เป็นเรื่องที่ทราบกันดีกว่า สหรัฐอเมริกานั้นเป็นประเทศที่ประกอบไปด้วยผู้คนจากหลากหลายเชื้อชาติ ที่เข้ามายัง “โลกใบใหม่” แห่งนี้เพื่อลงหลักปักฐานในดินแดนที่แทบจะยังไม่มีใครรู้จักมาก่อน
นั่นทำให้ที่ด้านตรวจคนเข้าเมืองของที่นิวยอร์ก ได้เห็นผู้คนจากหลายสถานที่ หลากวัฒนธรรมซึ่งแต่งกายมาในชุดประจำชาติของตัวเองอยู่เสมอๆ จนสามารถนำมารวมเป็นอัลบั้มดีๆ ได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปี 1892-1954
จริงอยู่ว่าพวกเขาอาจจะไม่ใช่คนที่มีความสำคัญอะไร แต่ลำพังความหลากหลายของเชื้อชาติเองก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างไม่น่าเชื่อแล้ว
ด้วยเหตุนี้เองช่างภาพมือสมัครเล่น Augustus Francis Sherman จึงได้ออกถ่ายภาพของพวกเขาเก็บเอาไว้ ก่อนที่ภาพเหล่านั้นจะถูกเก็บและแต่งเติมสีสันข้ามกาลเวลา
จนในที่สุด ภาพเหล่านั้นก็ออกมาเป็นผลงานอันน่าดึงดูดใจ ที่เพื่อนๆ กำลังจะได้ชมกันข้างล่างนี้
เริ่มกันจากภาพของหญิงสาวชาวอิตาลี ในชุดพื้นเมืองประจำชาติ
คนแอลจีเรียผู้สวมชุดที่เรียกกันว่า Kaftan กับผ้าโพกหัวที่เรียกว่า Kufiya เอาไว้
ชาวซามิ หรือ “แลปแลนเดอร์” ชนพื้นเมืองที่อยู่อาศัยในแถบอาร์กติกในชุดประจำชาติ
หญิงชาวนอร์เวย์สวมชุดแบบดั้งเดิมที่มีหมวกคลุมผม เพื่อระบุสถานภาพการสมรส
เป็นชาวโรมาเนีย ที่มาพร้อมกับเครื่องเป่าประจำตัว
ชายชาวเดนมาร์ก ในชุดเสื้อขนสัตว์ที่มีกระดุมทำจากเงิน แสดงถึงสถานะที่ร่ำรวยได้เป็นอย่างดี
ผู้หญิงชาวดัตช์ที่ สวมหมวกขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่มีชื่อเสียงของชุดประจำชาติเนเธอร์แลนด์
นักบวชออร์โธดอกซ์ชาวกรีก ในชุดคลุมยาวถึงข้อเท้า
ทหารจากอัลบาเนีย (หรือแอลเบเนีย) ในชุดที่ออกแบบมาโดยคำนึกถึงลักษณะภูมิภาคของประเทศ และฐานะของผู้ใส่เป็นหลัก
ผู้หญิงชาวกวาเดอลุป เกาะที่มีฐานะเป็นแคว้นของประเทศฝรั่งเศส ในชุดพื้นเมืองของเธอ
ชายชาวบาวาเรีย ซึ่งเป็นรัฐอิสระของเยอรมัน กับกางเกงหนัง และเสื้อขนสัตว์
ผู้หญิงจากสาธารณรัฐเล็มโก-รูซึน ซึ่งในเวลานั้นยังไม่ถูกรวมเข้ากับโปแลนด์
คนเลี้ยงแกะชาวโรมาเนียในชุดประจำอาชีพคนเลี้ยงแกะ ที่แน่นอนว่าทำจากขนแกะ
เด็กชายชาวฮินดู ผู้สวมหมวกอันเป็นเอกลักษณ์ และผ้าคลุมไหล่ที่ใช้ในทางศาสนา
หญิงสาวจากแคว้นอาลซัส (อดีตแคว้นในประเทศฝรั่งเศส) สวมโบว์ขนาดใหญ่ที่เป็นสัญลักษณ์ของหญิงโสด
และทหารคอสแซค ที่คาดว่ามาจากกองทหารคอสแซคกลุ่มอุสซูรี จากการแต่งตัวของเขา
ที่มา theguardian, buzzfeed
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.