พบซาก “วานรที่สูญพันธุ์ไปแล้ว” ในสุสานจีนโบราณ นักวิทย์เชื่อนี่คือสายพันธุ์ใหม่ของโลก!!

ดูเหมือนว่าวัฒนธรรมการฝังศพของชาวจีนโบราณนั้น มักจะมีการฝังเอาสิ่งของของผู้ตายลงไปไว้ด้วย ดังนั้นบ่อยครั้งที่เราจะสามารถพบกับหลักฐานของการใช้ชีวิตในแต่ละยุคได้จากสุสานเหล่านั้น

เพียงแต่ล่าสุดนี้เอง สิ่งที่เหล่านักโบราณคดีได้ขุดค้นสุสานจีนโบราณ และสิ่งที่พวกเขาพบกลับไม่ใช่แค่สิ่งของเครื่องใช้ในสมัยนั้น แต่ยังมีซากของวานรสายพันธุ์ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนถูกฝังอยู่ด้วย

 

 

นี่เป็นกระดูกของชะนีสายพันธุ์ที่สูญพันธุ์ไปเป็นเวลานานแล้ว ถูกค้นพบในสุสานจีนโบราณอายุกว่า 2,200 ปีในเมืองฉางอาน เมืองหลวงเก่าของประเทศจีน

ดูเหมือนว่าในสมัยนั้นชะนีจะถูกจัดว่าเป็นสัตว์ชั้นสูง และมักมีการเลี้ยงโดยผู้คนที่มีฐานะ โดยซากของชะนีที่มีการค้นพบนั้น เชื่อว่าเป็นสัตว์เลี้ยงขององค์หญิงแห่งราชวงศ์เซี่ย พระอัยยิกา (ยาย) ของจิ๋นซีฮ่องเต้

ซากชะนีที่ว่านี้ ได้รับการตั้งชื่อจากทางนักวิทยาศาสตร์ว่า Junzi Imperialis และพวกเขาบอกว่าการค้นพบครั้งนี้นับเป็นสิ่งสำคัญมากๆ อันหนึ่งเลยเนื่องจากในปัจจุบันมีประชากรชะนีเหลืออยู่ในพื้นที่ไม่มากแล้ว

 

ชะนีจำนวนมากกำลังถูกคุกคามจากการสูญพันธุ์

 

Dr Samuel Turvey นักชีววิทยาจากสมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอนกล่าวว่า “มันเป็นชะนีที่ต่างไปจากชะนีในปัจจุบันมาก”

ทั้งรูปแบบของกระโหลกและขากรรไกรของชะนีที่พบนั้น แตกต่างจากของสายพันธุ์ชะนีที่ยังมีอยู่ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง จะเรียกว่าเป็นการค้นพบของสายพันธุ์ใหม่ที่สูญพันธุ์ไปแล้วก็ไม่ผิดนัก

แม้ว่าจะมีเพียงแค่กระดูกของชะนีเท่านั้นที่เหลืออยู่แต่ทางนักโบราณคดีก็สามารถคาดเดารูปร่างหน้าตาของชะนีสายพันธุ์นี้ได้จากงานศิลปะและบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับชะนีจำนวนมากของชาวจีนในสมัยนั้น

 

และถึงแม้ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงหลักในสมัยนั้นก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าการสูญพันธุ์ของชะนีสายพันธุ์นี้ จะมาจากการขยายอนาเขตของอาณาจักรจีนเองเสียอย่างนั้น

ด้วยปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า และการทำการเกษตร ทำให้พื้นที่ที่ชะนีสายพันธุ์นี้ใช้อยู่อาศัยลดลงจนน่าใจหาย

อย่างไรก็ตามปัญหาเหล่านี้นั้น ยังคงเป็นเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศแม้ในปัจจุบัน และทำให้ชะนีอีกสองสายพันธุ์ในจีนในตอนนี้ลดจำนวนลงอย่างมาก และเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง ไม่ต่างจากกรณีของ Junzi Imperialis สักเท่าไหร่

 

ชะนีไทรหนาน เป็นชะนีอีกพันธุ์หนึ่งที่ลดจำนวนลงไปอย่างมากจากการตัดไม้ทำลายป่า

 

ขออย่าให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเลยก็แล้วกัน

 

ที่มา bbcindependent


Tags:

Comments

Leave a Reply