การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ หนึ่งในประโยคที่คอยสอนใจมนุษย์เราว่า การป่วยเป็นโรคภัยไข้เจ็บนั้นจะทำให้ชีวิตยากลำบาก ไหนจะต้องหาหนทางรักษารวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่ตามมาอีกหลายระลอก…
Mona Randolph คือหนึ่งในผู้ป่วยโปลิโอ เธอติดเชื้อไวรัสในช่วงอายุ 20 ปี ส่งผลทำให้ไขสันหลังได้รับความเสียหาย ร่างกายเป็นอัมพาตแต่ยังไม่ถึงขั้นเสียชีวิต
ซึ่งโชคร้ายตรงที่ปี 1955 มีวัคซีนป้องกันโปลิโอออกมาแล้ว แต่เธอไม่ได้รับวัคซีนเนื่องจากถูกประเมินว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคน้อยกว่าเด็กนั่นเอง
อาการเบื้องต้นของเธอนั้น ประสบกับปวดหัวขั้นรุนแรง ไข้หวัด และความอ่อนไหวต่อแสงและเสียง อย่างเช่นการได้ยินเสียงกระซิบจะทำให้รู้สึกปวดหูได้ หรือแม้แต่รับแสงเข้าดวงตาก็ทำไม่ได้ จนภายหลังหลายวันต่อมา เธอไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ
แพทย์ได้วินิจฉัยให้เธอเข้ารับวิธีการรักษาด้วย ‘ปอดเหล็ก’ เครื่องช่วยหายใจในยุคสมัยนั้น ใช้แรงดันลมอัดอากาศเข้าไปในปอดของผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจได้ด้วยตัวเอง แต่ในปัจจุบันไม่ได้ใช้อย่างแพร่หลายแล้ว เหลือแต่เพียงผู้ป่วยจากยุคสมัยเก่าเท่านั้น
เธอรอดชีวิตมาจากโรคโปลิโอได้ แต่ต้องแลกไปด้วยแขนซ้ายเป็นอัมพาต ทุกวันนี้ต้องพึ่งพาอาศัยคนในครอบครัวและเพื่อนคอยดูแลอยู่ตลอด แม้จะไม่ต้องนอนอยู่ในปอดเหล็กก็ตาม
ในความโชคร้ายซ้ำสอง แม้จะรอดมาจาโปลิโอ แต่ร่างกายกลับมีอาการกลุ่มโรคหลังโปลิโอในปี 1980 ก่อให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการหายใจติดขัดก็กลับมาอีกครั้ง และต้องกลับมาพึ่งพาปอดเหล็กเช่นเคย
จนถึงทุกวันนี้ Randolph จะต้องเข้ารับการบำบัดเป็นประจำ และกลับมานอนอยู่ในเครื่องปอดเหล็ก 6 คืนต่อสัปดาห์ จนตั้งชื่อให้กับมันว่า ‘เรือดำน้ำสีเหลือง’ แต่ละครั้งก็ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมงในการตั้งเครื่อง โดยมีสามีและผู้ดูแลคอยช่วยเหลืออยู่
เครื่องปอดเหล็กความยาวขนาดเกือบ 2 เมตรนี้ จะคลุมร่างกายของเธอไปจนถึงส่วนคอ และจะมีเสียงดังในขณะที่เครื่องกำลังทำงาน…
ซึ่งเป็นทางเลือกเดียวที่เหลือสำหรับเธอในการที่จะมีชีวิตรอดต่อไป ทำให้เธอหายใจได้ตามปกติและนอนหลับได้ เพื่อใช้ชีวิตในเช้าวันต่อไปแบบนี้มาตลอด 36 ปี และในปัจจุบันเหลือผู้ป่วยที่ใช้เครื่องปอดเหล็กเพียง 3 รายเท่านั้นในสหรัฐอเมริกา
ที่มา: people, nypost, kansascity, buzzfeednews
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.