ในสำหรับการสอบใหญ่ๆ นั้นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุดนั้นก็มักจะเป็นตัวข้อสอบนั่นเอง เพราะเพียงแค่ข้อสอบยากเกินไปหรือง่ายเกินไป ก็อาจจะทำให้การวัดผลนักเรียนนั้นคลาดเคลื่อนไปได้เป็นอย่างมากแล้ว
ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่คณะกรรมการสอบ Oxford, Cambridge และ RSA (OCR) จะต้องถูกปรับเงินค่าเสียหายมากถึง 175,000 ปอนด์ (ราวๆ 7,650,000 บาท) จากกรณีการออกข้อสอบวิชาวรรณคดีอังกฤษผิด จนทำให้ไม่สามารถหาคำตอบได้เมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา
เหตุการณ์ที่ว่านี้เกิดขึ้นในการสอบใบรับรองทั่วไปของการศึกษาระดับมัธยมศึกษา (GCSE) โดยคำถามที่เป็นปัญหานั้น เป็นคำถามเกี่ยวกับผลงานชื่อดังของเช็กสเปียร์อย่างโรเมโอและจูเลียตนั่นเอง
คำถามที่เป็นปัญหานี้มีใจความว่า “การนำเสนอความเกลียดชังของ “ทีบอลท์” ที่มีต่อ “คาปูเล็ต” ของเช็กสเปียร์มีผลต่อการแสดงอย่างไร”
ปัญหาคือ ทีบอลท์นั้นเป็นญาติของทั้งจูเลียตและคาปูเล็ต ดังนั้นจึงไม่น่ามีความเกลียดชังที่ว่าเกิดขึ้นได้ และคำถามที่ว่านี้น่าจะหมายถึงตัว “มองตากิว” มากกว่า
แม้ว่าทาง OCR จะได้มีการออกมาขอโทษกับปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว แต่การที่หนึ่งในคำถามมีความผิดพลาดเกิดขึ้นก็ทำให้ผลการสอบในครั้งนั้นไม่สามารถวัดผลได้
ด้วยเหตุนั้นทาง Ofqual ผู้ควบคุมการสอบของอังกฤษ จึงได้ตัดสินใจจะยื่นฟ้องค่าเสียหายข้างต้นแก่ทาง OCR ไปในเดือนพฤษภาคมปี 2018 ที่ผ่านมา เนื่องจากข้อสอบ “ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม”
และล่าสุดในเดือนกรกฎาคมนี้เองทาง OCR ได้ออกมาชี้แจ้งว่า ทาง OCR ไม่มีความคิดที่จะทำการคัดค้านใดๆ ต่อการเรียกร้องค่าเสียหายในครั้งนี้ โดยจะยินยอมจ่ายค่าเสียหายเป็นจำนวนเต็มทั้งหมด
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.