เคยได้ยินตำนานของดอกนาร์ซิสซัสไหม? นี่เป็นหนึ่งในเรื่องเล่าจากเทพปกรณัมกรีกซึ่งเกี่ยวข้องกับชายหนุ่มที่ชื่อนาร์ซิสซัส ผู้เป็นหนุ่มรูปงามที่ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็มีแต่คนรัก
เรื่องราวของนาร์ซิสซัสนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละตำรา แต่หนึ่งในเรื่องที่มีชื่อเสียงคือเรื่องของนาร์ซิสซัส และเอคโค ซึ่งมีเรื่องราวคร่าวๆ อยู่ว่า
นาร์ซิสซัสเป็นหนุ่มรูปงามที่มีคนรักมาก และเจ้าตัวก็ทราบดีว่าตัวเองรูปงามขนาดไหน แต่ด้วยความที่เป็นคนทะนงตนมาก เขาจึงมองว่าคนที่มารักเขาล้วนไม่คู่ควรกับเขา และทำให้นาร์ซิสซัสไม่เคยมีความรักเสียที
ปัญหาคือหนึ่งในคนที่มาชอบนาร์ซิสซัสนั้นดันมีเหล่าเทพอยู่ด้วย และหนึ่งในนั้นก็คือเอคโค ผู้ซึ่งโดนคำสาปให้พูดได้แค่สิ่งที่คนอื่นพูดออกมาก่อนเท่านั้น (เป็นที่มาของเสียงเอคโคที่เรารู้จักนั่นล่ะ)
ด้วยเหตุนี้เองเอคโคที่ชอบนาร์ซิสซัสจึงไม่สามารถบอกรักเขาได้ และทำได้แค่ตามเขาไปเรื่อยๆ และการกระทำนี้เองที่ทำให้นาร์ซิสซัสรำคาญแบบสุดๆ เพราะรู้สึกว่าเอคโคกำลังล้อเลียนตัวเองด้วยการพูดซ้ำสิ่งที่ตนกล่าว
นั่นทำให้สุดท้ายนาร์ซิสซัสปฏิเสธรักของเอคโคไป และเมื่อไม่สามารถทำให้นาร์ซิสซัสรักได้เอคโคก็เสียใจมากจนตรอมใจตายไปในที่สุด เรื่องที่เกิดขึ้นทำให้เหล่าเทพโกรธมากจนสาปนาร์ซิสซัสให้หลงรักตัวเองเสีย
และคำสาปนี้เองก็ทำให้นาร์ซิสซัสที่ไปเห็นเงาตัวเองในน้ำหลงรักในเงานั้นมากจนไม่ย่อมขยับไปไหน จนสุดท้ายก็ตายกลายเป็นดอกไม้ไปในที่สุด (บางที่บอกว่านาร์ซิสซัสไม่ได้โดนสาปด้วยซ้ำ แค่ไปเห็นตัวเองในน้ำก็หลงรักแล้ว)
แต่ไม่ว่าจะอ้างอิงตำนานชิ้นไหน นาร์ซิสซัสก็จะมีลักษณะเด่นเรื่องความหลงตัวเองและทะนงตนอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้เองชื่อนาร์ซิสซัสจึงถูกนำไปเป็นชื่อเรียกของโรคหลงตัวเอง หรือนาซิซีติส (Narcisisitic) ไป
คนที่มีอาการนาซิซีติสนั้น มักจะคลั่งไคล้ตัวเองมากเกินกว่าปกติ มีความเครียดอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากกลัวความขายหน้า ไม่ยอมใช้ตัวเองตกอันดับ และมักต้องการให้คนอื่นสนใจตัวเองอยู่เสมอ
เชื่อกันว่าในปัจจุบันมีคนที่เข้าข่ายกลุ่มอาการนี้มากขึ้นจากสมัยก่อนด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีโซเชียลมีเดีย และด้วยความที่ว่าโรคนี้ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด คนที่อยู่ในกลุ่มนี้จึงอาจจะถูกเกลียดโดยไม่รู้ตัวได้ง่ายมากๆ
และเฉกเช่นนาร์ซิสซัสที่หลงรักเงาของตัวเองจนตาย คนที่มีอาการนาซิซีติสหนักๆ เองก็อาจจะลุกลามไปเป็นโรคซึมเศร้า หรือการฆ่าตัวตายได้เช่นกัน หากไม่ได้รับการดูแลที่ดีและถูกต้อง
ที่มา britannica, psychologytoday, honestdocs และ greekmyths-greekmythology
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.