ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2018 ได้เกิดเหตุเครื่องบินโบอิ้ง 737-700 ของสายการบิน Southwest Airlines ลงจอดฉุกเฉินเมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย เนื่องจากเกิดเหตุเครื่องยนต์ระเบิดบนอากาศ
บนเครื่องบินลำดังกล่าวประกอบด้วยผู้โดยสาร 144 ราย และลูกเรืออีก 5 คนด้วยกัน ซึ่งอุบัติเหตุในครั้งนี้เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 7 ราย บาดเจ็บสาหัส 1 ราย และเสียชีวิต 1 รายด้วยกัน
โดยผู้เสียชีวิตในครั้งนี้คือนาง Jennifer Riordan ผู้โดยสารหญิงวัย 43 ปี ซึ่งหลุดออกจากเครื่อง ในระหว่างที่เกิดเหตุ
หลังจากอุบัติเหตุครั้งนี้ได้มีการตรวจสอบหาสาเหตุของการระเบิด และล่าสุดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2018 ที่ผ่านมา ทางคณะกรรมการความปลอดภัยทางการคมนาคมแห่งชาติสหรัฐฯ (NTSB) ได้เปิดเผยรายงานการพิจารณาการไต่สวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น
โดยได้ระบุว่าสาเหตุมาจากใบพัดของเครื่องบินเกิดการแตกหัก เป็นเหตุให้เครื่องยนต์เกิดระเบิด และสะเก็ดเหล็กกระเด็นไปถูกหน้าต่างเครื่อง ในขณะที่กำลังบินสูง 32,000 ฟุต
นอกจากนี้ สื่อต่างประเทศยังได้รายงานคำให้การของ Rachel Fernheimer หนึ่งในลูกเรือผู้เห็นเหตุการณ์อีกด้วย
โดยเธออ้างว่า เห็นจังหวะที่ร่างของ Jennifer กำลังหลุดออกจากเครื่องบิน ซึ่งขณะนั้นเธอกำลังช่วยเหลือผู้โดยสารรายอื่นใส่หน้ากากออกซิเจนอยู่
ลูกเรือสาวเล่าว่า เธอเห็นลำตัว แขนและหัวของผู้โดยสารถูกแรงลมดูดออกไปนอกเครื่อง แต่ได้ลำตัวส่วนล่างของเธอรั้งร่างกายให้ไม่ปลิวออกไปเนื่องจากคาดเข็มขัดนิรภัยเอาไว้ และเห็นเลือดสาดกระจายเปื้อนตัวเครื่องด้านนอก
ความแรงของลมเกือบดึงร่างของ Jennifer ออกจากเครื่อง ในขณะที่เพื่อนร่วมงานของเธอที่นั่งอยู่ข้างๆ พร้อมผู้โดยสารชายอีก 2 คนพยายามดึงร่างกายส่วนบนของเธอให้กลับเข้ามาในเครื่อง
ซึ่งในตอนนั้นเอง ผู้โดยสารรายหนึ่งได้เอื้อมมือออกไปด้านนอก คว้าไหล่ และดึงเธอเข้ามาได้สำเร็จ
Jennifer Riordan ผู้เสียชีวิต
ผู้โดยสารรายหนึ่งพยายามช่วยชีวิตเธอด้วยการทำ CPR แต่โชคร้ายที่ไม่สามารถช่วยชีวิตเธอเอาไว้ได้
มีการเปิดเผยเสียงจากเครื่องสื่อสารภายในเครื่อง ซึ่ง Seanique Mallory พนักงานต้อนรับบนเครื่องอีกรายหนึ่ง ที่พยายามติดต่อกับกัปตันในตอนที่เกิดเหตุ
“มีหน้าต่างบานหนึ่งเปิดออก มีผู้โดยสารคนหนึ่งเกือบหลุดออกไปนอกเครื่องบิน ใช่ตอนนี้คนอื่นๆ นั่งอยู่กับที่ เราได้ผู้โดยสารช่วยเอาตัวเธอกลับเข้ามา
ตอนนี้ฉันยังไม่ทราบอาการของเธอ แต่กระจกหน้าต่างหลุดออกไปแล้ว” เสียของพนักงานจากวิทยุสื่อสารภายในเครื่อง
NTSB พุ่งประเด็นการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ไปที่การออกแบบและการตรวจสอบใบพัดของเครื่องบิน ซึ่งให้ทาง CFM International เป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบ
ซึ่งทางวิศวกรรมของ CFM เผยว่าใบพัดของเครื่องบินลำดังกล่าว มีการตรวจสอบครั้งล่าสุดเมื่อปี 2012 ซึ่งคาดว่าอาจจะมีรอยแตกร้าวเนื่องจากอายุการใช้งานที่มากเกินไป
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.