ขึ้นชื่อว่า ‘สงคราม’ สิ่งที่หลีกเลี่ยงอย่างไม่ได้ ก็คือเรื่องของความสูญเสีย บางคนต้องเสียเสาหลักของครอบครัว บางคนต้องเสียอวัยวะบางอย่างจนทุพพลภาพ ขณะเดียวกันบางคนก็เสียรูปลักษณ์ภายนอกไปอย่างน่าเศร้าสลด…
โดยในเรื่องที่ #เหมียวจิวยี่ อยากจะนำเสนอนี้ แม้ว่าจะเป็นเพียงแค่เศษเสี้ยวเล็กๆ ของการเยียวยาบาดแผลจากสงครามของหญิงคนหนึ่ง แต่การรักษาของเธอจริงๆ แล้วมันมิใช่เพียงแค่การรักษาบาดแผลเท่านั้น แต่มันยังรวมถึงการฟื้นฟูจิตใจให้กับเหล่าทหารผ่านศึกที่ล้วนสูญเสียบางอย่างให้กับสงครามในครั้งนั้นด้วย…
Anna Coleman Watts Ladd
และนี่คือเรื่องราวของ Anna Coleman Watts Ladd หญิงสาวช่างปั้นหม้อชาวอเมริกันที่จับพลัดจับผลู กลายมาเป็นนักศัลยกรรมตกแต่งให้กับเหล่าทหารผ่านศึกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 จากผลงานการปั้นหน้ากากของเธอ
จุดเริ่มต้นของการอุทิศตนช่วยเหลือมนุษยชาติในครั้งนี้ เริ่มจากความที่เธอกับสามีได้ย้ายไปยังประเทศฝรั่งเศสในปี 1917 และที่นี่เองที่เธอได้พบกับช่างปั้นชาวอังกฤษชื่อว่า Francis Derwent Wood
โดยในเวลานั้นเขาได้เปิดร้านชื่อว่า “Tin Noses Shop” ช่วยเหลือทหารผู้เสียโฉมจากศึกสงครามด้วยการทำ ‘หน้ากากเสมือนจริง’ ปิดบังบาดแผลฉกรรจ์บนใบหน้าไว้
และนี่เองได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับ Ladd เปิดร้านชื่อ “Studio for Portrait-Masks” ในเวลาต่อมา ซึ่งจากฝีมือและประสบการณ์การเป็นนักปั้นของเธอ ก็ช่วยให้เธอสร้างหน้ากากจากกา่รปั้นแผ่นดินเผาเติมเต็มส่วนที่หายไปบนใบหน้าของทหารหลายต่อหลายคนได้ราวกับมีเวทมนตร์
ผลงานจมูกเทียมจากการปั้นของเธอ
เรื่องราวและผลงานของเธอถูกนับให้เป็นอีกบทหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่โลกต้องจารึกเอาไว้ เพราะการทำงานของเธอได้ช่วยให้ทหารจำนวนมากมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้นมาจากบาดแผลที่ถูกหน้ากากกลบเอาไว้ และถึงแม้ว่าจะไม่สามารถทดแทนของจริงได้ แต่อย่างน้อยก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆ สำหรับใครที่ต้องการใช่ไหมล่ะ
มีทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากศึกมากมายมาใช้บริการ
บางคนก็ไม่สามารถจำหน้าเดิมได้ด้วยซ้ำ
บางส่วนของงานเธอ
เติมเต็มให้พวกเขาสามารถกลับเข้าสู่สังคมได้อย่างปกติ
.
.
.
ไม่แพ้ศัลยกรรมในยุคนี้เลย
.
ใบหน้าของบุคคลต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลาในการทำ 1 เดือนเป็นอย่างน้อย
ผู้คนมากมายต่างชื่นชมการกระทำนี้ “นี่คือของขวัญจากพรสวรรค์อันล้ำค่า ที่เธอมอบให้แก่เพื่อนมนุษย์”
ถ้าดูจากเวลาในตอนนั้น นี่ก็คือผลงานชิ้นโบว์แดงแล้ว
วิดีโอการทำงานเพื่อช่วยเยียวยาบาดแผลของเธอ
ที่มา: demiked, Rare Historical Photos, Library of Congress, catdumb
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.