นักภาษาศาสตร์ สร้างภาพยนตร์ภาษาบาบิโลนเรื่องแรกของโลก หวังคืนชีพภาษาที่ตายไปแล้ว

เป็นเรื่องที่ทราบกันว่าในมนุษย์เรามีภาษาที่ตายไปแล้วอยู่หลายภาษา โดยหนึ่งในนั้นคือภาษาบาบิโลนโบราณ ที่ไม่มีใครใช้มาเป็นเวลาร่วม 2,000 ปี

ว่าแต่จะเกิดอะไรขึ้นหากมีคนพยายาม “คืนชีพ” ให้กับภาษาที่ตายไปแล้ว?

 

 

เมื่อช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้มีผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์คนหนึ่ง ออกมาจัดโครงการที่จะคืนชีพภาษาพูดของบาบิโลนขึ้นมา

โดยแนวคิดสุดแปลกแหวกแนวนี้ เริ่มต้นมาจากการที่ ดร.มาร์ติน วอชิงตัน และนักเรียนของเขาจำนวนหนึ่งได้เรียนรู้ภาษาบาบิโลนโบราณ และหลงใหลในเสน่ห์ของภาษาโบราณเหล่านั้น

 

 

ดังนั้น พวกเขาจึงได้ตัดสินใจที่จะร่วมมือกันทำภาพยนตร์เรื่องแรกของโลก ที่มีการใช้ภาษาบาบิโลนขึ้น

จากการรายงานของสื่อต่างประเทศ ภาพยนตร์เรื่องนี้จะใช้นิทานพื้นบ้านที่ถูกบันทึกไว้ในแผ่นจารึกดินเหนียวเมื่อ 701 ปีก่อนคริสตกาลเป็นเนื้อเรื่องหลัก และมีชื่อว่า “The Poor Man of Nippur” (คนจนแห่งเมืองนิปปูร์)

 

The Poor Man of Nippur สามารถรับชมได้จากช่อง Cambridge Archaeology

หรือที่ข้างล่างนี้

 

โดยนี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับคนเลี้ยงแพะคนหนึ่ง ที่ล้างแค้นเจ้าเมืองที่ฆ่าแพะของเขาด้วยการทำลายเจ้าเมืองสามครั้ง

แน่นอนว่าคำพูดของตัวละครทั้งหมดในเรื่อง จะถูกถ่ายทอดออกมาในภาษาบาบิโลนทั้งหมด โดยจะมีการให้คำบรรยายเป็นภาษาต่างๆ กว่า 17 ภาษาทั่วโลก (น่าเสียดายที่ยังไม่มีภาษาไทย)

 

 

นอกจากตัวภาพยนตร์ที่ออกมาแล้ว ดร.มาร์ตินยังได้สร้างเอกสารแบบพิเศษ ที่มีการบันทึกเรื่องราว และเอกสารต่างๆ ในภาษาบาบิโลนที่เคยมีการค้นพบ สำหรับคนที่สนใจอีกด้วย

และสำหรับคนที่สนใจจะศึกษาภาษาโบราณ ซึ่งไม่ได้มีเพียงภาษาบาบิโลน แต่ยังรวมไปถึงภาษาเมโสโปเตเมีย และอียิปต์โบราณ ดร.มาร์ตินก็วางแผนที่จะจัดอบรมเกี่ยวกับภาษาเหล่านี้ ในเดือนมีนาคมปีหน้า

 

 

สำหรับคนที่ไม่สะดวกเดินทาง แต่อยากศึกษาเกี่ยวกับภาษาบาบิโลนเพิ่มเติม ดร.มาร์ติน ก็มีบันทึกการอ่านบทกวีและตำนานโบราณของทางบาบิโลนให้เพื่อนๆ เข้าไปชมกันได้ ที่นี่ เช่นกัน

 

ที่มา telegraph และ ancient-origins

Comments

Leave a Reply