สำหรับคนที่ดูหนังไซไฟหลายๆ เรื่อง เชื่อว่าหลายคนอาจจะคุ้นเคยกันมาบ้าง ถึงฉากที่เหล่าตัวเอกพยายามเอื้อมมือไปจับอะไรบางอย่าง แต่ก็พบว่ามือของเขาทะลุผ่านมันไป เพราะของสิ่งนั้นจริงๆ แล้วเป็นแค่ “ภาพฮอโลแกรม”
แต่เคยคิดกันเล่นๆ ไหมว่ามันจะเป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะสร้างภาพฮอโลแกรมที่สามารถจับต้องได้จริงๆ ขึ้นมาแบบเทคโนโลยี “Holodeck” ในเรื่อง Star Trek
เพราะล่าสุดนี้เองนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ของสกอตแลนด์ ก็เพิ่งจะพัฒนาระบบโฮโลแกรมที่ว่านั้นขึ้นมาเลย
อ้างอิงจากงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Advanced Intelligent Systems ผลงานระบบโฮโลแกรมตัวใหม่นี้ต่างไปจากความพยายามสร้างโฮโลแกรมสัมผัสได้อื่นๆ ในอดีตตรงที่ผู้ใช้งานนั้นไม่จำเป็นต้องใส่ถุงมือหรือชุดแบบพิเศษเลย
กลับมันระบบจะอาศัยไอพ่นอากาศที่เรียกว่า “แอโรแฮปติกส์” เพื่อสร้างความรู้สึกของ “สัมผัส” ซึ่งถูกอ้างว่าสามารถทำให้เรารู้สึกถึงนิ้ว หรือมือของคนอื่นได้เลย
ในการทดลองขั้นต้นนี้ ทีมนักวิจัยได้ทดสอบระบบฮอโลแกรมของพวกเขาด้วยการจำลองการโต้ตอบของบาสเกตบอล และบอกว่าระบบจะทำให้ผู้ใช้สัมผัสได้ถึงรูปร่างที่โค้งมนของลูกบอลได้อย่างสมบูรณ์
แถมมันยังสามารถจำลองความรู้สึกของการหมุนหรือการที่ลูกกลิ้งจากปลายนิ้ว และกระแทกกับฝ่ามือเมื่อเราเลี้ยงลูกได้ด้วย
ดังนั้นมันจึงนับว่าน่าเสียดายมากที่ในปัจจุบันระบบฮอโลแกรมตัวใหม่นี้ดูจะยังมีข้อจำกัดอยู่ เนื่องจากโครงสร้างของตัวระบบเองยังค่อนข้างเทอะทะ แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามนี่ก็ถือเป็นอีกก้าวที่น่าสนใจของเทคโนโลยีฮอโลแกรมเลย
และมันก็ไม่แน่เหมือนกันว่าในอนาคตหากระบบนี้ก็อาจจะถูกพัฒนาไปเรื่อยๆ มันก็อาจจะกลายเป็นอีกหนึ่งในเทคโนโลยีใหม่ที่น่าสนใจของวงการเกมและโลกเสมือนในอนาคตได้เลย
ที่มา