ตั้งแต่ในอดีต การที่ได้เห็นธงของประเทศโบกสะบัด มักจะถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะอันยิ่งใหญ่ และสำหรับชาวโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว การได้เห็นภาพเช่นนั้นก็ช่วยเรียกขวัญกำลังใจกลับคืนสู่ประเทศได้ดีเลยทีเดียว
ภาพการชูธงที่ไรชส์ทาค อันต้นฉบับ ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 1945
นี่คือภาพ “การชูธงที่ไรชส์ทาค” ภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่มีการถ่ายไว้เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 1945 และเป็นสัญลักษณ์แสดงชัยชนะของสหภาพโซเวียตต่อนาซีเยอรมันอีกด้วย
อย่างไรก็ตามภาพนี้มีความแตกต่างจากภาพ “การปักธงที่อิโวจิมา” ของฝั่งสหรัฐอเมริกาที่ออกมาก่อนอย่างมาก เพราะนี้เป็นภาพที่เต็มไปด้วยการจัดฉาก และการแก้ไข
เดิมทีแล้วภาพการชูธงที่ไรชส์ทาคก็ได้แรงบันดาลใจมาจากการปักธงที่อิโวจิมามาตรงๆ อยู่แล้ว เพราะนี่เป็นภาพที่เกิดขึ้นจากการที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของโซเวียต สั่งให้ Yevgeny Khaldei ผู้เป็นช่างภาพเดินทางไปถ่ายภาพที่เบอร์ลินโดยตรงเลย
กว่าจะได้ภาพนี้ออกมา Khaldei เลือกสถานที่อยู่หลายที่ ไม่ว่าจะเป็นประตูบรันเดินบวร์ค หรือท่าอากาศยานเบอร์ลินเท็มเพิลโฮฟ จนสุดท้ายก็มาจบที่อาคารไรชส์ทาคสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ในกรุงเบอร์ลิน
อันที่จริงพวกทหารได้มีการปักธงไว้ที่นี่มาก่อนหน้านั้นหลายวันแล้ว แต่ก็มีการเอาธงออก เพื่อที่จะถ่ายภาพดังกล่าวโดยเฉพาะ
ปัญหาคือหลังจากถ่ายภาพดังกล่าวเสร็จ เจ้าหน้าที่กองเซนเซอร์ของโซเวียตกลับสังเกตเห็นว่าที่ข้อมือของทหารในภาพนั้นมีนาฬิกาอยู่ทั้งสองข้างเสียนี่
จริงอยู่ว่ามีเสียงบอกว่าบอกว่าสิ่งที่เหมือนนาฬิกานี้ จริงๆ แล้วเป็นเข็มทิศ Adrianov ต่างหาก อย่างไรก็ตามการที่มีสิ่งที่เหมือนนาฬิกาอยู่บนข้อมือถึงสองอันก็อาจจะทำให้ประชาชนเข้าใจว่าทหารในภาพปล้นนาฬิกามาจากศพก็เป็นได้
ด้วยเหตุนี้เองภาพดังกล่าวจึงถูกนำไปปรับปรุ่งแก้ไขใหม่อีกครั้ง โดยมีการเพิ่มความชัดเจนของควันในภาพ และลบนาฬิกาที่ข้อมือขวาออกไป และรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อีกมากมาย
ภาพที่ออกสู่สายตาประชาชน
โชคร้ายที่แม้ว่านี่จะทำให้ภาพดูดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้ความขลังของภาพลดลงไปด้วย จนทำให้สุดท้ายแม้โซเวียตจะพยายามโฆษณาภาพนี้มากแค่ไหน พวกเขาก็ไม่สามารถทำให้ภาพดังกล่าวกินใจคนได้เท่ากับการปักธงที่อิโวจิมาอยู่ดี
ที่มา rarehistoricalphotos
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.