ก่อนหน้านี้เราเคยพูดถึงการพัฒนาชิปที่ช่วยให้ผู้ป่วยอัมพาตสามารถสื่อสารได้ ด้วยการใช้ “ความคิด” ในการพิมพ์ข้อความแทนการขยับมือ ซึ่งเป็นผลงานของนักวิทยาศาสตร์จากสแตนฟอร์ด
(อ่านเพิ่มเติม: https://www.facebook.com/CatDumbNews/posts/4739257889450296 )
ล่าสุดเทคโนโลยีที่ว่านี้ได้ก้าวหน้าไปอีกขั้น เมื่อบริษัทที่ผลิตชิปซึ่งทำงานคล้ายกันนี้ ได้ประกาศความสำเร็จด้วยการโพสต์ข้อความแรกที่พิมพ์จากความคิดของผู้ป่วยอัมพาต
Philip O’Keefe ผู้ป่วยอัมพาตชาวออสเตรเลียวัย 62 ปี คือผู้ป่วยอัมพาต ที่สามารถพิมพ์ข้อความโดยใช้ Stentrode เทคโนโลยีเชื่อมต่อสมองกับคอมพิวเตอร์ (Brain-computer interfaces (BCI)) ได้เป็นคนแรกของโลก
Philip ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) ทำให้เขาไม่สามารถขับแขนได้ ซึ่งเทคโนโลยีนี้มันช่วยให้เขาทวีตข้อความจากความคิดได้โดยตรง
ข้อความที่ Philip พิมพ์ออกมาถูกแชร์ต่อโดยบัญชีทวิตเตอร์ของ Thomas Oxley ผู้บริหารจากบริษัท Synchron ซึ่งเป็นผู้ผลิต Stentrode เทคโนโลยีเชื่อมต่อสมองกับคอมพิวเตอร์ที่ Philip ใช้
โดยข้อความดังกล่าวระบุว่า “ไม่จำเป็นต้องใช้แป้นพิมพ์หรือเสียง ผมสร้างทวีตนี้เพียงแค่คิดมันออกมา #helloworldbci“
ข้อความจากทวิตเตอร์ของ Thomas
no need for keystrokes or voices. I created this tweet just by thinking it. #helloworldbci
— Thomas Oxley (@tomoxl) December 23, 2021
แม้จะไม่สามารถขยับแขนได้แต่ Philip ยังสามารถพูดสื่อสารได้ เขาให้สัมภาษณ์ว่ารู้สึกตื่นเต้นมากหลังจากรู้จักเทคโนโลยีนี้เป็นครั้งแรก และมันทำให้เขาสื่อสารผ่านข้อความได้ง่าย
Philip ติดตั้ง Stentrode เมื่อเดือนเมษายนปี 2020 และเริ่มฝึกใช้มันสื่อสารกับคนในครอบครัว เพื่อนร่วมงงาน และเขียนอีเมลล์ ซึ่งเทคโนโลยีนี้ช่วยให้เขาใช้ชีวิตได้อย่างอิสระมากขึ้น
Philip กับการใช้ Stentrode
การทำงานของ Stentrode อธิบายง่ายๆ ก็คือ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างชิปที่จะติดไว้ตรงหลอดเลือดใหญ่ในสมอง
จากนั้นมันจะส่งสัญญาณมายังตัวรับซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่อยู่ตรงหน้าอกของผู้ป่วย เพื่อตีความว่าผู้ป่วยต้องการทำอะไรบนคอมพิวเตอร์ เช่นส่งอีเมลล์ ส่งข้อความ หรือซื้อของออนไลน์
เทคโนโลยีนี้มีความแม่นยำอยู่ที่ 92-93% และมีความเร็วในการพิมพ์ข้อความอยู่ที่ 14-20 ตัวอักษรต่อนาที
ที่มา dailymail