ตามปกติแล้ว เวลามีการค้นพบทางประวัติศาสตร์ การสันนิษฐานเบื้องต้นของนักโบราณคดีผู้เชี่ยวชาญก็มักจะได้รับความน่าเชื่อถือมากที่สุด และบ่อยครั้งการสันนิษฐานดังกล่าวก็มักจะถูกต้องเสียด้วย
แต่ก็ในประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษย์นั้นก็ใช่ว่าจะไม่มีเหตุการณ์ที่นักโบราณคดีสันนิษฐานผิดเลยเช่นกัน แถมบางครั้งยังมั่วสุดๆ ผิดไปคนละโลกเลยด้วย เหมือนดังเช่นการค้นพบทั้ง 4+1 ครั้งต่อไปนี้
จารึกหินที่ Runamo
นี่เป็นร่องรอยบนหินที่นักโบราณคดี พยายามไขความลับกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 และเชื่อกันว่าเป็นภาษาโบราณที่สูญหายไปเมื่อนานมาแล้ว
แต่แล้วในช่วงยุค 1800 เมื่อเทคโนโลยีเรื่องพัฒนาไป ในที่สุดนักโบราณคดีก็พบความจริงของจารึกหินที่ Runamo จนได้ เพราะแท้จริงแล้วเจ้าร่องรอยบนหินที่เราเห็นนั้น มันก็แค่รอยแตกของหินเท่านั้นเอง… อ้าว…
รูบนกะโหลกมนุษย์นีเอนเดอร์ธัล
ในปี 1921 ได้มีการพบกะโหลกมนุษย์นีเอนเดอร์ธัล ที่ในเวลานั้นอ้างกันว่ามีอายุราว 38,000 ปีและมีรูอยู่ที่ด้านข้างของกะโหลก ซึ่งในยุคโบราณขนาดนั้นเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการเจาะกะโหลกเพื่อรักษาโรค
ดังนั้นนักโบราณคดีกลุ่มหนึ่งจึงคิดทฤษฎีสุดประหลาดที่ว่ามนุษย์นีเอนเดอร์ธัลถูกยิงด้วยปืนจากคนที่ย้อนเวลาไปขึ้นมา
โชคดีที่ไม่นานหลังจากนั้นความจริงก็ถูกเปิดเผยออกมา เพราะไม่เพียงแต่รูบนกะโหลกจะไม่ได้มาจากปืนเท่านั้น แต่กะโหลกที่พบนั้น จริงๆ แล้วก็มีอายุถึง 125,000-300,000 ปีเลยด้วย
ส่วนรูที่อยู่บนกะโหลกเองนั้น เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียและไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เจ้าของกะโหลกเสียชีวิตแต่อย่างใดเลย
อนุสรณ์สถานเกรท ซิมบับเว
ในเวลาที่มีการค้นพบอนุสรณ์สถานแห่งนี้ มีนักโบราณคดีบางส่วนเชื่อว่าเกรท ซิมบับเวสร้างโดยคนจากฝั่งยุโรป (ทั้งๆ ที่มันตั้งอยู่ในตอนใต้ของแอฟริกา) และพยายามหาหลักฐานมายืนยันอยู่เป็นเวลานาน
โชคดีที่ในเวลาต่อมามีคนที่พิสูจน์ได้ว่าที่แห่งนี้สร้างขึ้นมาโดยอาณาจักรซิมบับเวในสมัยก่อนจริงๆ
ส่วนเหตุผลที่ที่นักโบราณคดีกลุ่มดังกล่าวเชื่อว่าเกรท ซิมบับเวสร้างขึ้นโดยคนจากฝั่งยุโรปนั้น มาจากการที่พวกเขาเชื่อว่าคนแอฟริกาไม่น่าจะสร้างอะไรที่ยิ่งใหญ่แบบนี้ได้นั่นเอง
แผนที่ปีรีรีส
นี่เป็นแผนที่จากศตวรรษที่ 16 ที่ทำให้คนเชื่อว่าโคลัมบัสค้นพบแอนตาร์กติกาอยู่ช่วงหนึ่งเลย เพราะนี่เป็นแผนที่ที่มีการวาดทวีปแอนตาร์กติกาเอาไว้ และว่ากันว่าได้แรงบันดาลใจมาจากแผนที่ของโคลัมบัสเอง
แน่นอนว่าแท้จริงแล้วไม่ใช่อย่างนั้นเลยสักนิด เพราะนอกจากแผนที่อันนี้จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับโคลัมบัสเลยแม้แต่น้อยแล้ว ยังมีความเป็นไปได้สูงที่ พีรี เรอีส เจ้าของแผนที่ดังกล่าวจะแค่มั่วแผนที่ออกมาเองอีกด้วย
แถม: เคนซิงตัน รูนสโตน
เรื่องที่ว่าชาวไวกิ้งพบทวีปอเมริกาก่อนโคลัมบัสนั้น เป็นเรื่องที่มีความเป็นไปได้ในทางประวัติศาสตร์จากหลักฐานหลายๆ ชิ้น อย่างไรก็ตามเคนซิงตัน รูนสโตนกลับเป็นหนึ่งในหลักฐานที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ของแนวคิดนี้
เพราะจริงอยู่ว่าจารึกอันนี้จะมีการกล่าวถึงเรื่องที่ไวกิ้งไปที่ทวีปอเมริกาไว้อย่างชัดเจนมากในตอนที่พบเป็นครั้งแรก แต่จากการวิเคราะห์อย่างละเอียดแล้ว ตัวอักษรที่อยู่บนจารึกกลับมีการใช้ไวยากรณ์แบบสวีเดนปัจจุบัน
นั่นทำให้มีความเป็นไปได้ว่าคำจารึกบนศิลานี้จะเป็นเพียงของปลอม หรือไม่ก็ถูกสลักลงไปในภายหลังเท่านั้น อย่างไรก็ตาม นักโบราณคดีก็ยังไม่มีหลักฐานที่จะชี้ชัดว่าศิลานี้เป็นของปลอมเช่นกัน
และแม้ในปัจจุบันคนในพื้นที่จำนวนมากก็ยังเชื่อว่าเคนซิงตัน รูนสโตนอันนี้เป็นของจริงอยู่ดี
ที่มา ranker
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.