เรื่องไวรัลที่มีผู้คนแชร์กันเป็นกระแสอยู่พักหนึ่ง อย่างภาพที่มาของตัวเลขอารบิก ซึ่งตัวเลขแต่ละตัวจะนับตามจำนวนมุมตั้งแต่เลข 0 – 9 ซึ่งหลายคนก็หลงเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง
คนทั่วไปก็ยังรู้สึกคลุมเครือว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่จริง มีการถกเถียงเกิดขึ้นทั้งฝั่งคนที่เชื่อและไม่เชื่อเถียงกันไม่จบไม่สิ้น จนกระแสซาไปได้สักพักหนึ่งก็กลับมาอีกครั้งและเป็นเพจที่เกี่ยวกับครูเป็นฝ่ายโพสต์ภาพดังกล่าว
เพจดังกล่าวโพสต์ภาพพร้อมใจความว่า ‘เรียนมาจนจะแก่ตายอยู่แล้ว เพิ่งรู้ว่าเลขอารบิคเขานับจำนวนตามมุมของมัน’ และภาพที่มีก็เป็นเลข 1 – 0 และจำนวนมุมตามตัวเลข
ด้านความคิดเห็นจากชาวเน็ตที่พบ ต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นในทิศทางที่ไม่เห็นด้วยเยอะมากๆ
แรกๆ พอจะเชื่อได้ว่ามีเหตุผล แต่เลขหลังๆ เริ่มพยายามเกินไป
.
จนต้องมาแย้งว่า เลขอารบิก ไม่ได้คิดตามจำนวนมุม
แล้วความจริงของเลขอารบิกในปัจจุบันมากจากไหนล่ะ?
จุดแรกเริ่มของตัวเลขอารบิกที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้รับอิทธิพลมาจากนักคณิตศาสตร์อินเดียในระหว่างช่วงศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล และคริสต์ศตวรรษที่ 3 จากการพบหลักฐานในคัมภีร์ Bakhshali บันทึกทางคณิตศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของอินเดีย
ตัวเลขโบราณชุดแรกเริ่ม
ตัวเลขโบราณพรามมิ
โดยภายในบันทึกดังกล่าวได้เขียนเชิงอธิบายตัวอย่างแรกของการใช้ตัวเลขในระบบ 0 – 9 จะเห็นได้ถึงความใกล้เคียงของการออกแบบตัวเลขโบราณพรามมิ และตัวเลขฮินดู-อารบิก
จนกระทั่งรูปแบบของตัวเลขได้แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลาหลายศตวรรษ รวมไปถึงระบบการนับเลขที่ถูกแพร่ขยายไปถึงอาณาจักรเปอร์เซียในยุคกลาง และกลุ่มชาติชาวยุโรปได้นำไปใช้งานต่อจากชาวอาหรับ
ระบบเลขอารบิกถูกบันทึกเป็นครั้งแรกในตะวันตกลงในคัมภีร์ Vigilanus โดยนักบวช 3 คนทางตอนเหนือของสเปน ในช่วงระหว่างคริสต์ศักราช 881 และคริสต์ศักราช 976 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงตัวเลขครั้งสุดท้าย
เวลาผ่านไปอีกหลายศตวรรษ ระบบตัวเลขฮินดู-อารบิก จึงเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในกลุ่มชนชาติตะวันตก จากทางตอนเหนือของประเทศสเปนที่ใช้รากฐานจากอาหรับ
แผ่ขยายในช่วงศตวรรษที่ 15 และ 16 ตัวเลขดังกล่าวปรากฏอยู่ในจารึกของอังกฤษ และมีรายละเอียดในบันทึกการสอนของภาษาเยอรมันด้วย
ที่มา: wikipedia, history.mcs, maslaha, gizmodo
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.