นักโบราณคดีพบ “ระบบทางลาด” อายุ 4,500 ปีที่อียิปต์ เชื่อช่วยไขปริศนาการสร้างพีระมิดได้

ความลับที่อยู่เบื้องหลังการสร้างพีระมิดแห่งอียิปต์นั้น แม้จะมีทฤษฎีมากมายถูกคิดค้นออกมาโดยนักวิทยาศาสตร์ แต่ก็ยังคงเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันอย่างไม่จบไม่สิ้นอยู่ดี

 

 

อย่างไรก็ตามเมื่อล่าสุดนี้เอง ทางนักโบราณคดีของอียิปต์ก็ได้พบเข้ากับหลักฐานชิ้นใหม่ล่าสุด ที่อาจจะมาช่วยไขความลับเบื้องหลังการขนอิฐขนาดใหญ่ขึ้นไปบนพีระมิดแล้วก็เป็นได้

เพราะเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมานี้เอง ได้มีการค้นพบร่องรอยของ “ระบบทางลาด” เก่าแก่ที่มีอายุกว่า 4,500 ปีใกล้ๆ กับเหมืองหินโบราณดี Hatnub ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของทะเลทรายในอียิปต์เข้าแล้ว

 

 

นี่เป็นการค้นพบที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างสถาบันโบราณคดีแห่งประเทศฝรั่งเศสในกรุงไคโร และมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลในอังกฤษ

โดยการค้นพบในครั้งนี้ ทำให้เราเห็นถึงความเป็นไปได้ว่าที่ว่าหินที่ใช้สร้างมหาพีระมิดแห่งกีซานั้น น่าจะถูกขนย้ายด้วยระบบเส้นทาง ที่มีทางลาดอยู่กลางบันไดคล้ายทางขึ้นลงบันไดสำหรับคนพิการในปัจจุบัน

 

 

Yannis Gourdon ผู้อำนวยการของภารกิจร่วมในครั้งนี้ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าระบบเส้นทางในลักษณะนี้จะทำให้มนุษย์สามารถขนย้ายหินขนาดใหญ่ผ่านทางลาดชันได้มากกว่าปกติ

เป็นไปได้ว่าคนในสมัยก่อนจะวางหินบนเลื่อนที่ทำจากไม้ และใช้เชือกผูกเลื่อนไว้กับเสาไม้อีกที ซึ่งการทำแบบนี้ จะช่วยเพิ่มแรงในการดึงขึ้น ส่งผลให้การเคลื่อนย้ายหินเป็นไปได้โดยง่ายนั่นเอง

 

 

นี่เป็นระบบที่ไม่เคยมีการค้นพบมาก่อน อย่างไรก็ตามเครื่องมือที่จำเป็นในการทำงานระบบดังกว่ามีการบันทึกไว้ในสมัยของฟาโรห์คูฟู ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าการใช้งานทางลาดจะมีที่มามาจากในยุคสมัยดังกล่าวหรือก่อนหน้า

จริงอยู่ว่านักวิทยาศาสตร์หลายๆ กลุ่มจะลงความเห็นกันว่าพีระมิดนั้นสร้างด้วยระบบทางลาดมานานแล้ว แต่นี่ก็เป็นครั้งแรกที่เรามีหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า “ประเภทของทางลาด” ที่เคยมีการใช้ในสมัยก่อนนั้นเป็นอย่างไรกันแน่

 

หนึ่งในแนวคิดการใช้ทางลาดเพื่อสร้างพีระมิด

 

แต่ถึงแม้การค้นพบนี้จะไขปริศนาเรื่องวิธีใช้ทางลาดได้ แต่ปริศนาการสร้างพีระมิดแห่งอียิปต์นั้น ก็ยังคงมีบางส่วนที่ยังไม่ได้รับการไขให้กระจ่างอยู่ดี

 

ที่มา livesciencerealmofhistory

Comments

Leave a Reply