นับตั้งแต่วันที่มนุษย์เราปล่อย Sputnik 1 ดาวเทียมดวงแรกขึ้นไปบนอวกาศ กาลเวลาก็ได้ผ่านไปว่า 60 ปีแล้ว ในช่วงเวลาที่ว่านี้เองมนุษย์เราก็ได้ส่งทั้งกระสวยอวกาศ สุนัข และมนุษย์มากมายขึ้นไปท่องบนพื้นที่อันกว้างใหญ่เหล่านั้น
ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่เราจะสามารถเก็บภาพที่ไม่เคยเห็นมาก่อนของอวกาศ และกลายเป็นสัญญาณที่ดีที่บอกว่ามนุษย์เรานั้นพัฒนาไปมากเพียงไหนเลยก็ว่าได้
ภาพของอีกฝั่งของดวงจันทร์ โดยที่มีโลกเป็นพื้นหลัง
เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะรู้อยู่แล้วว่าด้วยการหมุนของดวงจันทร์จะทำให้เรามองเห็นดวงจันทร์เพียงแค่ด้านเดียวเท่านั้น ดังนั้นนี่จึงนับว่าเป็นอีกมุมหนึ่งของดวงจันทร์ที่เราไม่ได้เห็นกันบ่อยๆ เลยก็ว่าได้
วิวัฒนาการของภาพดาวพลูโต
ในปี 2006 เหล่านักดาราศาสตร์ได้ถอดดาวดวงนี้ออกจากการเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบสุริยะก็จริงอยู่ แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้การเก็บข้อมูลของดาวดวงนี้ลดลงเลย
กลับกันด้วยความพัฒนาทางเทคโนโลยีกล้องโทรทรรศน์ในหลายๆ ปีที่ผ่านมา ตอนนี้เราก็ได้มองภาพของดาวพลูโตแบบชัดๆ อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเสียที
The Bubble Nebula
นี่คือภาพของ Bubble Nebula ที่ห่างออกไปราวๆ 7,100 ปีแสงจากโลก และมีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ที่ 7 ปีแสง
เนบิวลานี้ถูกค้นพบในปี 1787 โดย William Herschel แต่กว่าจะได้ภาพที่ชัดเจนขนาดนี้ก็เพิ่งในปี 2016 ที่ผ่านมานี้เอง
ภาพของ ISS ที่เคลื่อนที่ผ่านดวงจันทร์
สถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station) หรือ ISS ถูกปล่อยขึ้นไปในอวกาศในปี 1998 ด้วยการลงทุนรวมราวๆ 4.8 ล้านล้านบาท
ในปัจจุบัน ISS กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 27,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อยู่เหนือพื้นโลกไปราวๆ 400 กิโลเมตร
Curiosity ถ่ายภาพของตัวเองบนพื้นผิวดาวอังคาร
Curiosity คือชื่อเล่นของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ดาวอังคาร (Mars Science Laboratory) ที่ออกสำรวจดาวอังคารในปี 2012
และเพราะเจ้า Curiosity นี่เองเหล่านักวิทยาศาสตร์จึงได้พบว่าระดับกัมมันตภาพรังสีบนดาวอังคารนั้นมากกว่าพื้นที่นิวเคลียร์ถึง 300 เท่าเลยทีเดียว
ภาพแรกที่ Neil Armstrong ถ่ายบนดวงจันทร์
ในวันที่ 21 กรกฎาคม 1969 Neil Armstrong ได้เป็นมนุษย์คนแรกที่เดินลงไปเหยียบบนดวงจันทร์ และนั่นก็กลายเป็นก้าวแรกของยุคการบุกเบิกอวกาศเลยก็ว่าได้
และเผื่อว่าจะสงสัยกัน เจ้าถุงขาวๆ ที่เห็นนั้นคือถุงขยะนั่นเอง
ภาพสุดท้ายของดาวเสาร์จากดาวเทียมสำรวจ Cassini
ตลอดเกือบ 20 ปีในการทำงานของมัน Cassini ก็ได้ให้ข้อมูลของดาวเสาร์มากมายแก่มนุษยชาติ จนกระทั่งในวันที่ 15 กันยายน 2017 ดาวเทียมสำรวจ Cassini ก็ได้เข้าสู่ชั้นบรรยากาศของดาวเสาร์ ก่อนจะหายสาบสูญไป และนี่ก็เป็นภาพสุดท้ายที่มันทำการส่งกลับมาให้เหล่านักวิทยาศาสตร์นั่นเอง
ภาพใหม่ล่าสุดของดาวพฤหัส
ถ่ายเมื่อเดือนพฤษภาคม 2018 โดยดาวเทียมสำรวจ Juno โดยเจ้าจุดสีส้มๆ ที่เห็นนั้น เกิดจากพายุขนาดใหญ่ที่ไม่เคยสงบลงบนพื้นผิวของดาวนั่นเอง
ที่มา brightside
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.