นี่อาจเป็นผลสำรวจที่ชวนให้ตกใจอยู่ไม่น้อย เพราะเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเว็บไซต์ Japantimes ได้เปิดเผยผลสำรวจว่าหญิงสาวที่ทำงานในวงการสื่อจำนวนมากถูกล่วงละเมิดทางเพศมากกว่า 1 ครั้ง โดยผู้ที่ผู้ล่วงละเมิดทางเพศส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ตำรวจ และทนายความ
ตามการสำรวจโดยกลุ่มสมาชิกของสื่อมวลชนและผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงทางเพศ พบว่าคนในแวดวงสื่อกว่า 102 คนเคยผ่านประสบการณ์การถูกล่วงละเมิดทางเพศ และเกือบทั้งหมดของพวกเขายอมรับว่าโดนล่วงละเมิดมากกว่า 1 ครั้งด้วย
การสำรวจนี้เกิดขึ้นหลังจากที่มีกระแสข่าวการเปิดโปงอดีตข้าราชการระดับสูงของกระทรวงการคลังที่มีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศกับนักข่าวหญิงที่มาขอสัมภาษณ์
ทำให้คนในวงการสื่อมวลชนตื่นตัวและทำการสำรวจว่าคนที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศนั้นมีจำนวนเท่าไหร่ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งผลสำรวจถูกเปิดเผยออกมาเมื่อวันพฤหัสที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยเหยื่อส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในบริษัทหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และนิตยสาร
ในบรรดาผู้ที่เคยถูกล่วงละเมิดทางเพศพบว่า
51 คนเคยถูกล่วงละเมิดทางเพศมากกว่า 10 ครั้ง
47 คนบอกว่าพวกเขาตกเป้าหมายมากกว่าหนึ่งครั้งแต่น้อยกว่า 10 ครั้ง
ช่วงอายุผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศอยู่ที่ 20 ปี กว่า 91 คน และ 30 ปี ถึง 29 คน ส่วนผู้ที่กระทำการล่วงละเมิดทางเพศนั้น มีผู้ตอบแบบสอบถาม 74 คนบอกว่าเป็นบุคคลที่เหล่าสื่อมวลชนต้องเข้าพบระหว่างสัมภาษณ์หรือติดต่อทางธุรกิจ 44 คนบอกว่าถูกล่วงละเมิดทางเพศโดยเจ้านาย และมี 35 คนบอกว่าเป็นรุ่นพี่ในที่ทำงาน
ผู้สื่อข่าวสาวรายหนึ่งเขียนอีเมลแบบไม่เปิดเผยตัวตนถึง Japan Times บอกว่าครั้งหนึ่งเธอเคยถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจลวนลาม
“รุ่นพี่ที่ทำงานฉันชวนไปดื่มกับตำรวจที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการทำงานของเรามาเป็นเวลานาน ตอนกลับฉันถูกขอให้ไปส่งตำรวจคนนั้น ระหว่างทางเขาผลักฉันเข้าไปในซอยเปลี่ยวแล้วจูบฉันที่ปากและคอ”
นักข่าวสาววัย 30 กว่าอีกรายหนึ่งได้ให้ข้อมูลว่า
“ฉันได้รับคำแนะนำจากรุ่นพี่ที่ทำงานว่าฉันควรจองห้องส่วนตัวที่ร้านอาหารเมื่อออกไปดื่มกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฉันก็ทำตามที่เขาแนะนำเพราะฉันยังเป็นนักข่าวน้องใหม่
ครั้งหนึ่งฉันเข้าไปในห้องส่วนตัวที่ร้านอาหาร เขาก็เริ่มจูบฉันและจับหน้าอกฉัน”
มีผู้ตอบแบบสอบถาม 37 คน บอกว่าหลังจากที่พวกเขาถูกล่วงละเมิดทางเพศแล้วได้มีการนำเรื่องนี้ไปปรึกษากับคนอื่น
แต่นอกเหนือจากนั้นยอมรับว่าพวกเขาแทบไม่ปริปากบอกใครเลย เนื่องจากกลัวว่าจะเกิด “ความลำบากใจ” และเพราะพวกเขาไม่ได้คาดหวังว่าเรื่องเหล่านี้จะถูกแก้ไขอย่างถูกต้อง
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.