เปิดตำนาน “อินทรีโลหิต” การลงทัณฑ์ของไวกิ้ง ที่โหดสุดๆ จนไม่มีใครเชื่อว่ามีการใช้งานจริงๆ

เคยได้ยินเรื่อง “Blood Eagle” หรือ “อินทรีโลหิต” ของไวกิ้งกันมาก่อนไหม นี่เป็นการทรมานและประหารชีวิตโดยการหักกระดูกซี่โครง และกระดูกสันหลังของเหยื่อมาทำเป็น “ปีก” ให้กับเหยื่อ แถมบางครั้งยังดึงปอดออกมาด้วย

 

 

นี่เป็นวิธีการลงโทษที่ปรากฏออกมาในกลุ่มชาวสแกนดิเนเวียโบราณ ที่อ้างว่าเหยื่อจะยังคงมีชีวิตจนกว่าจะจบการลงโทษ และถูกอธิบายไว้อย่างละเอียดในตำนานและเรื่องเล่าหลายเรื่องในสมัยนั้น

การลงโทษแบบอินทรีโลหิตที่เก่าแก่ที่สุด เชื่อกันว่าเกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 867 หรือก่อนหน้านั้นเล็กน้อย เมื่อราชาแห่งนอร์ทัมเบรีย (มณฑลทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษในปัจจุบัน) ฆ่าผู้นำของไวกิ้งด้วยการโยนใส่หลุมงูพิษ

 

Ragnar Lothbrok ผู้นำของไวกิ้งที่ถูกฆ่า

 

นั่นทำให้ลูกชายของผู้นำไวกิ้งโกรธมากจนบุกอังกฤษ และจับราชาแห่งนอร์ทัมเบรียสังหารอย่างโหดเหี้ยมด้วย วิธีอินทรีโลหิต

อย่างไรก็ตามนักประวัติศาสตร์บางคนมองว่าวิธีการประหารแบบอินทรีโลหิตนั้นน่าจะเป็นเพียงแค่เรื่องแต่งและไม่มีอยู่การใช้งานจริงๆ เพราะการที่อ้างว่าเหยื่อจะยังมีชีวิตตลอดกระบวนการนั้นเป็นไปได้ยากมาก

นอกจากนี้เรื่องของราชาแห่งนอร์ทัมเบรียที่กล่าวมาก็มีจุดบอดอยู่มาก เช่นเรื่องที่ในนอร์ทัมเบรียนั้นแทบไม่มีงูพิษเนื่องจากอากาศหนาวเกินไป ทำให้การฆ่าผู้นำไวกิ้งด้วยการโยนใส่หลุมที่เต็มไปด้วยงูพิษเป็นไปได้ยาก

 

ภาพราชาแห่งนอร์ทัมเบรียในตอนที่ทราบข่าวการมาล้างแค้นของไวกิ้ง

 

เป็นไปได้ว่าอินทรีโลหิตจะเป็นเพียงเรื่องเล่าในสมัยก่อนที่ทำขึ้นเพียงเพื่อให้ภาพลักษณ์ของไวกิ้งดูน่ากลัวก็เป็นได้

อย่างไรก็ตามการลงทัณฑ์แบบอินทรีโลหิตนั้นไม่ได้เกิดกับราชาแห่งนอร์ทัมเบรียคนเดียวเท่านั้น เพราะมีเรื่องเล่าว่าราชาอื่นๆ อย่างน้อย 4 คนก็ถูกประหารด้วยวิธีนี้

นอกจากนี้อินทรีโลหิตยังมีขั้นตอนการลงมือสืบทอดต่อกันมาในยุคสมัยที่ละเอียดเป็นอย่างมาก ถึงขั้นที่ว่าต่อให้ไม่เคยมีการใช้มาจริงๆ แต่หากจะทำก็จะสามารถทำได้จริงอย่างสมบูรณ์แบบ (แต่ไม่รับประกันว่าเหยื่อจะรอดจนสุดกระบวนการรึเปล่านะ)

 

บันทึกบนแผ่นหินของไวกิ้งที่มีการแสดงภาพการทำพิธีที่คล้ายกับอินทรีโลหิต

 

และแม้ว่า อินทรีโลหิต “อาจจะ” เป็นเพียงเรื่องเล่าก็ตาม แต่ความน่ากลัวและโหดร้ายของการประหารแบบนี้ ก็มากพอที่จะทำให้มันถูกจดจำมาตลอดนั่นเอง

 

ที่มา allthatsinteresting

Comments

Leave a Reply