียว ซึ่งนั่นทำให้บางครั้งคนโรคจิตสามารถไต่บันไดขึ้นสู่ความสำเร็จได้อย่างง่ายดาย
แต่ก็ใช่ว่าคนโรคจิตทุกคนจะเป็นแบบนั้น เพราะโดยปกติแล้ว เพียงแค่ความสามารถในการทำงานที่พวกเขามี บวกกับลักษณะการคิดที่ไม่เหมือนใครของพวกเขา มันก็มากพอแล้วที่จะทำให้พวกเขาได้รับหน้าที่ผู้นำที่ต้องรับกับความกดดัน และต้องความรับผิดชอบสูงแล้ว
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.