‘ความรัก’ ถือเป็นสิ่งที่แสนสวยงาม ทุกคนบนโลกล้วนแล้วแต่ถูกหล่อเลี้ยงกันด้วยความรัก แต่เพื่อนๆ รู้ไหมว่าความรัก หากมองในมุมจิตวิทยาแล้วมันมีหลากหลายประเภทเลยล่ะ
นี่คือ ‘รูปแบบของความรัก’ ที่ถูกจำแนกออกเป็น 7 ประเภทโดยนักจิตวิทยาวิทยาชาวอเมริกันที่มีชื่อว่า Robert Sternberg จะมีอย่างไรบ้างลองไปชมกัน…
1. ความหลงใหล
เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่ไม่ต้องการความเข้าใจซึ่งกันและกัน คู่รักต่างก็ไม่มองหาจุดเหมือนหรือจุดต่าง แต่พวกเขาก็ยังคงอยู่ด้วยกัน อย่างไรก็ตามรูปแบบความรักแบบนี้จะไม่ยั่งยืนและมั่นคง หลายๆ คู่มักจะเลิกกันไปหากมีความรักแบบนี้ให้แก่กัน
2. ความชอบ
ในรูปแบบความสัมพันธ์นี้คุณจะสามารถเป็นตัวของตัวเองได้ คู่รักจะถูกยึดติดกันด้วยคนสนใจทั่วๆ ไป อย่างเช่น มุมมองต่อชีวิต และความรู้สึกที่ถูกใครคนใดคนหนึ่งเข้าใจ
อย่างไรก็ตามหากคู่รักคู่ไหนที่อยู่ในรูปแบบความสัมพันธ์นี้สุดท้ายจะจบลงที่การเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันมากกว่าที่จะเป็นคนรัก
3. ความรักที่ว่างเปล่า
คู่รักที่เคยประสบกับความรักแบบนี้จะอยู่ด้วยกันเพียงเพราะว่ามีข้อผูกมัด โดยที่ไม่มีสนิทใกล้ชิดหรือความใคร่หลงเหลืออยู่เลย ซึ่งบางครั้งมันอาจจะเกิดขึ้นหลังจากที่ทั้งสองคนต่างก็รักกันไปจนถึงจุดที่อิ่มตัวมากๆ แต่แล้วจู่ๆ มันก็จะจางหายไป
แต่ในทางกลับกัน คู่รักที่เคยประสบกับความรักแบบนี้จะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการเติมเต็มทางด้านความรู้สึก และความใคร่ให้กันได้
4. ความรักที่เป็นเพียงภาพลวงตา
ความรักแบบนี้จะมีทั้งข้อผูกมัดและความใคร่ต่อกัน เหมือนกันกับความรักที่เกิดขึ้นกับคู่รักทั่วๆ ไป ทั้งสองคนพยายามที่จะเข้าหากันและจะปรับตัวอยู่ด้วยกัน
อย่างเช่น การใช้จ่ายในงานแต่งงานที่ฟุ่มเฟือย การให้คำมั่นสัญญาต่อกัน การแบ่งปันหน้าที่ในการทำงานบ้าน แต่ไม่มีความสนิทสนมกันเกิดขึ้นเลยในความสัมพันธ์
นักจิตวิทยาเชื่อว่าคู่รักที่มีความรักแบบนี้จะอยู่ด้วยกันได้เป็นเวลานาน แต่พวกเขาจะไม่ยอมรับคู่ของตัวเองให้เป็นเพื่อนคู่ชีวิตได้
5. ความรักโรแมนติก
ความรักแบบนี้จะประกอบไปด้วยความใคร่และความสนิทสนม คู่รักที่มีความรักแบบนี้จะมีแรงดึงดูดให้กันและกัน พวกเขาจะรู้สึกสบายใจเมื่อได้อยู่ใกล้ๆ กัน แต่พวกเขาจะไม่พร้อมที่จะก้าวไปสู่ความสัมพันธ์ที่มีข้อผูกมัดต่อกัน
ความรักแบบนี้จะทำให้พวกเขาไปไม่ถึงจุดที่แต่งงาน และสร้างครอบครัวอยู่ด้วยกัน
6. ความรักแบบเพื่อนคู่เคียง
ความรักแบบนี้จะประกอบด้วยข้อผูกมัดและความสนิทสนมต่อกัน ความรูปแบบความสัมพันธ์ที่มีความมั่นคงมากกว่าความสัมพันธ์แบบฉันเพื่อน และมีความดึงดูดต่อกันระหว่างคู่รัก
หลายๆ คนอาจจะมองว่าความสัมพันธ์แบบนี้ดีที่สุดแล้ว แต่นักจิตวิทยาระบุเอาไว้ว่าความสัมพันธ์แบบนี้จะขาดซึ่งความใคร่ต่อกัน
แต่อย่างไรก็ตามความรักแบบเพื่อนคู่เคียงนี้จะสามารถเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคู่รักมีความคุ้นเคยต่อกันมาเป็นเวลานานหลายปี หรือแต่งงานกันมานานแล้วนั่นเอง
7. ความรักบริบูรณ์
เป็นความรักที่ประกอบไปด้วยความใคร่ ความสนิทสนมใกล้ชิด และข้อผูกมัดต่อกัน แน่นอนว่าในแต่ละข้อนั้นจะมีระดับที่แตกต่างกัน แต่ที่สำคัญก็คือความรักในรูปแบบนี้จะมีส่วนประกอบทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับความรักอยู่ที่นี่ทั้งหมดแล้ว
ความรักบริบูรณ์จะเกิดขึ้นได้ยากมากๆ ซึ่งคู่รักจะต้องใช้ความพยายามในการสร้างมันขึ้นมาเป็นอย่างมาก พวกเขาจะมอบความรักอย่างแท้จริงให้แก่กัน
คู่รักที่มีความรักแบบนี้จะอยู่ด้วยกันได้เป็นระยะเวลานาน และมีความสุขกับชีวิตแต่งงานเป็นอย่างมาก
หากจะทำเป็นแผนภูมิให้ดูง่ายๆ ก็จะออกมาเป็นแบบนี้
โดยสรุปแล้วนักจิตวิทยามองว่าผู้คนนั้นจะมีประสบการณ์ผ่านรูปแบบความรักมากมายในช่วงชีวิต และรูปแบบความรักหลายๆ รูปแบบจะเกิดขึ้นกับคนรักเพียงคนเดียวก็ได้ กล่าวคือ หากคู่รักสนิทสนมกันมากขึ้นก็จะทำให้สามารถพัฒนาไปสู่รูปแบบความรักขั้นต่อไปได้
แต่บางครั้งรูปแบบความรักก็สามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบในคู่รัก 1 คู่ก็เป็นได้
แล้วเพื่อนๆ ล่ะมีความรักในรูปแบบไหนกันบ้าง ลองเล่าให้กันฟังได้นะครับ
ที่มา : brightside, psychologytoday
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.