หลังจากที่ผ่านพ้นวันอันแสนยากลำบากมาได้ คนเราจะต้องพักผ่อนสมองและร่างกาย เพื่อกำจัดความเครียดที่ส่งผลลบต่อสภาพจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นการดูหนัง ฟังเพลง กิจกรรมอะไรก็ได้ที่เรียกได้ว่าเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ
แต่รู้หรือไม่ว่าวิธีการบางอย่างที่คนทั่วไปคิดว่าเป็นการพักผ่อน ช่วยลดความเครียดได้ อาจจะกลับกลายมาเป็นผลลัพธ์ในทางตรงกันข้าม ทำให้รู้สึกแย่และหนักยิ่งกว่าเดิม…
การนั่งดูโทรทัศน์
วิธีการแรกที่ใครๆ อาจจะเลือกใช้ก็คือการนั่งพักผ่อนอยู่หน้าจอโทรทัศน์เพื่อเปิดชมรายการต่างๆ หรือนั่งเล่นเครื่องเล่นวิดีโอเกม นักวิจัยจากเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์พบว่าผู้คนที่เหนื่อยจากการทำงานมักจะรู้สึกผิด
เนื่องจากจะก่อให้เกิดนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง และการเสพสื่อที่แพร่หลายจะกลายมาเป็นภาระและความเครียดมากกว่าการพักผ่อน
การคิดย้ำๆ และซ้ำๆ
การคิดถึงเรื่องประชุมอยู่ในหัว หรือจดรายการดีและแย่ที่ไม่มีวันจบ เหมือนจะเป็นการช่วยกระตุ้นความคิด แต่อาจจะนำไปสู่ลักษณะนิสัยการครุ่นคิดที่บีบบังคับตัวเอง
ผู้คนส่วนใหญ่มักจะเชื่อว่าการคิดเยอะๆ จะทำให้มองเห็นวิธีแก้ไขปัญหา แต่ส่วนใหญ่แล้วไม่ใช่แบบนั้น ถ้าหนีความเครียดในจิตใจไม่ได้ ให้เลือกออกกำลังกายหรือฟังเพลงเร้าจังหวะแทนจะดีกว่า (ที่มา)
การเลิกใส่ใจ
การเลิกสนใจบางอย่างที่ทำให้เราเครียดก็ไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด เพราะการเลือกที่จะไม่คิดหรือไม่สนไม่ได้ทำให้ความเครียดหายไป เพราะเมื่อหนีปัญหา คุณจะไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเจอกับอะไรอยู่
ถ้าหากเลือกจะเผชิญกับปัญหาที่ยากต่อการแก้ไข จะช่วยพัฒนาทักษะการวางแผนเพื่อหาทางที่ดีที่สุดได้มากกว่า หรือทำการปรึกษาและขอให้คนอื่นที่ไว้ใจช่วย (ที่มา)
พูดคุยถกปัญหากับเพื่อน
ผลวิจัยเผยว่าเมื่อผู้หญิงพูดคุยกับเพื่อนเรื่องปัญหาต่างๆ จะรู้สึกเหมือนมีหนามทิ่มระดับฮอร์โมนความเครียด เพราะจะเป็นการพูดคุยวิเคราะห์ในเชิงลึกแทบทุกมุม ทุกความย่ำแย่ที่ทำให้เกิดขึ้น และจะวนเป็นแบบนี้เรื่อยๆ แนะนำว่าควรพูดถึงแค่ครั้งเดียว และโฟกัสที่การหาทางออกที่ดีที่สุด (ที่มา)
การทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน
การพยายามทำหลายสิ่งในคราวเดียวจะเพิ่มความเครียดให้ตัวเอง เมื่อคุณรู้สึกเครียด แทนที่จะทำทุกอย่างให้จบในทีเดียว ให้ค่อยๆ เคลียร์ทีละอย่างแทน ไม่ว่าจะเป็นการคิด การพิมพ์ การวิ่ง การทำความสะอาดบ้าน ทำทุกอย่างให้ช้าลงประมาณ 25% เพื่อให้ร่างกายได้มีเวลาพักจริงๆ ระหว่างจัดการชีวิต (ที่มา)
การนอนหลับยาว
วิธีที่ใครๆ ต่างก็เลือก แต่การนอนหลับยาวๆ จะส่งผลร้ายให้เกิดอาการเซื่องซึมได้ ร่างกายจะเกิดอาการล้า ยากที่จะโฟกัสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จนไม่สามารถรับมือได้ถูกจุด (ที่มา)
การดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มเพียงแค่ขวดสองขวดจากการทำงานหนักในแต่ละวัน ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร ยกเว้นจะเริ่มเพิ่มจำนวนเป็นสามขวดขึ้นไป จากการสำรวจพบว่าผู้ชายและผู้หญิงที่มีความเครียดสูงมีแนวโน้มดื่มหนัก และผู้ชายมักจะเลือกแอลกอฮอล์เป็นยาระบายความเครียด
แน่นอนว่าการดื่มหนักๆ จะเปลี่ยนความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกายและวิธีที่ร่างกายจัดการความเครียด เพราะจะทำให้รู้สึกวิตกกังวลเหนือความเครียด ยิ่งดื่มหนักและบ่อยจะทำให้เกิดอาการติดเหล้า เครียดยิ่งกว่าเก่า (ที่มา)
พักผ่อนในผ่านเฟสบุ๊ก
การใช้เวลาสิบนาทีเลื่อนผ่านหน้าฟีดส์ ที่มีแต่โพสต์การบ่น โพสต์แง่ลบ ผลลัพธ์ของมันจะทำให้ความเครียดของผู้รับสารแย่ลง จากการวิจัยสเตตัสจำนวน 1 พันล้านสเตตัส จากผู้คน 100 ล้านคนตลอด 3 ปี พบว่ามีอารมณ์แฝงที่ทำให้รู้สึกคล้อยตามกลายเป็นโรคติดต่อได้
ทุกโพสต์ในแง่ลบจะก่อให้เกิดโพสต์แง่ลบเพิ่มในวงเพื่อนที่เห็น ส่วนโพสต์แง่บวกก็เกิดให้เกิดผลกระทบเช่นเดียวกัน ถ้าหากหน้าฟีดส์มีแต่เรื่องดีๆ ก็จะช่วยทำให้เราอารมณ์ดีได้ (ที่มา)
การสูบบุหรี่
สิงห์อมควันเชื่อว่าการสูบบุหรี่ช่วยทำให้สมองโล่ง เมื่อรู้สึกเครียดหรือกังวล อย่างไรก็ตามในงานวิจัยปี 2014 ของประเทศอังกฤษ กล่าวว่าเลิกสูบบุหรี่ช่วยลดความเครียดได้ผลลัพธ์ที่มากกว่า
จากการประเมินระดับสุขภาพจิตในผู้สูบบุหรี่ก่อนและหลังเลิก บุคคลที่เลิกได้นั้นมีระดับความวิตก ซึมเศร้า และเครียดน้อยลง คุณภาพชีวิตมีพลังบวกมากขึ้น ส่วนผู้ที่พยายามเลิกแต่ไม่สำเร็จ กลับทำให้เครียดยิ่งกว่าช่วงตอนที่ตั้งใจจะเลิก เนื่องจากคาดหวังในตัวเองให้เลิกแต่กลับล้มเหลว (ที่มา)
ที่มา: rd
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.