สื่อต่างชาติชื่นชม “อุทยานจุฬาฯ 100 ปี” สวนสาธารณะแห่งอนาคต รับมือภัยพิบัติน้ำท่วม

สวนสาธารณะระดับ Community Park ปลูกพืชพื้นถิ่นบนพื้นที่ ๒๘ ไร่ ตามแนวคิด “ป่าในเมือง”
ออกแบบให้เป็นพื้นที่หน่วงน้ำของเมือง มีแนวพื้นที่รับน้ำ (Rain Garden) และระบบระบายน้ำใต้ดิน

 

คำเกริ่นถึงการออกแบบ อุทยานจุฬาฯ 100 ปี บนหน้าเว็บไซต์ CU100 ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการยักษ์ใจกลางเมือง ด้วยเป้าหมายในการรองรับปัญหาการระบายน้ำภายในพื้นที่ของกรุงเทพฯ มอบเป็นของขวัญอันยิ่งใหญ่แก่สังคมเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

โครงการดังกล่าวได้รับความสนใจจากสื่อนอกเช่นเดียวกัน และจากคำบอกเล่าของ Business Insider พวกเขาระบุว่าอุทยานแห่งนี้ สามารถรองรับน้ำฝนได้ปริมาณหลายล้านแกลลอนกันเลยทีเดียว

เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต และเล็งเห็นไปถึงปัญหาระดับพื้นดินของกรุงเทพฯ ที่ลดลงต่ำ 1 เซนติเมตรในทุกๆ ปี อาจจะทำให้ทั้งเมืองอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลภายในปี 2030

 

 

อุทยานจุฬา 100 ปี ออกแบบโดยบริษัทด้านภูมิสถาปัตยกรรม Landprocess กรุงเทพฯ โดยมีคุณกชกร วรอาคม เป็นผู้นำทีมในการออกแบบโครงการ บนพื้นที่กว่า 30 ไร่ภายในรั้วของจุฬาฯ โดยมีหลักในการทำงานรองรับน้ำฝนและเป็นปอดแห่งใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ ดังต่อไปนี้…

 

สวนสาธารณะที่ถูกออกแบบมาให้มีลักษณะรองรับการใช้งานหลายรูปแบบภายในคราวเดียว เพื่อช่วยในเรื่องของการกักเก็บน้ำและเปลี่ยนเส้นทางระบายน้ำภายในเมือง

 

ทางปลายสุดของสวนสาธารณะ ถูกสร้างเป็นกรอบแนวทางน้ำ เพื่อให้ปริมาณน้ำไหลลงสู่อ่างเก็บภายใน

 

ส่วนด้านบนนั้นถูกจัดให้เป็นพื้นที่สีเขียว พร้อมกับทางเดินน้ำแบบขั้นบันไดไหลลงสู่ด้านล่าง

 

จากนั้นปริมาณน้ำทั้งหมด จะไหลไปตามเส้นทางที่ถูกกำหนดเอาไว้

 

และจะระบายลงสู่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ข้างใต้สวนสาธารณะ

 

ถ้าหากเกิดฝนตกชุก ก่อให้เกิดปัญหาน้ำรอการระบายอย่างหนัก อ่างเก็บน้ำภายในสามารถรองรับปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นได้ ด้วยการขยายพื้นที่รองรับน้ำบนลานหลักของสวนสาธารณะ รองรับปริมาณน้ำได้มากถึงหลักล้านแกลลอน

 

อีกส่วนของอุทยานจุฬาฯ ประกอบไปด้วยสวนต้นไม้นานาชนิด ทางเดิน และพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมและพักผ่อนหย่อนใจ

 

และยังมีพื้นที่สำหรับรองรับน้ำเช่นเดียวกัน บริเวณจักรยานกังหันน้ำ สามารถปั่นเพื่ออกกำลังกายและบำบัดน้ำไปด้วยในคราวเดียวกัน

 

‘อุทยานจุฬา 100 ปี ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศภายในอนาคต’

 

ภายในพื้นที่กรุงเทพฯ มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 20 ล้านชีวิต กำลังเผชิญกับปัญหาระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น และปัญหาน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง

 

แม้จะมีพื้นที่จำกัดเพียง 30 ไร่ แต่นับว่าเป็นปอดใจกลางเมืองกรุงเทพฯ นำร่องในการแก้ปัญหาน้ำท่วมต่อไปในอนาคตข้างหน้า

 

นอกจากนี้ยังมีแผนในการสร้างสวนสาธารณะแห่งใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม เพื่อขยายพื้นที่รองรับปริมาณน้ำฝน กระจายจากพื้นที่กรุงเทพฯ มาสู่บริเวณสวนสาธารณะในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี คาดว่าจะเปิดพร้อมใช้งานภายในปีหน้า

 

ที่มา: ted, businessinsiderlandprocessdesign

Comments

Leave a Reply