“Durdak Garcham” ประเพณีประหลาดของชาวทิเบต ที่ให้โครงกระดูกออกมาเต้นระบำ

บนปกของนิตยสาร National Geographic ฉบับประจำเดือนพฤศจิกายน 1928 ได้มีการนำภาพสุดประหลาดของคนที่ใส่ชุดโครงกระดูกมาลง จนกลายเป็นภาพที่มีชื่อเสียงของสมัยนั้นไป

 

 

นี่คือภาพที่ถูกถ่ายไว้ในปี 1925 และนำมาผ่านเทคนิค Autochrome เพื่อแต่งเติมสีให้กับภาพขาวดำก่อนจะนำไปขึ้นปกนิตยสาร โดยเป็นภาพของนักเต้นชาวทิเบตที่กำลังประกอบพิธีกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่

พิธีกรรมการเต้นที่เห็นนี้มีชื่อว่า “Durdak Garcham” หรือ “ระบำเทพเจ้าแห่งโครงกระดูก” ซึ่งเป็นพิธีกรรมของชาวพุทธเชื้อสายหิมาลายัน (น่าจะเป็นนิกายวัชรยาน)

 

 

ว่ากันว่าผู้เต้นจะเป็นตัวแทนของ “Chitipati” คู่รักผู้เป็นผู้ปกครองพื้นดินของสุสาน ผู้มีตาแห่งภูมิปัญญา ใส่มงกุฎที่ทำจากกะโหลกเล็กๆ ถือคทาที่ทำจากหัวและกระดูกสันหลังมนุษย์ และครอบครองกะโหลกที่เรียกว่า Kapala

 

 

อย่างไรก็ตามการเต้นระบำเทพเจ้าแห่งโครงกระดูก บางครั้งก็จะถูกบอกว่าเป็นการแสดงโดยพระสี่รูปซึ่งเปรียบเสมือนกองทัพแห่งความดีของพระยมราชแทน จึงเป็นไปได้ว่าการเต้นระบำนี้ อาจมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่

 

 

แต่ไม่ว่าจะมีรากฐานมาจากไหน การประกอบพิธีในรูปแบบนี้ก็มีจุดร่วมเดียวกันคือ เพื่อสะท้อนถึงความไม่เที่ยงของสิ่งต่างๆ รวมถึงร่างกายและจิตใจนั่นเอง

 

ที่มา rarehistoricalphotoscultofweirdposttoday

Comments

Leave a Reply