จากบทความที่แล้ว #เหมียวหง่าว ได้เสนอข้อมูลเกี่ยวกับ ‘โครงสร้างราคาน้ำมัน ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาของน้ำมันที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้’ ไปแล้ว
ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงส่วนของ ‘รายได้ของบริษัทปตท.’ กันบ้าง ว่าถ้าหากเราทำร่วมมือกันบอยคอต ไม่เติมจากปั๊มน้ำมันของ ปตท. จะส่งผลกระทบถึงรายได้ของบริษัทหรือไม่อย่างไร ถ้าพร้อมแล้วลองไปชมพร้อมๆ กันครับ
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าบริษัทในเครือของบริษัท ปตท. นั้นมีเยอะมาก โดยแบ่งออกเป็นสายหลักๆ 3 สายได้แก่ กลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและบริหารความยั่งยืน, กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ, และกลุ่มปิโตรเลียมขั้นปลาย
และที่เราจะต้องพูดถึงก็คือในส่วนของ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้น และธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย เป็นหลัก
ภาพโครงสร้างเครือธุรกิจของ ปตท.
ธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้น
ในส่วนนี้จะทำธุรกิจเกี่ยวกับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ซึ่งจะทำการซื้อสัมปทานในการค้นหาแหล่งน้ำมันเพื่อขุดเจาะออกมาจำหน่าย รวมไปถึงจัดหาและจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ
ธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย
ในส่วนนี้จะทำธุรกิจเกี่ยวกับโรงกลั่น ปิโตรเคมี และขายพลังงาน คือการนำน้ำมันดิบที่ขุดได้มากลั่นลำเป็นลำดับส่วน และนำไปแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
และส่วนสุดท้ายที่เป็นส่วนที่หลายๆ คนกำลังให้ความสนใจก็คือการขายพลังงาน ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสองส่วน คือการขายพลังงานให้กับภาคธุรกิจด้วยกัน เช่น หน่วยงานราชการ ตลาดต่างประเทศ หรือ ‘ปั๊มน้ำมันอื่น’ และอีกส่วนก็คือการขายพลังงานให้กับผู้บริโภคโดยตรงผ่านหน้าปั๊มนั่นเอง
จากข้อมูลของเว็บไซต์ ลงทุนศาสตร์ จะทำให้ทราบว่า ถ้าเทียบสัดส่วนเฉพาะธุรกิจการค้าปลีกของปั๊มปตท. แล้วก็จะทำให้ทราบว่าจริงๆ แล้วกำไรของบริษัทปตท. นั้นเป็นอะไรที่น้อยมากๆ
จากข้อมูลระบุว่าในปี 2560 ปตท. มีกำไรจากการค้าปลีกน้ำมันสุทธิอยู่ที่ 1,832.46 ล้านบาท
และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับกำไรทั้งหมดของเครือ ปตท. ในปี 2560 อยู่ที่ 135,179.60 ล้านบาท
จึงสรุปสัดส่วนจากกำไรขายปลีกเทียบกับกำไรทั้งหมดได้ 1.35% เท่านั้น!!
รวมไปถึงการที่ปตท. เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของโรงกลั่นน้ำมันในประเทศแทบทั้งหมด ซึ่งโรงกลั่นที่ว่ามานี้มีกำลังผลิตในประเทศถึง 70% (อีก 30% คือการนำเข้า) ฉะนั้น ต่อให้เราซื้อน้ำมันจากที่ปั๊มอื่น เงินก็ยังคงไปเข้ากระเป๋าของปตท.อยู่ดี
หรือต่อให้เราบอยคอตไม่ใช้น้ำมัน จนบริษัทปตท. ขาดผลกำไรในเรื่องของการขายน้ำมันไป ก็เสียหายแค่ 1.35% เท่านั้น
แต่ก็อย่าลืมว่าผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดในบริษัท ปตท. ก็คือ ‘กระทรวงการคลัง’ ที่ 51.11% นั่นเท่ากับว่าเมื่อ ปตท. เจ๊ง ก็เท่ากับว่าคนที่ได้รับผลกระทบก็คือประชาชนอย่างเราๆ นี่แหละ!!
เพราะกำไรที่ได้จากการทำธุรกิจน้ำมันหารายได้เข้าประเทศจะหายไปเกือบ 70,000 ล้านบาทต่อปีเลยทีเดียวเชียว!! (คิดเอาง่ายๆ แบบบ้านๆ จากกำไร 130,000 ล้านบาทนั่นเอง)
ทีนี้รู้หรือยังว่าใครคือเจ้าของ ปตท. ที่แท้จริง!?
ที่มา : drama-addict, ลงทุนศาสตร์,มติชน
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.