หนุ่มมีแฟนเป็น “โรคตื่นตระหนกและโรควิตกกังวล” จึงออกมาแชร์ 7 วิธีรับมือกับอาการ

ต้องยอมรับว่าความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการรับมือกับผู้ที่มี อาการทางจิต ของคนทั่วๆ ไปยังถือว่าน้อย หากว่าไม่ได้เป็นผู้ที่รับการศึกษาด้านนี้หรือเป็นผู้ที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ป่วยทางจิตมาก่อน ก็อาจรับมือได้ยากทีเดียว

และวันนี้หนุ่มคนหนึ่งที่แฟนสาวของเขาเคยมีอาการของ โรคแพนิก และ โรควิตกกังวล ก็จะมาเขียนเล่าถึงวิธีการรับมือกับอาการตื่นตระหนกและวิตกกังวล ที่เขาได้เรียนรู้มาจากแฟนสาว

 

 

สถิติจาก Anxiety and Depression Association of America เผยว่าในชาวอเมริกันกลุ่มโรควิตกกังวล (รวมโรคแพนิกด้วย) นั่นเป็นความเจ็บป่วยทางจิตที่พบบ่อยที่สุด

กระนั้นกลุ่มโรควิตกกังวลนับว่าเป็นกลุ่มโรคที่รักษาได้ง่าย แต่ก็มีผู้ป่วยเพียง 36.9 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่เข้ารับการรักษา

แล้วเราจะทำอย่างไรเมื่อพบว่าตัวเองหรือคนรอบข้างมีอาการของโรคแพนิกและโรควิตกกังวล ลองไปอ่านที่หนุ่มคนดังกล่าวเขียนอธิบายเอาไว้กันเลยดีกว่า…

 

 

นี่คือสิ่งที่ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาการแพนิกจากแฟนของผม

1. พยายามอย่ากอดบ่อย มันใช้เวลานานมากนะกว่าแฟนผมจะรู้สึกดีขึ้นเวลาที่ถูกกอดให้ใจเย็นลง เพราะการกอดมันทำให้เธอรู้สึกเหมือนถูกบังคับให้หยุดตื่นตระหนก

2. เวลาที่พวกเขาไม่ตอบคุณไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่สนใจคุณนะ แต่บางครั้งเป็นเพราะพวกเขายังไม่พร้อมคุยเท่านั้นเอง อาการแพนิกบางทีก็มาตอนทะเลาะกันนั่นแหละ หลายครั้งผมก็ใช้วิธีการเงียบใส่และมันผิดพลาดมาก อันที่จริงถ้าคุณอยากคุยแต่เขายังไม่อยากคุย ก็แค่ลองใช้นิ้วสะกิดพวกเขาเบาๆ ดู

3. หายใจให้ดังๆ เข้าไว้ คุณเคยได้ยินไหมว่าหากเรากอดหรือคลอเคลียกับใคร เราจะหายใจพร้อมๆ กันโดยอัตโนมัติ หรือหากมีใครมาสูดหายใจลึกๆ ใกล้ๆ คุณมันก็จะทำให้คุณอยากหายใจตามจังหวะของคนๆ นั้น

เช่นเดียวกันเลย เมื่อพวกเขาเกิดอาการแพนิกและหายใจแรงแบบควบคุมไม่ได้ ให้คุณหายใจดังๆ ช้าๆ และพวกเขาก็จะค่อยๆ ปรับจังหวะหายใจเข้าหาคุณเอง

4. ใช้ภาษากายช่วยกำหนดจังหวะของการหายใจด้วย อาจจะใช้มือ แขน หรือลูบหลังของพวกเขาให้เป็นจังหวะก็ได้ เพื่อช่วยให้พวกเขามีการปรับจังหวะหายใจที่แม่นยำและรวดเร็วขึ้น

 

 

5. คุณสามารถบอกพวกเขาให้ “หยุด” หรือ “ใจเย็นลง” ได้ แต่ต้องพูดแค่นี้ ห้ามไปต่อว่าพวกเขานะ ถ้าสมมติว่าคุณสังเกตเห็นอาการแพนิกได้ก่อน ก็ให้พูดอย่างใจเย็นว่า “ไม่เป็นไรนะ ใจเย็นๆ” พร้อมใช้ท่าทางที่ช่วยให้พวกเขาใจเย็นลงด้วย

6. บางครั้งอาการแพนิกก็จะทำให้พวกเขาล้มลงกับพื้น สิ่งที่คุณต้องทำคือนั่งลงบนพื้นข้างๆ พวกเขา ทำให้พวกเขารู้สึกว่าไม่โดดเดี่ยว

7. อย่าโกรธพวกเขาที่มีอาการแพนิก อาการแพนิกนั้นเกิดขึ้นได้แม้จะด้วยเหตุผลไร้สาระ บางทีหัวเราะร่าอยู่ก็มีอาการแพนิกซะงั้น และบางทีมันก็มาระหว่างการทะเลาะ ซึ่งนั่นอาจทำให้คุณเกิดอารมณ์โมโห จงจำไว้ว่าให้หยุดทะเลาะแล้วหันมาช่วยพวกเขาก่อนจะดีกว่า

 

งานนี้ก็มีชาวเน็ตเข้ามาให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า แต่ละคนนั้นแตกต่างกัน บางทีมันก็ต้องมีวิธีการรับมือที่แตกต่างออกไปด้วย

“มีสองอย่างที่ฉันอยากแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

ข้อแรกคือเรื่องของการกอด ที่ฉันเจอมาก็คือ มีบางคนที่ชอบให้กอดเวลาเกิดอาการแพนิก แต่ต้องระวัง อย่ากอดแน่นเกินไป อาจทำให้พวกเขาไม่สบายตัว

ข้อที่สองคือ คำว่า “ใจเย็น” บางคนไม่ชอบที่มีคนมาบอกให้พวกเขาใจเย็นนะ แต่ฉันอยากจะบอกว่าไม่ต้องไปคำนึงถึงคำพูดมากนัก ให้คำนึงถึงน้ำเสียงและวิธีการพูดดีกว่า”

 

ที่มา: boredpandaMmmmNoodleSoup และ adaa

Comments

Leave a Reply