ย้อนรอยการปะทุครั้งใหญ่ของภูเขาไฟกรากะตัว ประวัติศาสตร์ที่ทำให้ชาวโลกต้องหวาดผวา

ในช่วงเวลาที่มีข่าวภูเขาไฟระเบิด ทำให้เกิดคลื่นสึนามิที่ชายฝั่งอินโดนีเซียเช่นนี้ หลายๆ คนอาจจะได้ยินเชื่อเสียงของภูเขาไฟกรากะตัวกันมาบาง

ว่าแต่ทราบกันหรือไม่ว่าเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดในครั้งนี้ ไม่ใช่เหตุการณ์ภูเขาไฟรุนแรงที่สุดที่ประเทศอินโดนีเซียเจอหรอกนะ

 

 

ภูเขาไฟกรากะตัวนั้น ตั้งอยู่ที่หมู่เกาะชื่อเดียวกันระหว่างเกาะชวากับเกาะสุมาตรา และเชื่อกันว่ามีอยู่บนโลกมาเป็นเวลายาวนานกว่าหนึ่งล้านปีแล้ว

จากสภาพของตัวภูเขาไฟเอง นักธรณีหลายๆ คนก็เชื่อว่าในสมัยก่อนภูเขาไฟแห่งนี้น่าจะเคยมีการระเบิดมาหลายครั้งแล้ว แต่ถึงอย่างนั้นการระเบิดที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการบันทึกไว้นั้น กับเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1680 เท่านั้น

อย่างไรก็ตามเหตุการณ์การระเบิดครั้งที่สำคัญที่สุดเท่าที่เคยมีมาของภูเขาไฟกรากะตัว เกิดขึ้นเมื่อราวๆ 200 ปีหลังจากนั้นต่างหาก

 

 

เพราะหลังจากที่ภูเขาไฟดูเหมือนจะสงบมาตลอดนั่นเอง ในเดือนสิงหาคมปี 1883 ภูเขาไฟลูกนี้ก็ได้เกิดการปะทุอย่างรุนแรงขึ้นอีกครั้ง จนทำให้พื้นที่รอบๆ ราว 70% ยุบตัวกลายเป็นแอ่งไปเลยทีเดียว

จริงอยู่ที่ว่า ภูเขาไฟเริ่มมีอาการมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมแล้วแต่ในสมัยนั้นไม่มีใครคิดว่าการปะทุจะรุนแรงมากขนาดนี้ จึงทำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมียอดผู้เสียชีวิตอย่างต่ำๆ ราว 36,400 คน

 

สภาพพื้นที่รอบๆ ภูเขาไฟกรากะตัว ก่อนและหลังเหตุการณ์ภูเขาไฟปะทุในปี 1883

 

จากบันทึกในสมัยนั้น เสียงของการปะทุของภูเขาไฟสามารถได้ยินไกลถึง 4,830 กิโลเมตร (ได้ยินกันข้ามประเทศ) แถมเถ้าภูเขาไฟยังสูงขึ้นไปถึง 80 กิโลเมตร และแผ่กว้างกินพื้นที่กว่า 240 กิโลเมตร จนบดบังดวงอาทิตย์เสียจนมิด

เท่านั้นยังไม่พอกำมะถันปริมาณมหาศาลที่ปะทุออกมายังตกค้างไปในบรรยากาศโลกจนทำให้โลกต้องพบกับฤดูหนาวจากภูเขาไฟ ที่ทำให้อุณหภูมิทั่วโลกลดลงไปยาวนานถึง 5 ปีเลยด้วย แถมร่องรอยความเปลี่ยนแปลงของอากาศที่เกิดขึ้นก็ยังสามารถเห็นได้แม้แต่ในปัจจุบัน

 

 

เหตุการณ์การระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัวจึงได้กลายเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ภูเขาไฟปะทุที่รุนแรงที่สุดที่มนุษย์ต้องเผชิญไป

และแม้ว่าตั้งแต่ตอนนั้นมาภูเขาไฟลูกนี้จะไม่ได้มีการปะทุที่รุนแรงเท่ากับในอดีตอีก แต่มันก็ยังคงมีการปะทุเรื่อยมาแม้ในปัจจุบันอยู่ดี

 

ที่มา historylivescience และ britannica

Comments

Leave a Reply