“เกราะเชนเมล” หรือ “เกราะโซ่ถัก” เดิมทีแล้วเป็นเครื่องป้องกันในยุโรปช่วงยุคกลาง ที่เสื่อมความนิยมไปแล้ว
แต่ใครจะไปคิดว่าเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาไป ล่าสุดนี้เองเราก็อาจจะได้เห็นการกลับมาของเกราะโซ่ถักกันอีกครั้งแล้ว เพราะล่าสุดนี้เองนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย หรือ แคลเทค ก็เพิ่งจะออกมาเปิดตัว
โครงสร้างรูปร่างคล้ายเกราะเชนเมลรุ่นใหม่ มีจุดเด่นอยู่ที่การใส่สบายมีความยืดหยุ่นสุดๆ แต่ก็ยังแข็งตัวป้องกันอันตรายที่เข้ามา หรือรับน้ำหนักมหาศาลได้ ราวกับชุดจากอนาคตไม่มีผิด
ความลับของผลงานชิ้นใหม่นี้ คือโครงสร้างซึ่งเป็นการเชื่อมต่อกันของทรงแปดหน้า (Octahedron)
ซึ่งทำให้วัสดุแต่ละอันเชื่อมต่อกันมีความคงทนสูงขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ สามารถรับน้ำหนักสิ่งของได้มากกว่าน้ำหนักตัวของมันเองถึง 50 เท่าทั้งที่ไม่เสียความยืดหยุ่นไป
โครงสร้างใหม่นี้ ถูกอธิบายว่าแข็งตัวขึ้นได้ในทันทีด้วยการบีบวัสดุเข้าด้วยกัน คล้ายกาแฟในถุงสุญญากาศซึ่งจะติดกันจนแข็งสุดๆ แต่พอเปิดถุงมันจะแยกตัวออกจนหายแข็งเช่นกัน
คุณสมบัติเช่นนี้เองทำให้ นอกจากชุดป้องกันแล้ว การเชื่อมต่อแบบนี้ยังอาจนำไปใช้กับสิ่งทอ การสร้างสะพาน การสำรวจอวกาศ หรือแม้แต่จัดการกับบาดแผลในขณะที่อาการบาดเจ็บฟื้นตัวไม่ได้ยาก
มันจึงอาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ในอนาคต โครงสร้างในรูปแบบนี้ก็จะกลายเป็นอะไรที่ถูกนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายต่อไป
(ชมภาพการทดลองและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.catdumb.com/tech-update/32849)
ที่มา
www.caltech.edu/about/news/material-inspired-by-chain-mail-transforms-from-flexible-to-rigid-on-command
futurism.com/the-byte/caltech-chain-mail-armor