เคยได้ยินเรื่องกลองโบราณแห่งเมืองโฟล์คตอนไหม นี่เป็นหินขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างคล้ายกลอง ที่มีการอายุมากกว่า 4,000 ปี ซึ่งในอดีตมีคนมากมายที่สงสัยกันว่าเจ้า “กลอง” โบราณอันนี้ จริงๆ แล้วมันมีการใช้งานอย่างไรกันแน่
แต่เมื่อไม่นานมานี้เอง ในวารสารประวัติศาสตร์ของอังกฤษ ศาสตราจารย์ Mike Parker Pearson แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน และศาสตราจารย์ Andrew Chamberlain จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ก็ได้ออกมาไขปริศนาการใช้งานของกลองโฟล์คตอน
อ้างอิงจากข้อมูลในวารสารกลองหินโฟล์คตอนที่ถูกพบในปี 1889 ชิ้นนี้ แท้จริงแล้วไม่ใช่ทั้งกลองหรือเครื่องดนตรีในสมัยก่อน แต่เป็น”เครื่องมือการวัด” ที่คนสมัยก่อนใช้ในการสร้างโบราณสถาน โดยเฉพาะโบราณสถานมีชื่ออย่างสโตนเฮนจ์
โดยการพันเชือกกับหินก้อนที่เล็กที่สุดหนึ่งรอบ จะทำให้เราได้เชือกที่ยาว 0.322 เมตร (หรือมากกว่า 1 ฟุตนิดๆ ) ซึ่งทางศาสตราจารย์ทั้งสองเรียกความยาวนี้ด้วยชื่อเล่นว่า “ฟุตยาว” (Long Foot)
และหากเราลองนำเชือกมาพันรอบหินทั้งสามตามจำนวนที่กำหนด (ก้อนเล็ก 10 รอบ ก้อนกลาง 8 รอบ และก้อนใหญ่ 7 รอบ) เราจะได้เชือกที่มีความยาวในหน่วย 10 ฟุตยาวเท่ากัน
และเจ้าความยาว 10 ฟุตยาวนี่เองก็ลงตัวกับระยะหินที่ล้อมสโตนเฮนจ์เป็นวงกลมแบบพอดิบพอดีเลยด้วย
การค้นพบในครั้งนี้ทำให้ ทฤษฎีของศาสตราจารย์ทั้งสองค้นนี้กลายเป็นทฤษฎีที่มีความน่าเชื่อถือที่สุด เท่าที่เคยมีการคิดค้นขึ้นมาเพื่ออธิบายการใช้งานของกลองโฟล์คตอนเลยก็ว่าได้
และแม้ว่าจะยังมีนักโบราณคดีบางคนที่คิดว่าการขนหินหนักถึง 25 ตันไปเพื่อใช้วัดความยาวจะดูเป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผลก็ตาม
แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าถ้าหินที่พบนี้ถูกใช้วัดระยะทางจริงๆ ก็หมายความว่าคนในสมัยก่อนนั้นมีความสามารถในการใช้เครื่องวัดมากกว่าที่เราคิดมากเลยทีเดียว
ที่มา ancient-origins และ dailymail
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.