อาชญากรเลือกกระทำความผิดที่ขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง เมื่อถูกจับได้จะต้องนำตัวไปปรับทัศนคติตามหลักกฎหมายและมนุษยธรรม เมื่อถึงเวลาอันสมควรก็จะได้รับการปล่อยตัวออกมาสู่สังคมอีกครั้ง
ในช่วงเวลาระหว่างการใช้ชีวิตในเรือนจำของแต่ละประเทศนั้นจะไม่เหมือนกัน เนื่องจากแต่ละท้องที่จะนิยามและให้การดูแลสวัสดิการตามกำลังที่มี บวกกับแนวคิดที่ยังคงตีกรอบเอาไว้ตามความเหมาะสม…
เรือนจำ Aranjuez ประเทศสเปน
เรือนจำ Aranjuez ยอมให้พ่อแม่และเด็กอยู่ด้วยกัน ในช่วงที่หนึ่งในสมาชิกครอบครัวของจองจำ พร้อมกับการตกแต่งห้องขังให้บรรยากาศครอบครัว มีเนอร์เซอรี่ และสนามเด็กเล่น เพื่อไม่ให้เด็กรับรู้ได้ว่ากำลังใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำในขณะที่พ่อแม่ถูกขัง
เรือนจำ Luzira ประเทศยูกันดา
ผู้ต้องขังในเรือนจำแห่งนี้จะมีหน้าที่รับผิดชอบจำนวนมาก ทั้งการดูแลกลุ่มของตัวผู้ต้องขังเอง แบ่งออกเป็นหน่วยช่วยกันรับผิดชอบ การปลูกพืชผักและเก็บเกี่ยวมาทำอาหาร พร้อมกับแจกจ่ายให้กับทุกคนภายในเรือนจำ
พร้อมทั้งสอนทักษะวิชาชีพอย่างช่างไม้ให้ เมื่อพ้นโทษไปแล้วอัตราการกระทำผิดซ้ำของที่นี่มีเพียง 30% เท่านั้น เมื่อเทียบกับอังกฤษ 46% และสหรัฐฯ 76%
เรือนจำ Bastøy ประเทศนอร์เวย์
เรือนจำแห่งนี้เป็นเรือนจำขนาดใหญ่แต่เข้มงวดน้อย อันเป็นสถานที่จองจำฆาตกรและพวกข่มขืน ตั้งอยู่บนเกาะ Bastøy ในชื่อเดียวกันและกินพื้นที่บนเกาะทั้งหมด มีเพียงส่วนชายหาดทางตอนเหนือของเกาะที่เปิดให้ประชาชนคนทั่วไปเข้ามาได้
เรือนจำเปรียบได้เสมือนชุมชนขนาดเล็ก มีอาคาร 80 หลัง ถนนพื้นที่ชายหาด ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม สนามฟุตบอล พื้นที่เพาะปลูกและป่า นอกจากนี้ในคุกก็ยังมีร้านค้า ห้องสมุด สาธารณสุข โบสถ์ โรงเรียน ท่าเรือ บริการเรือข้ามฝั่ง และประภาคาร
เรือนจำหญิง San Diego ประเทศโคลอมเบีย
นักโทษในเรือนจำแห่งนี้จะได้สัมผัสกับอิสระในยามค่ำคืน เพราะที่นี่จะถูกเปลี่ยนให้เป็นร้านอาหาร ทุกคนได้รับมอบหมายให้เป็นทั้งแม่ครัว พนักงานเสิร์ฟ และคนล้างจาน โดยจะเลือกเพียง 25 คนจาก 180 คนที่ใกล้จะพ้นโทษเพื่อกลับคืนสู่สังคม นำมาเรียนรู้หน้าที่การงานที่เหมาะสมกับตัวเองอีกครั้ง
เรือนจำ Halden ประเทศนอร์เวย์
เรือนจำพร้อมกับระบบความปลอดภัยระดับแน่นหนา รับจองจำนักโทษจากทั่วโลก ก่อตั้งขึ้นในปี 2010 ด้วยเป้าหมายในการเป็นสถานที่พักฟื้น ออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้ชีวิตกับโลกภายนอก
นอกจากกิจกรรมทั่วไปแล้ว การกีฬาและดนตรีก็ยังมีให้นักโทษได้เล่น และสามารถพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ตามสะดวกในแง่ของการสร้างชุมชนของมนุษย์
เรือนจำ Norgerhaven ประเทศเนเธอร์แลนด์
ผู้ต้องขังในเรือนจำแห่งนี้ จะได้รับเตียง เฟอร์นิเจอร์ ตู้เย็น และโทรทัศน์ในห้องของตัวเอง อัตราอาชญากรรมในประเทศนี้ต่ำมาก จนพบกับปัญหาคุกว่าง และเพื่อแก้ไขปัญหานี้ในปี 2015 จึงต้องนำเข้าผู้ต้องขังจากนอร์เวย์มาไว้ที่นี่แทน
เรือนจำ Onomichi ประเทศญี่ปุ่น
เรือนจำผู้สูงอายุเริ่มเป็นเรื่องปกติในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากกำลังเข้าสู่ช่วงสังคมสูงวัยภายในประเทศ และเรือนจำแห่งนี้ก็มีแต่ประชากรสูงวัยทั้งนั้น พวกเขาจะได้รับราวจับส่วนตัว อาหารอ่อน และใช้เวลาทำงานหมดไปกับการถักทอผ่านงานฝีมือและจักรเย็บผ้า
เรือนจำ Champ-Dollon ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
เปิดทำการในปี 1977 ด้วยจุดมุ่งหมายในการฝากขังนักโทษก่อนการไต่สวน และจำนวนนักโทษก็เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นปัญหาคนล้นคุก ในปี 2010 มีจำนวนนักโทษกว่า 115 เชื้อชาติอยู่ภายในคุกแห่งนี้ ส่วนชาวสวิสแท้ๆ มีแค่ 7.2% เท่านั้น
เรือนจำ Black Dolphin ประเทศรัสเซีย
เรือนจำโลมาดำตั้งอยู่บนแนวชายแดนคาซัคสถาน นักโทษจะต้องใช้ห้องร่วมกันภายในพื้นที่ 50 ตารางฟุต อยู่หลังประตูหลังอีก 3 ชั้น ให้อารมณ์ประมาณคุกซ้อนคุก
ภายในมีระบบสอดส่องตลอด 24 ชั่วโมง อันขึ้นชื่อว่าเป็นคุกระดับโหดที่ขังอาชญากรหัวรุนแรง ทั้งฆาตกรต่อเนื่อง พวกกินคน และผู้ก่อการร้าย ซึ่งหนทางเดียวที่จะหนีออกไปได้คือต้องเสียชีวิตเท่านั้น
เรือนจำ Penal De Ciudad Barrios ประเทศเอลซัลวาดอร์
ห้องขังภายในเรือนจำแห่งนี้กว้างแค่ 12 ฟุต สูง 15 ฟุตเท่านั้น และจะอัดแน่นไปด้วยนักโทษมากกว่า 30 รายต่อห้อง ถูกสร้างมาเพื่อใช้คุมขังเป็นระยะเวลา 72 ชั่วโมง
แต่นักโทษหลายคนต้องใช้ชีวิตอยู่ในนั้นมากกว่า 1 ปี ตลอดทั้งวันก็ผ่านไปด้วยการฉีกเสื้อผ้าของตัวเองเอามาทำเป็นเปลนอน ทับถมกันไปหลายๆ ชั้น
ที่มา: boredpanda
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.