สถาบันสุขภาพ วิเคราะห์ตัวละครน่ารักจาก Winnie The Pooh อาจเป็นตัวแทนของ “ความผิดปกติทางจิต”

การ์ตูนแสนสดใสในวัยเด็ก ที่ชวนให้ผู้อ่านร่วมสนุกไปกับการผจญภัยของเด็กหนุ่มและหมีสีเหลืองพร้อมเหล่าผองเพื่อนสรรพสัตว์ตัวน้อยในป่าหนึ่งร้อยเอเคอร์ การ์ตูนเรื่องนี้ก็คือ Winnie The Pooh นั่นเอง

ภาพที่เราจดจำเหล่าตัวละครจากเรื่องนี้ได้ก็คงจะหนีไม่พ้นความน่ารักที่แตกต่างกันไปตามแต่ละตัว อย่างเช่น หมีพูห์ ก็จะดื้อ ไม่ค่อยฉลาด และซุกซน ส่วน พิกเล็ต ก็จะขี้กลัวขี้ระแวง เป็นต้น

หารู้ไม่ว่า ตัวละครน่ารักๆ เหล่านี้ แท้จริงแล้วมันคือสัญลักษณ์และตัวแทนของ ความผิดปกติทางจิต ที่เป็นไปตามงานวิจัยของ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ ของสหรัฐอเมริกา

ส่วนตัวละครไหนเป็นตัวแทนของโรคอะไร ไปดูพร้อมๆ กันเลย!!

 

1. พิกเล็ต

หลายคนที่เคยรับชมหรืออ่านการ์ตูน Winnie The Pooh ก็คงจะรู้ดีว่าเจ้าลูกหมูพิกเล็ตนี้ค่อนข้างขี้กังวลและขี้กลัว  เขากลัวสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้จักและกังวลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเสมอ แน่นอนเพราะว่าเขาเป็นตัวแทนของ อาการวิตกกังวล และ ความภูมิใจแห่งตน ยังไงล่ะ

 

2. ทิกเกอร์

เจ้าเสือจอมกระโดดสุดร่าเริงนี้ ถือเป็นสัญลักษณ์ของ โรคสมาธิสั้น (ADHD) และอาการ ขาดการควบคุมความต้องการของตนเอง สังเกตดูดีๆ จะพบว่าทิกเกอร์มักทำอะไรโดยไม่คิดและไม่ค่อยเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาด

นอกจากนี้ทิกเกอร์ยังอารมณ์เสียง่ายและใจเย็นลงได้ยากแม้ในสถานการณ์ที่เขาควรจะใจเย็น นี่เป็นอาการจริงๆ ของโรคสมาธิสั้น

 

3. แรบบิท

ปกติแล้วแรบบิทจะดูเป็นผู้ใหญ่ที่สุดในกลุ่มเพราะเขาดูเป็นคนจู้จี้และจอมวางแผน จริงๆ แล้วตัวละครนี้เป็นสัญลักษณ์ของ โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) เพราะเขามักทำอะไรซ้ำๆ เพราะกลัวความผิดพลาด เช่น นับจำนวนสิ่งต่างๆ จัดวางสิ่งของต่างๆ ซ้ำไปมา วางแผนซ้ำๆ และเครียดกับแทบทุกสิ่ง

เมื่อใดก็ตามที่ผองเพื่อนกระทำออกนอกลู่ทางเขาจะเกิดอาการตระหนกและฉุนเฉียว ใช่แล้วเพราะผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำมักต้องการให้ทุกสิ่งเป็นไปตามที่ตนเองวางเอาไว้เท่านั้น

 

4. อียอร์

ตุ๊กตาลาอียอร์ที่ดูเซื่องซึมและเชื่องช้าตลอดเวลานี้ หากให้เดาคงคิดว่ามันเป็นตัวแทนของโรคซึมเศร้าใช่ไหมล่ะ แต่ถ้าจะให้ถูกจริงๆ เลยมันเป็นตัวแทนของ โรคซึมเศร้าเรื้อรัง ต่างหาก ซึ่งต่างออกไปเล็กน้อยในเรื่องของระยะเวลา

หากสังเกตจากในเรื่อง เมื่อใดที่มีเรื่องดีๆ เกิดขึ้น อียอร์มักจะเป็นคนเดียวที่สามารถมองเห็นเรื่องร้ายๆ ในนั้นได้ เขาไม่ค่อยสบายใจกับความรู้สึกสุขมากนัก เพราะเขามักคิดเสมอว่าจะต้องมีเรื่องร้ายตามมาแน่ๆ

 

5. รู

เจ้าลูกจิงโจ้น้อยแสนน่ารักตัวนี้ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่ามันเป็นตัวแทนของ โรคออทิสติก (ASD) น้อยครั้งนักที่เราจะเห็นว่ารูไปไหนมาไหนคนเดียว เพราะเขามักอยู่เงียบๆ ในกระเป๋าหน้าท้องของแม่เขาเสมอ

เขามักออกไหนแบบไม่ระวังตัวบ่อยครั้งแม้หลายคนจะเตือนแล้วก็ตาม สุดท้ายหลายครั้งเขาก็พบว่าตัวเองดันมาอยู่ในสถานที่อันตรายเสียแล้ว ซึ่งเป็นคุณลักษณะแบบหนึ่งของผู้ป่วยโรคออทิสติก

 

6. แคงก้า

แคงก้าแม่จิงโจ้ของหนูน้อยรู เธอมักเกิดความประหม่าและแคลงใจในสิ่งต่างๆ รอบตัวเสมอ เธอกลัวว่ารู ลูกของเธอจะทำอะไรเกินกำหนดและเกิดอันตราย มันจึงส่งผลต่อความสัมพันธ์ของเธอกับตัวละครอื่นๆ

อาจพูดได้ว่า แคงก้าคือสัญลักษณ์ของ โรควิตกกังวล (Anxiety) เพราะเธอมักเกิดอาการกลัวอย่างมากหากต้องออกไปทำกิจกรรมต่างๆ กับเพื่อนตัวอื่นๆ นอกบ้าน

 

7. อาวล์

เขาเป็นนกฮูกที่ดูฉลาดและสุขุมที่สุดในหมู่เพื่อน แต่เขาคือสัญลักษณ์ของ โรคการอ่านเขียนบกพร่อง (Dyslexia) เขาเป็นตัวละครเดียวในป่าที่สามารถอ่านได้และเขียนได้ แต่ส่วนมากเขาจะอ่านและเขียนผิดเสมอ

แม้จะมีข้อเสียตรงนี้ แต่อาวล์ก็เป็นอัจฉริยะได้ด้วยความพยายามอย่างหนักที่จะเรียนรู้ เฉกเช่นอัจฉริยะหลายคนที่เป็นโรคนี้ เช่น จอห์น เลนนอน และ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นต้น

 

8. คริสโตเฟอร์ โรบิน

เด็กหนุ่มคนนี้ดูปกติดีทุกอย่างเว้นเสียจากว่า เขามีการพูดคุยและทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับเพื่อนในจินตนาการของเขา เด็กปกติจะเลิกเล่นกับจินตนาการได้ง่ายดาย แต่คริสโตเฟอร์ โรบิน นั้นเล่นเป็นตุเป็นตะจนแยกจินตนาการกับความจริงไม่ออก

ฉะนั้น เขาคือสัญลักษณ์และตัวแทนของผู้ป่วย โรคจิตเภท (Schizophrenia) โรคนี้เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วย “หลุด” ออกจากโลกความเป็นจริง เขาจะได้รับเสียงหรือภาพที่ไม่ได้ปรากฏขึ้นจริงและแยกมันไม่ออกว่าเป็นความจริงหรือภาพหลอน นี่คือเหตุผลที่ทำไมคริสโตเฟอร์ โรบินถึงร่วมผจญภัยกับเพื่อนในจินตนาการได้

 

9. หมีพูห์

หมีอ้วนจอมตะกละตัวเอกของเรื่องอย่าง หมีพูห์ นั้นไม่ต้องเดาก็รู้ว่าต้องเป็นโรคเกี่ยวกับการกินแน่นอน ซึ่งถูกต้อง เขาเป็นตัวแทนของผู้ป่วย โรคกินไม่หยุด (Binge-Eating Disorder) ที่เขาจะไม่สามารถพึงพอใจได้เลยหากความอยากอาหารของเขายังคงอยู่

และอาการจากโรคนี้ยังทำให้เขามีอาการสูญเสียความภูมิใจแห่งตนไปด้วย เพราะเขามักกังวลเกี่ยวกับเรื่องน้ำหนักของตนเอง ขณะเดียวกันเขาก็กังวลเรื่องการหาน้ำผึ้งมาตุนไว้เยอะๆ อีกด้วย

นอกจากนี้ หมีพูห์ยังมีอาการของ โรคสมาธิสั้น (ADHD) อีกด้วยเพราะเขามักหลงลืมสิ่งที่กำลังจะทำ รวมถึงความคิดของเขามักแต่งออกเป็นเสี่ยงๆ และไม่สามารถจดจ่อกับอะไรได้นาน

 

แม้จะผิดหวังที่ตัวละครแสนน่ารักในวัยเด็กกลายเป็นแบบนี้ แต่อย่างน้อยก็การ์ตูนเรื่องนี้ก็สอนให้รู้เกี่ยวกับความผิดปกติทางจิตล่ะนะ

ที่มา: US National Library of Medicine และ shared

Comments

Leave a Reply