ย้อนกลับไปเล็กน้อยในวันที่ 8 สิงหาคม 2021 ลึกเข้าไปในลิเวอร์มอร์ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา นักวิทยาศาสตร์ของห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอเรนซ์ลิเวอร์มอร์ ได้พบกับความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่
เมื่อการทดลองจุดเชื้อเพลิงความร้อนสูงและบีบอัดมันจนเกิดกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชันของพวกเขาสามารถมันปล่อยพลังงานฟิวชันออกมาได้ถึง 1.3 เมกะจูล มากกว่าการทดลองแบบไม่เป็นทางการที่ผ่านมาถึง 8 เท่า
และทำลายสถิติอย่างเป็นทางการซึ่งเคยถูกบันทึกไว้ในปี 2018 ถึง 25 เท่า
อ้างอิงจากทีมนักวิจัยกระบวนของพวกเขานั้นมีชื่อว่า “Inertial Containment fusion” (ICF) โดยมันเป็นการทดลองพยายามจุดดิวเทอเรียมและทริเทียมด้วยเลเซอร์ 192 ตัว เพื่อสร้างวัตถุซึ่งร้อนกว่าแกนกลางดวงอาทิตย์
โดยมีเป้าหมายที่จะแปลงพลังงานจากมันเป็นไฟฟ้า และใช้เป็นแหล่งพลังงานสะอาดอีกที เนื่องจากระบบนิวเคลียร์ฟิวชันเช่นนี้ ถูกคาดกันว่าจะให้พลังงานได้สูงกว่ากระบวนแบบ Magnetic confinement fusion ซึ่งเน้นไปที่ความเสถียรของพลังงานมาก
ข้อเสียของ ICF นั้นคือในปัจจุบัน มันยังไม่สามารถสร้างพลังงานมากกว่าพลังงานที่ต้องใช้ในการจุดชนวนได้ และเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเรายังไม่มีพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชันใช้แบบจริงๆ จังๆ เสียที
อย่างไรก็ตามในการทดลองครั้งนี้นักวิทยาศาสตร์กลับสามารถพลังพลังงานออกมาได้ถึง 70% ของพลังงานเลเซอร์ที่ใช้จุดชนวน (ในที่นี้คือ 1.9 เมกะจูล) แสดงให้เห็นว่าการก้าวข้ามข้อจำกัดดังกล่าว อาจเป็นจริงได้เร็วกว่าที่คิด
และหาก ICF ใช้งานได้จริง ระบบนิวเคลียร์ฟิวชันนี้ ก็อาจจะไม่เพียงแต่ถูกนำไปใช้ผลิตพลังงานมากๆ โดยไม่ต้องมีกากกัมมันตรังสีเท่านั้น แต่มันยังเป็นประตูสู่การศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่มีทั้งความร้อนและแรงดันสูงอย่างดวงอาทิตย์เลยด้วย
และมันก็ไม่แน่เหมือนกันว่าเมื่อวันที่มนุษย์พัฒนาระบบนิวเคลียร์ฟิวชันทุกรูปแบบสำเร็จมาถึง ปัญหาความต้องการพลังงานของมนุษย์ก็อาจจะกลายเป็นเพียงอดีตไปก็เป็นได้
ที่มา
www.iflscience.com/health-and-medicine/major-nuclear-fusion-breakthrough-achieved-in-the-us/
www.bbc.com/news/science-environment-58252784
https://www.llnl.gov/news/national-ignition-facility-experiment-puts-researchers-threshold-fusion-ignition
www.technologynetworks.com/analysis/news/nuclear-fusion-milestone-reached-as-scientists-trigger-ignition-352218