การจัดการปัญหาขยะของสิงคโปร์ นำมาทิ้งถมลงทะเล สร้างเป็นเกาะเพิ่มพื้นที่สีเขียว!!

ด้วยลักษณะของประเทศที่เป็นเกาะ มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เล็กกว่ากรุงเทพฯ) และมีประชากรจำนวนเกือบ 6 ล้านคน แต่ทว่าสิงคโปร์กลับสามารถสร้างเกาะของตัวเองขึ้นมาใหม่ได้ จากการใช้ ‘ขยะ’ ที่ทิ้งกันเป็นประจำ

 

 

แนวทางการกำจัดขยะของประเทศสิงคโปร์ เริ่มเป็นรูปเป็นร่างให้เห็นมากขึ้น จากปัญหาพื้นที่อันจำกัดและความจริงจังในการแก้ปัญหาขยะมาหลายยุคสมัย

 

 

ทั้งนี้ขยะส่วนใหญ่ จะถูกนำมาฝังกลบบนเกาะปูเลาเซมาเกา อยู่ทางตอนใต้ของเกาะหลักประเทศสิงคโปร์ โดยจะทำการขนย้ายขยะมาทางเรือท้องแบน ก่อนที่จะทำการคัดแยกขยะและเผาขยะในโรงงานให้กลายเป็นขี้เถ้า

 

 

เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเผาด้วยความร้อนสูง จะทำการตรวจสอบว่าไม่มีสารพิษเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ก่อนจะนำไปถมก็จะทำการรองพื้นด้วยยาง ป้องกันเกิดเหตุรั่วไหลของมลพิษ

 

 

ตามช่องพื้นที่ถมขยะที่แบ่งเอาไว้แล้ว จะถูกถมด้วยรถขนขี้เถ้าอย่างต่อเนื่อง และรอคอยให้กระบวนการทางธรรมชาติปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นผืนดินต่อไป

 

 

ปัจจุบันกลายเป็นภาพที่น่าทึ่ง จากเกาะเล็กๆ ทางตอนใต้ที่ขึ้นชื่อว่าถูกถมกองมาจากขยะ กลับมีความสวยงามและมีพื้นที่สีเขียวอุดมสมบูรณ์ ไม่ต่างไปจากเกาะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 3.5 ตารางกิโลเมตร

 

 

สิ่งมีชีวิตทางท้องทะเลสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามปกติ มีแนวปะการังอันสวยงาม และมีป่าชายเลนคอยสร้างชีวิตชีวาให้กับระบบนิเวศอย่างยั่งยืน

 

 

และผลจากการถมขยะบนเกาะอย่างต่อเนื่อง นอกจากจะเป็นแหล่งกำจัดขยะหลักของประเทศสิงคโปร์แล้ว ก็ยังเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยว ที่เปิดให้ประชาชนเข้ามาสัมผัสธรรมชาติบนเกาะแห่งนี้ด้วย

 

ที่มา: nea, nytimes, nextshark


Tags:

Comments

Leave a Reply