แมงกะพรุนนั้นมีพิษ เคยถูกต่อยจนปวดแสบร้อน แต่เคยเห็นเข็มพิษของมันบ้างรึเปล่า!?

ผู้ที่ชื่นชอบทะเลมักจะรู้สึกกังวลกับศัตรูขัดความสุขระหว่างลงเล่นน้ำตัวนี้แน่ๆ หากเจอและโดนเมื่อไหร่จะต้องรู้สึกปวดแสบปวดร้อนจนหมดความสุขไปเลย

แน่นอน สิ่งที่กำลังถูกเอ่ยถึงก็คือ แมงกะพรุน สัตว์น้ำไร้กระดูกสันหลังสีใสดุกดุ๋ยตัวนี้ ถือว่ามีพิษสงที่ร้ายกาจพอตัว เพราะเราจะไม่รู้เลยว่ามันจะมาตอนไหน รู้อีกทีก็โดนต่อยไปแล้ว

 

 

สำหรับแมงกะพรุนถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มสัตว์กินเนื้อ โดยที่แมงกะพรุนขนาดเล็กจะกินสาหร่ายและแพลงก์ตอนขนาดเล็ก ส่วนแมงกะพรุนขนาดใหญ่จะกินจำพวกสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง และสัตว์น้ำขนาดใหญ่อื่นๆ

โดยปกติแล้วแมงกะพรุนจะไม่มุ่งประสงค์ร้ายต่อมนุษย์ เนื่องจากระบบประสาทของพวกมันไม่ได้ชาญฉลาดขนาดนั้น เพียงแต่การต่อยเป็นระบบการป้องกันตัว และใช้ในการล่าหาอาหารเท่านั้นเอง…

 

ตัวอย่างหนวดที่ถูกตัดมาส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์ โดยแชแนล SmarterEveryDay

 

และในส่วนหนวดของมันที่ใช้ในการต่อย มันไม่ได้ปล่อยพิษออกมาผ่านผิวหนัง แต่จะมีเข็มพิษซ่อนอยู่ภายใต้หนวดเหล่านั้น ถ้าสังเกตแบบผิวเผินเราแทบจะมองไม่เห็นได้ด้วยตาปล่อย และในช่วงจังหวะที่มันปล่อยเข็มออกมานั้นก็รวดเร็วเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น

 

เมื่อหนวดถูกกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า ปฏิกิริยาตอบสนองด้วยการปล่อยเข็มพิษออกมา

 

พร้อมกับปล่อยพิษออกมา

 

หลังจากที่แมงกะพรุนรับรู้ได้ถึงอันตราย ก็จะเกิดการกระตุ้นเซลล์เข็มพิษให้พุ่งออกมาเหมือนกับลูกดอกขนาดเล็ก และลำเลียงพิษ Neurotoxin ที่ส่งผลต่อระบบประสาทของเหยื่อให้เป็นอัมพาต

หากสัตว์น้ำขนาดเล็กได้รับพิษเข้าไปอาจตายได้ แต่พิษของแมงกะพรุนนั้นไม่มีอันตรายถึงชีวิตของมนุษย์ เพียงแค่ก่อให้เกิดความปวดแสบ ปวดกล้ามเนื้อ ผื่นคันบนผิวหนัง และมีอาการป่วยไข้

 

ระยะเวลาที่ใช่ในการปล่อยพิษทั้งหมดเฉลี่ยแล้วเพียง 11 มิลลิวินาที!!

 

มีการฉีดพิษออกมาจากเข็ม

 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ระดับความเจ็บปวดและปฏิกิริยาต่อเนื่องของพิษแมงกะพรุน ก็ขึ้นอยู่กับสายพันธ์ุของแมงกะพรุนด้วย ถ้าเป็นสายพันธุ์ขนาดใหญ่ เข็มพิษของมันสามารถแทงทะลุชั้นผิวหนังลึกๆ ได้ อีกทั้งพิษอาจจะมีฤทธิ์ที่แรงกว่าแมงกะพรุนขนาดเล็กหลายเท่า

 

 

ที่มา: SmarterEveryDay, smithsonianmag


Posted

in

by

Tags:

Comments

Leave a Reply