นักวิทยาศาสตร์ชี้ ที่ชั้นหินของโลกหายไปช่วงหนึ่ง อาจจะเกิดขึ้นเพราะธารน้ำแข็งก็เป็นได้

เป็นเรื่องที่ทราบกันดีว่าชั้นหินแต่ละชั้นของเปลือกโลกนั้น จะสามารถให้บอกช่วงเวลาที่ต่างกันไปของโลกได้ แต่ถึงอย่างนั้นโลกใบนี้กลับมีชั้นหินชั้นหนึ่งที่หายไป

นี่เป็นชั้นหินที่เรียกกันว่า “Great Unconformity” หรือ “รอยชั้นไม่ต่อเนื่องขนาดใหญ่” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเปลือกโลกที่จริงๆ แล้วควรจะถูกนำมาใช้ศึกษาเรื่องราวระหว่างยุคพรีแคมเบรียน กับยุคแคมเบรียน (250-1,200 ล้านปีก่อน) แต่กลับหายไปอย่างน่าประหลาด

 

 

การขาดช่วงการบันทึกของชั้นหินที่ว่านี้ถูกสันนิษฐานกันว่าเกิดจากเหตุผลหลายๆ อย่าง ทั้งการยกตัวของแผ่นดิน หรือไม่ก็การขึ้นลงของระดับน้ำทะเล

อย่างไรก็ตามจากงานวิจัยชิ้นใหม่ของเหล่านักวิทยาศาสตร์ ดูเหมือนว่าที่ชั้นหินที่หายไปนี้จะเกิดจากการไหลลงทะเลของธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ต่างหาก

นี่เป็นงานวิจัยที่อ้างอิงทฤษฎีโลกก้อนหิมะ (Snowball earth) ทฤษฎีที่ว่าโลกเคยตกอยู่ในยุคที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งมาก่อน

 

 

จริงอยู่ที่ว่าแนวคิดนี้อาจจะดูเวอร์เกินจริงไปบ้าง เนื่องจากการที่ชั้นหินจะหายไปแทบทั่วโลกขนาดนั้นจำเป็นต้องใช้ธารน้ำแข็งขนาดมหึมาจริงๆ แต่หากโลกเคยปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งมาก่อนทฤษฎีนี้ ก็จะมีโอกาสเป็นจริงตามไปด้วยเช่นกัน

โดยเนื้อหาของงานวิจัยชิ้นใหม่นี้สรุปได้ว่าว่า ในสมัยที่โลกเริ่มละลายจากน้ำแข็ง ตัวน้ำแข็งที่เคยคลุมโลกอยู่ จะหนักมากจนเมื่อเริ่มละลายมันจะลากเอาหน้าดินหลายส่วนไปพร้อมๆ กัน ก่อนที่จะไหลลงมหาสมุทรและจมไปเป็นตะกอน

ซึ่งตะกอนเหล่านี้เองจะรวมเข้ากับชั้นดินใต้ทะเลลึกอีกทีทำให้ชั้นดินส่วนหนึ่งของโลกดูเหมือนว่าหายไปนั่นเอง

 

 

หากงานวิจัยนี้เป็นจริง มันก็จะสามารถนำมาให้อธิบายสาเหตุที่ชั้นหินช่วง 600-700 ล้านปีก่อนหายไปได้เป็นอย่างดี แถมยังสามารถนำไปสู่คำอธิบายของการที่ช่วงยุคแคมเบรียนมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมากอีกด้วย

แน่นอนว่างานวิจัยที่อ้างอิงทฤษฎีที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์เช่นนี้ย่อมเป็นงานวิจัยที่ต้องมีข้อถกเถียงเกิดขึ้นเป็นธรรมดา อย่างไรก็ตามในปัจจุบันทฤษฎีโลกก้อนหิมะ ก็เริ่มเป็นที่ยอมรับของนักวิทยาศาสตร์หลายๆ รายแล้ว

 

 

ดังนั้นไม่แน่ว่างานวิจัยชิ้นนี้ อาจจะกลายเป็นงานวิจัยชิ้นสำคัญที่ใช้อธิบายการหายไปของ 1 ในชั้นประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาโลกเลยก็เป็นได้

 

ที่มา history

Comments

Leave a Reply