พบสาเหตุที่ “อาณาจักรอัคคาเดียน” ล่มสลายในหินย้อย เชื่อเกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ

เมื่อราวๆ 4,200 ปีก่อน “อาณาจักรอัคคาเดียน” อาณาจักรแห่งแรกๆ ของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ได้ล่มสลายไป พร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอารยธรรมอียิปต์ และลุ่มแม่น้ำสินธุ

 

 

เรื่องที่เกิดขึ้นน้ำทำให้นักโบราณคดีเชื่อกันว่าเหตุการณ์ทั้งสามอาจจะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกันก็เป็นได้ และออกตามหาหลักฐาน เกี่ยวกับความเชื่อมโยงนี้มาอย่างยาวนาน

และเมื่อไม่นานนี้เองจากการสำรวจหินงอกหินย้อยที่เกิดขึ้นในช่วง 5,200-3,700 ปีก่อนในถ้ำ Gol-e-Zard ที่อิหร่าน นักโบราณคดีก็ค้นพบความเป็นไปได้บางอย่างที่น่าสนใจ

 

 

นั่นเพราะดูเหมือนว่าเหตุผลหลักๆ ที่อาณาจักรอัคคาเดียนล่มสลายไปนั้น จะมาจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศนั่นเอง

จากข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ หินงอกหินย้อยที่เกิดขึ้นในช่วง 4,510-4,260 ปีก่อน จะมีปริมาณแมกนีเซียมต่อแคลเซียมที่สูงมาก แถมยังมีอัตราการโตที่ช้า ซึ่งแตกต่างไปจากหินที่เกิดในช่วงก่อนหรือหลังจากนี้มาก

นี่เป็นความเปลี่ยนแปลงที่มักจะเกิดขึ้นในกรณีที่ฝุ่นในอากาศเพิ่มมากขึ้น อย่างกรณีที่มีการขุดเหมืองเป็นต้น

 

 

แต่หากมองข้อมูลที่ได้มาประกอบกับเรื่องที่ว่าในยุคเมโสโปเตเมียยังไม่น่าจะมีการทำเหมืองเกิดขึ้นแล้ว นักโบราณคดีคาดว่าความเปลี่ยนแปลงของหินย้อยนี้ น่าจะมาจากการที่อากาศแห้งขึ้นเป็นอย่างมากนั่นเอง

แม้ว่าข้อมูลจากหินย้อยอาจจะมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง แต่ข้อมูลที่ออกมาก็ชี้ให้เห็นว่าในอดีต พื้นที่เอเชียตะวันตก ที่อาณาจักรอัคคาเดียนตั้งอยู่น่าจะเคยพบกับภัยแล้งต่อเนื่องเป็นเวลานานมาก่อนนั่นเอง

 

พื้นที่ของอาณาจักรอัคคาเดียนในสมัยก่อน

 

โดยเจ้าภัยแล้งที่ว่ากินอาจกินเวลาได้นานเป็นร้อยปี ซึ่งมากเพียงพอที่จะทำให้อาณาจักรแห่งหนึ่งล่มสลายไปได้อย่างไม่ยากเลย

แต่ก็อย่างที่รู้กันว่าปัจจัยที่ทำให้อาณาจักรแห่งหนึ่งล่มสลายไปนั้นอาจจะมีอยู่หลายสาเหตุ ทางนักโบราณคดีจึงยังต้องมีการพูดคุยถกเถียงกันต่อไปว่าภัยแล้งที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลต่อการล่มสลายของอาณาจักรมากน้อยเพียงใดต่อไป

 

ที่มา iflscience

Comments

Leave a Reply