เคยลองคิดกันดูไหมว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากยานอวกาศที่เรานั่งหลงทางอยู่ในห้องอวกาศ ในเวลาแบบนั้นเราจะสามารถใช้อะไรมาช่วยในการนำทางกัน ในเมื่อ GPS ใช้ในอวกาศไม่ได้ แถมดาวเหนือเองก็บอกได้แค่ว่าคุณหันไปทางไหนอยู่เท่านั้น
แน่นอนว่าเรื่องนี้ก็เป็นสิ่งที่เหล่านักวิทยาศาสตร์คิดถึงกันมาเป็นเวลานานเช่นกัน และสำหรับองค์การอวกาศยุโรป (ESA) แล้ว คำตอบของการนำทางในอวกาศก็อยู่ที่หลุมดำนั่นเอง
โดยหลุมดำที่เหมาะสมกับการใช้นำทางที่ว่า คือหลุมดำที่สามารถปลดปล่อยพลังงานเป็นแสงสว่าง หรือที่เรียกว่า “เควซาร์” นั่นเอง เพราะเจ้าวัตถุกลางอวกาศชิ้นนี้นั้น สามารถส่องสว่างได้มากกว่าดาวฤกษ์ทั่วๆ ไป ถึง 1,000 เท่าเลยทีเดียว
นั่นทำให้เควซาร์กลายเป็นเหมือนประภาคาร ที่นำทางให้กับยานอวกาศได้เป็นอย่างดี และการนำทางในรูปแบบนี้ ก็ถูกเรียกกันว่า “Delta-Differential One-Way Ranging” หรือ “Delta-DOR” นั่นเอง
โดยในระบบ Delta-DOR สัญญาณของยานอวกาศจะถูกรับโดยสถานีบนโลก 2 แห่ง ก่อนที่จะนำไปคำนวณกับเควซาร์ เพื่อหาตำแหน่งที่ชัดเจน และแม่นยำของตัวยานต่อไป
การทำงานแบบคราวๆ ของ Delta-DOR
และเมื่อที่ได้ตำแหน่งที่ถูกต้องแน่นอนของยานอวกาศแล้ว ทีมนักวิทยาศาสตร์ก็จะทำการส่งข้อมูลกลับไปให้ตัวยาน เพื่อนำตัวยานกลับไปสู่เส้นทางที่ถูกต้องต่อไปนั่นเอง
ที่มา scitechdaily และ newscientist
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.